Header

มะเร็งช่องปาก

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

มะเร็งในช่องปาก

มะเร็งช่องปาก (Oral Cancer) เป็นโรคมะเร็งที่ติด 10 อันดับแรกของโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีความรุนแรง และมีอัตราการเสียชีวิตสูง มากกว่าร้อยละ 50
มะเร็งช่องปาก หมายถึง มะเร็งของริมฝีปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม เหงือก พื้นช่องปาก และ เพดานปาก นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้ที่ทอนซิลด้านหลังช่องปาก ซึ่งเป็นต่อมผลิตน้ำลาย รวมถึงในบริเวณช่องคอที่เชื่อมต่อระหว่างปากกับหลอดลมหรือคอหอย แต่ที่พบบ่อยที่สุดเป็นชนิดที่เกิดจากเซลล์ของเยื่อบุผิวช่องปาก (Squamous Cell Carcinoma)
มะเร็งช่องปากเป็นมะเร็งที่พบได้ค่อนข้างบ่อย ในระยะแรก ๆ มักจะยังไม่มีอาการเจ็บปวด ทำให้ผู้ป่วยไม่ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องไปพบทันตแพทย์หรือแพทย์ ทำให้ได้รับการวินิจฉัยและรักษาล่าช้า ซึ่งการรักษาตั้งแต่ในระยะแรก ๆ จะช่วยให้มีโอกาสหายขาดจากโรคสูง

อาการของมะเร็งช่องปาก (Oral Cancer)

  1. มีรอยสีขาวคล้ายกำมะหยี่ แดง หรือรอยด่างสีแดงขาว ภายในช่องปาก
  2. เกิดอาการบวม มีแผล มีตุ่ม ก้อนเนื้อโตขึ้นเรื่อย ๆ บริเวณริมฝีปาก เหงือก หรือส่วนอื่น ๆ ในช่องปาก 
  3. รู้สึกว่ามีอะไรติดอยู่ภายในลำคอ
  4. มีอาการด้านชาไร้ความรู้สึก หรือมีอาการเจ็บปวดอย่างไม่ทราบสาเหตุ บริเวณใบหน้า ปาก หรือลำคอ มีเลือดออกง่ายในช่องปาก อาการไม่ดีขึ้นภายในระยะเวลา 2 - 3 สัปดาห์
  5. เกิดการเปลี่ยนแปลงของตัวฟัน การสบฟัน ฝันโยก ฟันหลุด
  6. เจ็บคอเรื้อรัง รวมทั้งเสียงเปลี่ยน และเสียงแหบ
  7. มีอาการกลืนและเคี้ยวอาหารลำบาก พูดและอ้าปากได้น้อย เสียงเปลี่ยน เจ็บในหู
  8. น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว  อ่อนเพลีย

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งช่องปาก

  • การสูบบุหรี่ ชิการ์ ยาเส้น ยาฉุน สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดเซลล์มะเร็งมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 6 เท่า
  • การบริโภคยาสูบผ่านการเคี้ยว การสูดดม ก่อให้เกิดการพัฒนาเซลล์มะเร็งที่บริเวณเหงือก แก้ม หรือริมฝีปาก มากถึง 50 เท่า
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ถึง 6 เท่า
  • การเคี้ยวหมากพลู  พบว่าในหมากมีสารก่อมะเร็งหลายชนิด
  • มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งมาก่อน
  • รังสียูวี (เฉพาะมะเร็งบริเวณริมฝีปากล่าง)
  • โรคติดเชื้อเอชพีวี (Human Papillomavirus) สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งศีรษะและลำคอมากที่สุด คือ เอซพีวี 16 โดยสามารถติดต่อจากการสัมผัส การมีเพศสัมพันธ์ทั้งทางปาก ช่องคลอด และทวารหนัก

 

การวินิจฉัยมะเร็งช่องปาก

แพทย์สามารถวินิจฉัยมะเร็งช่องปากได้จากข้อมูลประวัติ ปัจจัยเสี่ยง อาการ และการตรวจช่องปากและลำคอ การตรวจทางภาพรังสี และตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยมะเร็งช่องปากก่อนที่จะวางแผนการรักษาต่อไป

 

การรักษามะเร็งช่องปาก

อาจใช้วิธีการใดวิธีหนึ่งหรือใช้หลายวิธีร่วมกัน ขึ้นกับชนิดและขนาด ตลอดจนระยะของโรคและวัตถุประสงค์ในการรักษา

  • การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดนำเอาก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ออก และมักจะต้องผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอออกด้วย
  • รังสีรักษา เป็นการใช้รังสีเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง บางครั้งอาจใช้ร่วมกับการผ่าตัดในรายที่มีข้อบ่งชี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษา
  • เคมีบำบัด เป็นการใช้ยาต้านมะเร็งหลายชนิดร่วมกัน เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งทั้งบริเวณก้อนเนื้องอกและเซลล์มะเร็งที่อาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย มักใช้ร่วมกับการผ่าตัดและรังสีรักษาในรายที่มีข้อบ่งชี้ 
  • การใช้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง (Target Therapy) โดยยาจะเข้าไปหยุดยั้งการทำงานของโปรตีนในเซลล์มะเร็ง สามารถทำควบคู่ไปกับเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา
  • การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การรักษาด้วยวิธีทางภูมิคุ้มกัน (Immunotherapy) สำหรับผู้ป่วยมะเร็งช่องปากที่จำเป็นต้องได้รับรังสีรักษาหรือเคมีบำบัด จะต้องได้รับการเตรียมช่องปากโดยทันตแพทย์ก่อนการรักษาเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะกระดูกกรามตายจากรังสี และป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีสาเหตุจากโรคเหงือกและฟันในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัด นอกจากนี้ผู้ป่วยยังจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่องระหว่างและภายหลังการได้รับรังสีรักษาอีกด้วย

 

การฟื้นฟูสภาพภายหลังการรักษามะเร็งช่องปาก

ภายหลังจากรับการผ่าตัดและรังสีรักษาแล้ว ผู้ป่วยอาจมีความจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสภาพ เช่น การฝึกกลืน ฝึกอ้าปาก ฝึกพูด ใส่ฟันเทียม เป็นต้น

 

การตรวจติดตามผลการรักษาของมะเร็งช่องปาก

ภายหลังการรักษา ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจติดตามผลเป็นระยะจนครบอย่างน้อย 5 ปี เพื่อตรวจว่ามีการกลับเป็นซ้ำของโรคมะเร็งหรือไม่

 

ภาวะแทรกช้อนของมะเร็งช่องปาก

โรคมะเร็งช่องปากและกระบวนการรักษาโรคสามารถก่อให้เกิดภาวแทรกซ้อนได้แล้วแต่กรณี ในบางครั้งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจในการดำเนินชีวิตประจำวัน

  • กลืนลำบาก (Dysphagia) หากพบมีปัญหาการกลืน อาจให้อาหารทางสายยางในระยะสั้น เพื่อช่วยให้บริโภคอาหารได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงการสำลักลงปอด นอกจากนี้อาจต้องรับการบริหารที่ช่วยพัฒนาการกลืนอาหาร เป็นต้น
  • ปัญหาในการพูด เกิดจากการใช้รังสีรักษาและการผ่าตัด ต้องรับการสอนหลักการออกเสียงใหม่
  • ผลกระทบทางอารมณ์ เช่น เกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งควรรีบเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์โดยทันที

 

การป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงมะเร็งช่องปาก

  • ลดความเสี่ยงในการทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในช่องปาก เช่น ลดการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การเคี้ยวหมากพลู การสูบบุหรี่ ยาเส้น หรือ ยาฉุน
  • รับประทานอาหาร ผักและผลไม้หลากหลายชนิดที่อุดมไปด้วยวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ดูแลรักษาสุขภาพของช่องปากและฟันด้วยตนเองให้สะอาดอยู่เสมอ ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟันสม่ำเสมอ หากมีความผิดปกติ เช่น ฟันผุ ฟันบิ่น ฟันปลอมหลวม ให้รีบพบทันตแพทย์
  • พยายามหลีกเลี่ยงรังสี UV โดยเฉพาะบริเวณริมผีปาก ด้วยการทาครีมกันแดดสำหรับริมฝีปากหรือการสวมหมวกปีกกว้างที่สามารถบดบังแสงแดดไม่ให้กระทบกับใบหน้าโดยตรง

 

ที่มา : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ,สมาคมศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ,โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภาภาชาดไทย ,สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็งพิษณุเวช ฮอไรซัน

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520101, 520102

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

28 พฤษภาคม 2567

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer)

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer) เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในกระเพาะปัสสาวะที่มีการเจริญเติบโตแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์อย่างรวดเร็วและมากผิดปกติ จนกลายเป็นก้อนเนื้องอก และก้อนเนื้องอกนี้สามารถเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจเต็มกระเพาะปัสสาวะ ลุกลามไปยังอวัยวะและต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง และแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้ หากตรวจพบโรคได้เร็วก็จะมีโอกาสหายได้สูง อย่างไรก็ตาม แม้จะตรวจพบได้ในระยะแรกและรักษาหายแล้ว แต่มะเร็งกระเพาะปัสสาวะก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูงเช่นกัน ในประเทศไทย มะเร็งกระเพาะปัสสาวะเป็นมะเร็งที่พบมาก 1 ใน 10 อันดับแรก ของมะเร็งที่พบมากในเพศชาย โดยพบมากในช่วงอายุ 50-70 ปี

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

28 พฤษภาคม 2567

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer)

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer) เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในกระเพาะปัสสาวะที่มีการเจริญเติบโตแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์อย่างรวดเร็วและมากผิดปกติ จนกลายเป็นก้อนเนื้องอก และก้อนเนื้องอกนี้สามารถเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจเต็มกระเพาะปัสสาวะ ลุกลามไปยังอวัยวะและต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง และแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้ หากตรวจพบโรคได้เร็วก็จะมีโอกาสหายได้สูง อย่างไรก็ตาม แม้จะตรวจพบได้ในระยะแรกและรักษาหายแล้ว แต่มะเร็งกระเพาะปัสสาวะก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูงเช่นกัน ในประเทศไทย มะเร็งกระเพาะปัสสาวะเป็นมะเร็งที่พบมาก 1 ใน 10 อันดับแรก ของมะเร็งที่พบมากในเพศชาย โดยพบมากในช่วงอายุ 50-70 ปี

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

27 พฤษภาคม 2567

สูบบุหรี่ พฤติกรรมร้าย ทำลายหัวใจ

เสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยส่วนใหญ่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุที่สำคัญ ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเสียชีวิตจากหัวใจวาย ในอายุประมาณ 30-40 ปี ซึ่งสูงกว่าผู้ไม่สูบถึง 5 เท่า สารพิษในควันบุหรี่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดทั่วร่างกาย

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

27 พฤษภาคม 2567

สูบบุหรี่ พฤติกรรมร้าย ทำลายหัวใจ

เสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยส่วนใหญ่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุที่สำคัญ ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเสียชีวิตจากหัวใจวาย ในอายุประมาณ 30-40 ปี ซึ่งสูงกว่าผู้ไม่สูบถึง 5 เท่า สารพิษในควันบุหรี่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดทั่วร่างกาย

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม