Header

เทคโนโลยีการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

blank ดร.นพ. กิติกร วิชัยเรืองธรรม

coronary artery disease

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน เกิดจาก การที่มีเนื้อเยื่อไขมันผสมกับพังผืดจับตัวกันเป็นแผ่นนูนหรือ ตะกรันตามผนังชั้นในของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้รูตรงกลางหรือเส้นหรือเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กลง ผลก็คือกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่เลี้ยงโดยหลอดเลือดนั้นได้รับเลือดไม่พอเกิด อาการแน่น เจ็บหน้าอก เหนื่อย หอบ โดยเฉพาะเมื่อมีการออกกำลังโรคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

การรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ปัจจุบันมีแนวทางการรักษา 3 วิธี คือ ใช้ยา, ใช้วิธีการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน และ ขดลวด, และการ ผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจ (บายพาส) ในเบื้องต้น แพทย์จะทำการรักษาทางยากับผู้ป่วย เพื่อควบคุมอาการ เจ็บหน้าอก หากปรับยาเต็มทึ่แล้วผู้ป่วยยังคงมีอาการอยู่ หรือ ตรวจเพิ่มเติม พบว่า มีอาการบ่งชี้ว่า เส้นเลือดตีบรุนแรง แพทย์ จะแนะนำ ให้ผู้ป่วยทำการฉีดสีเส้นเลือดหัวใจ เพื่อตรวจสอบว่า เส้นเลือดหัวใจ ตีบ มากน้อยเพียงใด

การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ แพทย์สามารถมองเห็นเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจได้โดยตรง ว่ามีการอุดตันมากน้อยเพียงใด อุดตันกี่แห่ง สภาพหลอดเลือดที่อุดตัน สามารถทำการรักษาด้วยวิธีถ่างขยายหลอดเลือดที่อุดตันด้วยบอลลูน และขดลวดได้หรือไม่



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์หัวใจ

ศูนย์หัวใจ

สถานที่

อาคาร 4 ชั้น 5

เวลาทำการ

09:00 - 17:00 น.

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520101, 520102

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์