Header

โรคหลอดเลือดสมอง (S.T.R.O.K.E) สาเหตุเกิดจากอะไร ?

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

โรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุเกิดจากอะไร ?

โรคหลอดเลือดสมอง (S.T.R.O.K.E)

          คือ ภาวะที่สมองหยุดทำงานเนื่องจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการทางระบบประสาทอย่างเฉียบพลัน ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 5.5 ล้านราย สำหรับประเทศไทย พบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 1,800 รายต่อประชากรแสนคน โรคหลอดเลือดสมองสามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะแม้แต่ในโรงพยาบาลหรือระหว่างการรักษา

          โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย มีจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองส่วนหนึ่งมักต้องสูญเสียการทำงานของร่างกาย เช่น พูดไม่ชัด หน้าเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง สูญเสียการทรงตัว กลืนลำบาก เป็นต้น ซึ่งหากเข้ารับการรักษาได้รวดเร็ว จะช่วยเพิ่มโอกาสในการหายเป็นปกติ ลดการเกิดความพิการและอัตราการตายได้ ปัจจุบันการรักษโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่มีอาการ ภายใน 4.5 ชั่วโมง โดยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ (rt-PA) เป็นการรักษามาตรฐานที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน

          ผู้ป่วยที่มีอาการโรคหลอดเลือดสมองควรได้พบแพทย์โดยเร็วที่สุด เนื่องจากเซลล์สมองหากขาดเลือดเพียง 1 นาที จะมีเซลล์สมองตายประมาณ 1 ล้านเซลล์ การรักษาช้าจะทำให้บริเวณสมองที่ขาดเลือดขยายขนาดมากขึ้น เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยมีความพิการมากขึ้น หรืออาจเสียชีวิตได้ "ยิ่งรักษาเร็วยิ่งได้ผลดี” โรคหลอดเลือดสมองเป็นภัยร้ายที่เกิดขึ้นกับใคร เมื่อไหร่ก็ได้ เราจำเป็นต้องคอยสังเกตอาการตนเอง และคนรอบข้าง หากมีความผิดปกติที่เสี่ยงจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

โรคหลอดเลือดสมองแบ่งได้ 2 ประเภท

1. ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic Stroke)

          เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เนื่องจากมีลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นไหลไปตามกระแสเลือด จนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง หรือมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมองและขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดตันหลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ ความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง

2. ภาวะหลอดเลือดสมองแตก (hemorrhagic stroke)

          เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบาง ร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดเกิดการโป่งพองและแตกออก เซลล์สมองขาดเลือด เนื้อสมองตาย เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง มีหลายปัจจัย

          เมื่อมีอายุมากขึ้น หลอดเลือดจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย โดยผนังชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้นจากการที่ไขมันและหินปูนมาเกาะ ทำให้บริเวณที่เลือดไหลผ่านแคบลงเรื่อย ๆ เพศ พบว่าเพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง พันธุกรรม เช่น ผู้ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมองจะมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง การสูบบุหรี่ การผ่าตัดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คือ การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดคอ หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ท้อง

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้ป่วยจะมีอาการทันที และมักเป็นครึ่งซีกของร่างกาย

รู้จักสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง

FAST อาการหรือสัญญาณเตือน โรคหลอดเลือดสมอง

  • F (Face) ใบหน้าชา หรืออ่อนแรง หน้าเบี้ยวมุมปากตกข้างหนึ่ง ตามัวเห็นภาพซ้อน
  • A (Arm) แขนหรือขาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่งยกแขนหรือขาไม่ขึ้น กำมือได้ลดลง ชาตามแขนขา หรือรู้สึกน้อยลง เดินเซ
  • S (Speech) พูดลำบาก พูดไม่ชัด มึนงงสับสน มีปัญหาในการพูด
  • T (Time) ให้รีบมาพบแพทย์ทันที หรือให้ทันภายใน 4.5 ชั่วโมง

*แม้ไม่แน่ใจก็ควรรีบพบแพทย์ทันที*

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

  1. การรักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การรักษาโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
  2. การลดอาหารที่มีไขมัน โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว ลดอาหารเค็ม และรับประทานผักผลไม้ให้มาก
  3. จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ และ งดสูบบุหรี่
  4. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  6. หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางกลุ่ม ที่มีโอกาสทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองผิดปกติ เช่น ยาที่กระตุ้นให้กระปรี้กระเปร่า หรือยาที่ทำให้อวัยวะเพศแข็งตัว แม้แต่ยาคุมกำเนิด
  7. การป้องกันการกลับเป็นโรคเส้นเลือดสมองช้ำด้วยการใช้ยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด

ยาละลายลิ่มเลือด rt-PA

          การวินิจฉัยอย่างรวดเร็วและการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที การรักษาโดยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ (rt-PA) ภายใน 4.5 ชม. จะทำให้เลือดสามารถไปเลี้ยงสมองบริเวณที่มีการขาดเลือดให้ฟื้นกลับมาได้เป็นปกติ ภายใน 4.5 ชั่วโมง การจับตัวกันของลิ่มเลือดยังไม่แข็งตัวเต็มที่ การให้ยาละลายลิ่มเลือดจะมีประสิทธิภาพที่สุด ลดความเสี่ยงการสูญเสียการทำงานของสมองจากการขาดเลือดได้น้อยที่สุด ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นกลับสู่สภาวะปกติได้มากที่สุด การรักษาหลอดเลือดสมองโดยวิธี Mechanical Thrombectomy เป็นการนำเอาลิ่มเลือดที่อุดตันในหลอดเลือดสมองออกผ่านทางสายสวน เพื่อเปิดหลอดเลือดให้เลือดสามารถไปเลี้ยงสมองได้ เป็นหัตถการที่ต้องใช้ความชำนาญของแพทย์เฉพาะทางและมีความละเอียดสูง แพทย์จะเห็นพยาธิสภาพของหลอดเลือดที่มีขนาดเล็กมากผ่านเครื่องเอกซเรย์สำหรับใช้ในการตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยาระบบหลอดเลือดโดยเฉพาะ ใช้เวลาน้อย ภาพที่ได้มีรายละเอียดและความคมชัดสูง ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงน้อยลง และการรักษาเป็นไปอย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การใส่สายสวนหลอดเลือดเพื่อเปิดหลอดเลือดจะมีประสิทธิภาพดีควรทำภายใน 8 ชม.

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

          การรักษาภาวะหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ได้แก่ การฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ (rt-PA)  ภายใน 4.5 ชม. และการใส่สายสวนหลอดเลือดเพื่อเปิดหลอดเลือด ภายใน 8 ชม.

หากมีคำถาม ข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ปรึกษาแพทย์

คลิกขอคำปรึกษา

 

ที่มา : สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ



UCEP นโยบายรัฐบาล "เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่"

กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนนอกคู่สัญญากองทุน (กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ) เพื่อให้เกิดความครอบคลุม ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ซึ่งได้รับการคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงบริการอย่างปลอดภัยโดยไม่มีเงื่อนไขในการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล ไม่เป็นอุปสรรคและความเสี่ยงของการดูแลรักษา โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมงหรือพ้นภาวะวิกฤต

6 อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่สามารถใช้สิทธิ UCEP คือ

  1. หมดสติไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
  2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง
  3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
  4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
  5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
  6. หรือมีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจระบบการไหลเวียนโลหิตและระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์โรคระบบประสาทและสมอง

ศูนย์โรคระบบประสาทและสมอง

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

24 พฤศจิกายน 2566

ภาวะสมองเสื่อม

สมองเสื่อม คือ ภาวะที่มีการสูญเสียความสามารถทางสมอง เช่น ความจำ การรับรู้ ความเข้าใจ การใช้ภาษา ทิศทาง การใช้เหตุผล และการแก้ปัญหา มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและบุคลิกภาพ โดยมีผลกระทบต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันและการเข้าสังคม

พญ.พรสวรรค์ เพียรสวรรค์ พญ.พรสวรรค์ เพียรสวรรค์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

24 พฤศจิกายน 2566

ภาวะสมองเสื่อม

สมองเสื่อม คือ ภาวะที่มีการสูญเสียความสามารถทางสมอง เช่น ความจำ การรับรู้ ความเข้าใจ การใช้ภาษา ทิศทาง การใช้เหตุผล และการแก้ปัญหา มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและบุคลิกภาพ โดยมีผลกระทบต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันและการเข้าสังคม

พญ.พรสวรรค์ เพียรสวรรค์ พญ.พรสวรรค์ เพียรสวรรค์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

06 พฤศจิกายน 2567

หัวใจเต้นระริก เต้นผิดจังหวะ เสี่ยงถึงชีวิต

หัวใจเต้นระริกมักจะพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ พบมากถึง 60 ล้านคนทั่วโลก โดยพบ 10% ในผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี เมื่อเป็นหัวใจเต้นระริก อาจจะมีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองตามมาถึง 5 เท่า

พญ.ฐิตยา	สุขุปัญญารักษ์ พญ.ฐิตยา สุขุปัญญารักษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

06 พฤศจิกายน 2567

หัวใจเต้นระริก เต้นผิดจังหวะ เสี่ยงถึงชีวิต

หัวใจเต้นระริกมักจะพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ พบมากถึง 60 ล้านคนทั่วโลก โดยพบ 10% ในผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี เมื่อเป็นหัวใจเต้นระริก อาจจะมีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองตามมาถึง 5 เท่า

พญ.ฐิตยา	สุขุปัญญารักษ์ พญ.ฐิตยา สุขุปัญญารักษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ภาวะวูบหมดสติ สัญญาณโรคร้าย ส่งผลต่อร่างกายไม่ควรมองข้าม | โรงพยาบาลพิษณุเวช

เป็นอาการสูญเสียความรู้สึกตัว และการทรงตัวชั่วคราว โดยทั่วไปเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงชั่วขณะ ทำให้สมองขาดออกซิเจนชั่วคราวจะมีลักษณะอาการเฉพาะ คือ หมดสติเฉียบพลัน เกิดขึ้นชั่วขณะในระยะเวลาอันสั้นและสามารถฟื้นคืนสติเองได้

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ภาวะวูบหมดสติ สัญญาณโรคร้าย ส่งผลต่อร่างกายไม่ควรมองข้าม | โรงพยาบาลพิษณุเวช

เป็นอาการสูญเสียความรู้สึกตัว และการทรงตัวชั่วคราว โดยทั่วไปเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงชั่วขณะ ทำให้สมองขาดออกซิเจนชั่วคราวจะมีลักษณะอาการเฉพาะ คือ หมดสติเฉียบพลัน เกิดขึ้นชั่วขณะในระยะเวลาอันสั้นและสามารถฟื้นคืนสติเองได้

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม