Header

ภาวะวูบหมดสติ สัญญาณโรคร้าย ส่งผลต่อร่างกายไม่ควรมองข้าม | โรงพยาบาลพิษณุเวช

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ภาวะวูบหมดสติ สัญญาณโรคร้าย ส่งผลร่างกายไม่ควรมองข้าม

ภาวะภาวะวูบหมดสติ (Syncope) คืออะไร?

เป็นอาการสูญเสียความรู้สึกตัว และการทรงตัวชั่วคราว โดยทั่วไปเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงชั่วขณะ ทำให้สมองขาดออกซิเจนชั่วคราวจะมีลักษณะอาการเฉพาะ คือ หมดสติเฉียบพลัน เกิดขึ้นชั่วขณะในระยะเวลาอันสั้นและสามารถฟื้นคืนสติเองได้ จะแสดงออกทางอาการหลากหลาย เช่น เรียกไม่รู้สึกตัว ล้มลมกับพื้น ทรงตัวไม่อยู่ อาจมีอาการเกร็งที่มือ เท้า ตาค้างชั่วขณะ เหงื่อออกที่ใบหน้า ซึ่งผู้ป่วยจะจำเหตุการณ์ตอนหมดสติไม่ได้ โดยจะมีระยะเวลาการหมดสติตั้งแต่ 30 วินาที ถึง 5 นาที ขึ้นกับสุขภาพพื้นฐานเดิมของผู้ป่วย

อาการของภาวะวูบหมดสติเป็นอย่างไร?

มีหลายสาเหตุ เช่น อ่อนเพลีย ร่างกายสูญเสียน้ำ จากการเสียเหงื่อ ท้องเสียอย่างรุนแรง ตากแดดนาน ออกกำลังกายมากเกินไป ก็เป็นสาเหตุของการวูบได้ สาเหตุอื่น ๆ เช่น ผลจากการใช้ยา เช่น รับประทานยาลดความดันหรือยาลดความอ้วนซึ่งมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะก็อาจทำให้เกิดอาการวูบหมดสติได้ อาการวูบหมดสติอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคทางสมอง เช่น โรคลมชัก โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดสมองแตก

สัญญาณเตือนภาวะวูบหมดสติ

สัญญาณเตือน ก่อนมีอาการวูบหมดสติเป็นลม ผู้ป่วยมักมีอาการหวิว เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาจเห็นภาพผิดปกติ เช่น เห็นเป็นแสงสีขาวหรือสีดำ อาจมีอาการเหงื่อออก ตัวเย็นชื้น สูญเสียการทรงตัว เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนตัวลงและล้มลงได้

อันตรายที่ควรระวัง คือ หลังจากผู้ป่วยตื่นขึ้นมาอาจมีอาการบาดเจ็บ เช่น ศีรษะกระแทกพื้น แต่ถ้าหากตื่นขึ้นมาแล้วมีอาการปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด ชาหรืออ่อนแรงร่างกายครึ่งซีก อาจเป็นสัญญาณของหลอดเลือดสมองตีบ หรือหลอดเลือดสมองแตก ควรรีบมาพบแพทย์ทันที

ปัจจัยสำคัญที่ช่วยป้องกันอาการวูบหมดสติ คือ ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ตรวจสุขภาพประจำปี รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ดื่มน้ำให้เพียงพอ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาการวูบเป็นเรื่องน่ากลัวและอันตราย โดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานบนที่สูง หรือผู้ที่ต้องขับรถ หากมีอาการวูบบ่อย ๆ ควรต้องระมัดระวังและหลีกเลี่ยงงานที่เสี่ยง

 

ที่มา : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์โรคระบบประสาทและสมอง

ศูนย์โรคระบบประสาทและสมอง

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

อายุรกรรม

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร 4 ชั้น 1

เวลาทำการ

07:00 - 22:00 น.

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520101 และ 520102

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์