Header

ศูนย์มะเร็งพิษณุเวช ฮอไรซัน

มะเร็งเป็นโรคที่มีคนเสียชีวิตมากเป็นอันดับต้นๆ ถือเป็นโรคที่พบบ่อยขึ้นในปัจจุบัน และสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้การดูแลรักษาโรคมะเร็งอย่างครอบคลุมด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการจากหลายสาขาร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความชำนาญการด้านมะเร็งโดยเฉพาะ ตั้งแต่การป้องกัน การตรวจคัดกรอง การวินิจฉัย การรักษา การติดตามผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ไปจนถึงการดูแลด้านสภาวะจิตใจ โภชนาการ การจัดการกับความเจ็บปวด และการเฝ้าระวังการกลับมาเป็นซ้ำของโรคอย่างใกล้ชิด และมีห้องปฏิบัติการ (Lab) ที่ได้รับการรับรองมาตราฐานระดับสากลอยู่ภายในโรงพยาบาล ทำให้ได้ผลตรวจรวดเร็วและแม่นยำ

 

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520101, 520102

การป้องกัน (Prevention)

พันธุกรรมเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง ดังนั้น บำรุงราษฎร์มีบริการตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยแพทย์เฉพาะทางด้านพันธุกรรมในการแปลผล โดยห้องปฏิบัติการ (Lab) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล ทำให้ได้ผลตรวจรวดเร็วและแม่นยำ

 

การตรวจคัดกรองมะเร็ง (Screening)

  • ช่วยทำให้ค้นพบโรคแต่เนิ่นๆ เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็ง เช่น ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง
  •  การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวน์
  •  การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วย Low dose CT
  •  การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วย Pap smear, HPV
  •  การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy)
  •  การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยการเจาะเลือด และหากผลเลือดผิดปกติ อาจจะวินิจฉัยเพิ่มด้วยวิธีอัลตร้าซาวน์ หรือ MRI
  •  การตรวจคัดกรองมะเร็งตับด้วยการเจาะเลือดและอัลตร้าซาวน์ หรือมะเร็งกระเพาะอาหารด้วยวิธี Esophagogastroduodenoscopy (EGD) ในกลุ่มที่มีความเสี่ยง

 

การวินิจฉัยโรค (Diagnosis)

การวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง ทันเวลา ทำให้รักษาโรคได้อย่างแม่นยำ และการรู้ระยะของโรค ช่วยให้วางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบำรุงราษฎร์มีพยาธิแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัยว่าชิ้นเนื้อนั้นมีเซลล์มะเร็งหรือไม่ และถ้าเป็นเซลล์มะเร็งเป็นระยะที่เท่าไหร่ ซึ่งการตรวจชิ้นเนื้อต้องอาศัยความชำนาญขั้นสูงเพื่อความแม่นยำ

 

การรักษา (Treatment)

โดยการผสมผสานการรักษาหลายวิธีเข้าด้วยกัน ซึ่งบำรุงราษฎร์จะมีการประชุม Tumor Board ของทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพเฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง เช่น อายุรแพทย์ด้านโรคมะเร็ง ศัลยแพทย์ด้านโรคมะเร็ง พยาธิแพทย์ รังสีแพทย์ เจ้าหน้าที่ห้อง lab และเภสัชกร เพื่อหาวิธีการรักษาร่วมกัน นอกจากนี้ ยังมีการทดสอบการตรวจหาการกลายพันธุ์ของเซลล์มะเร็งจากชิ้นเนื้อมะเร็งและจากเลือด ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อการรักษาที่เฉพาะเจาะจงและให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

 

ทางเลือกในการรักษามะเร็ง

การรักษามะเร็งในปัจจุบันมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิด และความรุนแรงของโรค อาทิ

  • ยาเคมีบำบัด หรือ คีโม (Chemotherapy) เป็นยารักษามะเร็งที่ออกฤทธิ์ต้านหรือทำลายเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวเร็ว และต่อเนื่อง ซึ่งยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งในหลายรูปแบบ ทำให้เซลล์ไม่สามารถแบ่งตัวต่อไปได้และตายในที่สุด
  • การฉายรังสีรักษา หรือ การฉายแสง (Radiotherapy) เป็นการใช้รังสีพลังงานสูงฉายไปทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้นๆ ซึ่งในแต่ละครั้งที่ฉายแสงนั้น เซลล์มะเร็งจะสะสมความผิดปกติของยีนมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ไม่สามารถซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากรังสีได้และเซลล์นั้นก็จะตายลง
  • ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) เป็นยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง ซึ่งยับยั้งการส่งสัญญาณที่เกี่ยวข้องต่อการเจริญเติบโต และการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง สามารถควบคุมมะเร็งได้ยาวนานกว่า และมีผลข้างเคียงต่อเซลล์ปกติน้อยกว่าการใช้ยาเคมีบำบัด หรือ คีโม (Chemotherapy)
  • ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นยารักษามะเร็งโดยเข้าไปยับยั้งกระบวนการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของเซลล์มะเร็ง และกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ถือว่าเป็นการใช้ภูมิคุ้มกันร่างกายของเราเองเข้าไปต่อสู้กับเซลล์มะเร็งโดยตรง
  • การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Hematopoietic stem cell transplantation) หรือ การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone marrow transplantation) เป็นการรักษามะเร็งโดยการนำเอาเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตจากแหล่งกำเนิด คือ ไขกระดูก เลือด และเลือดจากสายสะดือรก ทั้งของผู้อื่น หรือของตนเองที่เก็บไว้มาใช้ในการรักษามะเร็ง
  • การผ่าตัด (Surgery) เป็นวิธีการรักษามะเร็งที่อยู่เฉพาะที่ ยังไม่มีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงอื่นหรือไม่อยู่ระยะแพร่กระจาย ซึ่งจะสามารถควบคุมโรคได้ นอกจากนี้เทคนิคการผ่าตัดยังมีความก้าวหน้ามาก สามารถผ่าตัดนำก้อนมะเร็งออกโดยไม่ทำให้อวัยวะเสียรูปทรง และหลีกเลี่ยงการสูญเสียอวัยวะนั้นไปได้ เช่น การผ่าตัดมะเร็งเต้านมแบบสงวนเต้า และยังมีการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ส่งผลกระทบน้อย เช่น การผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery) เป็นต้น

 

การติดตามผลการรักษา (Follow up)

มีการติดตามและเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากที่ทำการรักษาจนครบแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โดยทีมบุคลากรเฉพาะทางด้านโรคมะเร็งที่ดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เช่น อายุรแพทย์ด้านโรคมะเร็ง นักโภชนากร พยาบาลเฉพาะทางที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อให้ผู้ป่วยลดความทรมาน เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

แพทย์แนะนำ

ศูนย์มะเร็งพิษณุเวช ฮอไรซัน

พญ.วีรนุช รัตนเดช

อายุรแพทย์โรคมะเร็ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

5 อันดับโรคมะเร็งของผู้ชาย

จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ระบุว่า แต่ละปีมีคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่มากถึงวันละ 381 คน หรือ 139,206 คนต่อปี และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งวันละ 230 คน หรือ 84,073 คนต่อปี โดย 5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในชายไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
5 อันดับโรคมะเร็งของผู้ชาย

จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ระบุว่า แต่ละปีมีคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่มากถึงวันละ 381 คน หรือ 139,206 คนต่อปี และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งวันละ 230 คน หรือ 84,073 คนต่อปี โดย 5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในชายไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคมะเร็ง 5 อันดับ ที่พบบ่อยในผู้หญิง

โรคมะเร็ง 5 ที่พบบ่อยในผู้หญิง จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่า โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย  ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคมะเร็ง 5 อันดับ ที่พบบ่อยในผู้หญิง

โรคมะเร็ง 5 ที่พบบ่อยในผู้หญิง จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่า โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย  ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม