การตรวจโรคหัวใจ
โรคหัวใจ เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
โรคหัวใจ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย เนื่องจากวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันที่มีพฤติกรรมเสี่ยงมากขึ้น ทั้งการรับประทานอาหาร ขาดการออกกำลังกาย ไม่ดูแลสุขภาพ โรคหัวใจบางชนิดเป็นแล้วอาจไม่รู้ตัว เนื่องจากอาการบางอย่างอาจจะคล้ายกับโรคอื่น ๆ หลายโรค เราควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัวใจ รวมถึงการป้องกัน วิธีการตรวจโรคหัวใจ เพื่อสำรวจตัวเองว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจหรือไม่ รวมถึงการตรวจสุขภาพเพื่อค้นเจอโรคหัวใจและรับการรักษาตั้งแต่เริ่มต้นก่อนที่จะอันตรายถึงชีวิต
โรคหัวใจ หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยโรคหัวใจสามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น
โรคหัวใจ แล้วใครเสี่ยง?
- ผู้ชาย อายุมากกว่า 45 ปี
- ผู้หญิง อายุมากกว่า 55 ปี
- อ้วน หรือ น้ำหนักเกินมาตรฐาน
- เบาหวาน
- ความดันโลหิตสูง
- ไขมันในเลือดสูง
- ประวัติครอบครัว และญาติสายตรง เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- สูบบุหรี่
แค่ข้อเดียว ก็เสี่ยงแล้ว รู้ทันใจกับ 7 วิธีการตรวจโรคหัวใจ
จะรู้ได้อย่างไร? ว่าเป็นโรคหัวใจ
วิธีการตรวจโรคหัวใจมีอะไรบ้าง
1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram : EKG)
เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัว โดยจะมีรูปแบบบของคลื่นไฟฟ้าและจังหวะการเต้นของหัวใจ อาจเปลี่ยนแปลงไปตามความผิดปกติของหัวใจ การตรวจทำได้โดยการวัดคลื่นไฟฟ้าของหัวใจผ่านทางสื่อนำคลื่นไฟฟ้าขนาดเล็กที่วางไว้ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ บริเวณหน้าอก แขน และขา แล้วบันทึกกราฟแสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจลงบนกระดาษ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจที่ง่ายและสะดวก ไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ ใช้เวลาตรวจไม่เกิน 10 นาที แต่บางทีเราอาจจะไม่พบสิ่งผิดปกติในคลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจบางชนิดได้ในการตรวจตามธรรมดา เนื่องจากถ้าหัวใจไม่ได้ทำงานหนักขึ้น การปลี่ยมเปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจจะไม่ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งอาจต้องใช้การตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกายต่อไป
2. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram : Echo)
การตรวจ Echo จะทำให้เห็นการคลื่อนและการบีบตัวของหัวใจว่าปกติดีหรือไม่ ความเร็วและความดันเลือดเป็นอย่างไร ตรวจดูความพิการของหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ และโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าจะใช้การรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัด ใช้ในการวินิจฉัย และพยากรณ์โรค รวมทั้งตรวจหาความรุนแรง ติดตามผลการรักษาในโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถวัดขนาด และดูความสามารถในการทำงานของหัวใจ รวมถึงโครงสร้างต่าง ๆ ได้ดี
การตรวจด้วยวิธีนี้ไม่มีอันตราย ไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 20-30 นาที ใช้หลักการของการส่งคลื่นความถี่สูงไปที่บริเวณหัวใจ เมื่อกระทบส่วนต่าง ๆ ของหัวใจก็จะสะท้อนกลับมา แสดงผลเป็นเงาตามความหนาบางของเนื้อเยื่อที่เสียงไปกระทบและส่งกลับมา ทำให้ทราบถึงรูปร่างของหัวใจ ความหนาของผนังหัวใจ ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ สามารถดูการเคลื่อนไหวของผนังหัวใจปรียบเทียบระหว่างขณะที่พักหรือนอนเฉย ๆ กับขณะที่มีการออกกำลังกาย การตรวจวิธีนี้สามารถดูได้ทั้งจากจอแสดงผล และบันทึกเก็บไว้เป็นรูปภาพ
3. การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test : EST)
เป็นการตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกายด้วยการเดินบนสายพานเลื่อน เพื่อทดสอบว่าภายใต้สภาวะที่หัวใจทำงานมากขึ้น มีความต้องการออกซิเจนจากเลือดที่หล่อเลี้ยงมากขึ้น จะมีปริมาณเลือดมาเลี้ยงเพียงพอหรือไม่ ในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตันเมื่อทำการทดสอบคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะแสดงสภาพของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้อย่างชัดเจน และบอกระดับความรุนแรงของโรคว่าจะต้องเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมด้วยการสวนหัวใจแล้วหรือยัง
4. เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา (Holter Monitor)
เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 หรือ 48 ชั่วโมง เป็นอุปกรณ์ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพาที่ติดไว้กับตัวผู้ป่วย เพื่อบันทึกการเต้นของหัวใจและตรวจหาจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางประเภทนั้นเกิดขึ้นเพียงครั้งคราว ทำให้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบปกติ (EKG) ในช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกตินั้นได้ ดังนั้นแพทย์จึงอาจให้ผู้ป่วยติดเครื่อง Holter monitor เพื่อตรวจจับการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติดังกล่าว
การตรวจนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อาจมีปัญหาใจสั่นผิดปกติเป็นครั้งคราว หน้ามืดคล้ายเป็นลมอยู่เสมอ เวียนศีรษะ ใจเต้นแรงผิดปกติอยู่เป็นประจำ
5. การตรวจหัวใจด้วยเตียงปรับระดับ (Tilt Table Test)
เป็นการตรวจโดยใช้เตียงที่ปรีบเอียงได้ เพื่อประเมินสาเหตุของภาวะเป็นลมหมดสติ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลงและหลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตลดลง เลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยและเป็นลมหมดสติในที่สุด
การตรวจด้วยวิธีนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยสาเหตุของภาวะเป็นลมหมดสติ และกำหนดแนวทางการรักษาที่เหมาะสมได้ เนื่องจากอาการเป็นลมหมดสสติ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาทางด้านสมอง หัวใจ ความดันโลหิตต่ำ หรือความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ
6. ตรวจภาวะเสี่ยงการอุดตันของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (Ankle-brachial index : ABI)
เป็นการตรวจการอุดตันของหลอดเลือดแดงและความยืดหยุ่นของหลอดเลือด สามารถนำไปสู่การค้นหาโรคอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจหรือหลอดเลือดสมองตีบได้
7.การตรวจวัดความหนาตัวของผนังหลอดเลือดแดงที่คอ (Carotid Intima-Media Thickness : CIMT)
เป็นการตรวจวัดความหนาตัวของผนังหลอดเลือดแดงใหญ่คาโรติด (Carotid Artery) ที่อยู่บริเวณล่าคอ ใช้หลักการเดียวกับการตรวจอัลตร้าซาวด์ เพื่อคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองต้นต้น และหัวใจขาดเลือด
หากคุณมีความเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น แนะนำให้ตรวจสุขภาพหัวใจทุกปี