Header

มะเร็ง 5 อันดับ ที่พบบ่อยในผู้หญิง

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

โรคมะเร็ง 5 อันดับ ที่พบบ่อยในผู้หญิง

จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่า โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย ได้แก่

  1. มะเร็งเต้านม
  2. มะเร็งปากมดลูก
  3. มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  4. มะเร็งปอด
  5. มะเร็งมดลูก

ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

อันดับ 1 มะเร็งเต้านม

เป็นมะเร็งที่พบมากอันดับ 1 ของหญิงไทย ความเสี่ยงของโรคจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะผู้มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ พันธุกรรม การกลายพันธุ์ของยีน BRCA การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานาน เคยมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ น้ำหนักเกิน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาการที่บ่งบอกว่าอาจเป็นมะเร็งเต้านม เช่น คลำพบก้อนในเต้านมหรือใต้แขน บริเวณหัวนมบุ๋ม มีน้ำเหลืองไหลออกจากหัวนม มีแผล เต้านมมีผื่น แดง ร้อน ผื่นคล้ายผิวส้ม และมีอาการปวดบริเวณเต้านม หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์

การป้องกันเร็งเต้านม

ผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไป แนะนำตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมพร้อมอัลตราซาวด์ (Digital Mammogram + Ultrasound Breast) ทุก 1-2 ปี

 
 

อันดับ 2 โรคมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของหญิงไทย เกิดได้กับผู้หญิงทุกคนที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ กว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งเป็นไวรัสที่ติดต่อผ่านการสัมผัสทั้งจากการมีเพศสัมพันธ์และไม่ใช่เพศสัมพันธ์ ปัจจัยอื่นที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น ได้แก่ ช่วงอายุระหว่าง 40-50 ปี มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีบุตรหลายคน สูบบุหรี่ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) ผู้ติดเชื้อเอชไอวี 

มะเร็งปากมดลูก ในระยะเริ่มแรกหรือระยะก่อนเป็นมะเร็ง จะไม่มีอาการใด ๆ เลย หากมีอาการแสดงว่าโรคได้ดำเนินไปมากแล้ว เช่น มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด ประจำเดือนมานานผิดปกติ มีเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือนแล้ว มีตกขาวมากและมีกลิ่นผิดปกติ

การป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ควรรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ภายใน 3 ปีหลังการมีเพศสัมพันธ์ ผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์อาจเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป โดยการตรวจแปปสเมียร์ (Pap Test) ร่วมกับการตรวจหาเชื้อ HPV และแนะนำฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HPV ในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 9 - 26 ปี ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก

 

 
 

อันดับ 3 มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

เป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 3 ของหญิงไทย ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรค แต่ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งนี้ ได้แก่ อายุ โดยเฉพาะผู้ที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือเคยตรวจพบว่ามีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่มาก่อน มีประวัติเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ขาดการออกกำลังกาย น้ำหนักเกิน ชอบอาหารไขมันสูง ไม่ค่อยรับประทานผัก ผลไม้

มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในระยะต้น ๆ มักไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ จนในระยะท้ายของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสีย ท้องผูก รู้สึกถ่ายไม่หมด ปวดมวนท้องไม่ทราบสาเหตุ อุจจาระมีเลือดปน ลักษณะอุจจาระเล็กเรียวยาวกว่าปกติ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ และมีภาวะโลหิตจาง

การป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ด้วยการตรวจหาเลือดในอุจจาระ การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) หรือวิธีอื่น ๆ ตั้งแต่อายุ 50 ปี แต่ปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้เริ่มพบในอายุที่น้อยลง จึงแนะนำผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงตรวจคัดกรองเร็วขึ้น คือเริ่มที่อายุ 40 ปี

 
 

อันดับ 4 โรคมะเร็งปอด

เป็นมะเร็งที่พบในผู้หญิงเป็นอันดับที่ 4 เป็นโรคที่มีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก คือ มากกว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยตรวจพบโรคเมื่อเซลล์มะเร็งลุกลามเข้าสู่ระยะที่ 4 แล้ว ซึ่งเป็นระยะที่มีอัตราการอยู่รอด 5 ปีไม่ถึงร้อยละ 5 สาเหตุหลักของมะเร็งปอดเกิดจากการสูบบุหรี่ แต่ผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลยก็มีความเสี่ยง โดยเฉพาะผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่สัมผัสควันบุหรี่ (Second-Hand Smoking) และผู้ที่เคยรับสารพิษจากการสูดดมเมื่ออายุน้อย ๆ มะเร็งปอดจะมีอาการเมื่อมะเร็งเข้าสู่ระยะที่ 3-4 โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหนื่อยหอบ หายใจผิดปกติ ติดเชื้อในปอดบ่อย เจ็บหน้าอก เสียงแหบ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หากเป็นมะเร็งที่หลอดลมก็จะมีอาการไอเรื้อรัง บางรายอาจไอมีเลือดปน

การป้องกันมะเร็งปอด

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด เช่น ผู้สูบบุหรี่หรือมีประวัติสูบบุหรี่ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เลิกสูบมาไม่เกิน 15 ปี มีบุคคลในครอบครัวสูบบุหรี่ และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ได้รับมลภาวะและสารพิษต่าง ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรตรวจคัดกรองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (Low-dose computerized tomography หรือ Low-dose CT) ซึ่งใช้ปริมาณรังสีน้อยแต่ให้ภาพที่มีความละเอียดสูงเช่นเดียวกับการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจจึงมีความปลอดภัยและแม่นยำ

 
 

อันดับ 5 มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

มะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 5 ของหญิงไทย สาเหตุของโรคยังไม่แน่ชัด แต่ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศหญิง ดังนั้นผู้หญิงที่มีบุตรน้อยหรือไม่มีบุตร มีประจำเดือนต่อเนื่องแม้จะถึงวัยที่ควรหมดประจำเดือนแล้ว ภาวะฮอร์โมนไม่คงที่ เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมถึงผู้ป่วยเบาหวาน น้ำหนักตัวมาก อาจมีความเสี่ยงต่อมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้มากขึ้น อาการของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก คือ ประจำเดือนผิดปกติ เช่น มาบ้างไม่มาบ้าง มานานกว่าปกติ มีเลือดออกจากช่องคลอดทั้งที่หมดประจำเดือนแล้ว

การป้องกันมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ผู้ที่มีภาวะประจำเดือนผิดปกติจึงจำเป็นต้องปรึกษาสูตินรีแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ แพทย์อาจตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์หรือใช้วิธีเก็บเซลล์จากโพรงมดลูกเพื่อตรวจ หรือใช้วิธีส่องกล้องเข้าทางปากมดลูกเพื่อตรวจโพรงมดลูกว่ามีเนื้องอกหรือมะเร็งหรือไม่



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็งพิษณุเวช ฮอไรซัน

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520101, 520102

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

5 อันดับโรคมะเร็งของผู้ชาย

5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในชายไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ระบุว่า แต่ละปีมีคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่มากถึงวันละ 381 คน หรือ 139,206 คนต่อปี และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งวันละ 230 คน หรือ 84,073 คนต่อปี

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
5 อันดับโรคมะเร็งของผู้ชาย

5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในชายไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ระบุว่า แต่ละปีมีคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่มากถึงวันละ 381 คน หรือ 139,206 คนต่อปี และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งวันละ 230 คน หรือ 84,073 คนต่อปี

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ลดเสี่ยงเลี่ยงโรคมะเร็ง

ปัจจุบันประชาคมโลกได้ให้ความสำคัญกับโรคมะเร็งมากขึ้น ในแต่ละปีโรคมะเร็งได้คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกในอัตราที่สูงมากขึ้น เพื่อให้คนทั่วโลกตระหนักถึงภัยร้ายจากโรคมะเร็ง รวมถึงรณรงค์ให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพของตนเองมากขึ้น องค์การอนามัยโลกและสมาคมต่อต้านมะเร็งสากลกำหนดให้ ทุกวันที่ 4 กุมภาพันธ์ เป็นวันมะเร็งโลก (World Cancer Day) หลังจากพบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประชาคมโลก โรคมะเร็ง เป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ ของคนไทย ถึงแม้โรคมะเร็งจะเกิดจากหลายสาเหตุทั้งที่สามารถป้องกันได้และไม่สามารถป้องกันได้ แต่ด้วยพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมในปัจจุบัน มีการแข่งขันเร่งรีบ และการรับประทานอาหารไม่ถูกหลัก พักผ่อนไม่เพียงพอ

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ลดเสี่ยงเลี่ยงโรคมะเร็ง

ปัจจุบันประชาคมโลกได้ให้ความสำคัญกับโรคมะเร็งมากขึ้น ในแต่ละปีโรคมะเร็งได้คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกในอัตราที่สูงมากขึ้น เพื่อให้คนทั่วโลกตระหนักถึงภัยร้ายจากโรคมะเร็ง รวมถึงรณรงค์ให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพของตนเองมากขึ้น องค์การอนามัยโลกและสมาคมต่อต้านมะเร็งสากลกำหนดให้ ทุกวันที่ 4 กุมภาพันธ์ เป็นวันมะเร็งโลก (World Cancer Day) หลังจากพบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประชาคมโลก โรคมะเร็ง เป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ ของคนไทย ถึงแม้โรคมะเร็งจะเกิดจากหลายสาเหตุทั้งที่สามารถป้องกันได้และไม่สามารถป้องกันได้ แต่ด้วยพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมในปัจจุบัน มีการแข่งขันเร่งรีบ และการรับประทานอาหารไม่ถูกหลัก พักผ่อนไม่เพียงพอ

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
‘ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน’ ภัยเงียบที่มาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ จนไม่มีการบีบตัวหรือหยุดเต้นทันที โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า

blank ดร.นพ.กิติกร วิชัยเรืองธรรม อายุรแพทย์โรคหัวใจ รพ. พิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
‘ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน’ ภัยเงียบที่มาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ จนไม่มีการบีบตัวหรือหยุดเต้นทันที โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า

blank ดร.นพ.กิติกร วิชัยเรืองธรรม อายุรแพทย์โรคหัวใจ รพ. พิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม