Header

เคมีบำบัด (Chemotherapy)

เคมีบำบัด (Chemotherapy)

การรักษาด้วยเคมีบำบัด หมายถึง การให้ยาซึ่งมีฤทธิ์ทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อร้าย บางครั้งอาจมีผลทำให้เซลล์ปกติของร่างกายถูกทำลาลายไปด้วย ส่งผลให้เกิดอาการข้างเดียง เช่น คลื่นเส้ อาเจียน ปากอักเสบ เบื่ออาหาร ภูมิต้านทานต่ำ ท้องเสีย ผมร่วง ซึ่งอาการเหล่านี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของยา สภาวะความแข็งแรงของร่างกาย รวมถึงความพร้อมทางด้านจิตใจของผู้ป่วย

เคมีบำบัดมีกี่แบบ ?

วิธีการให้เคมีบำบัด แบ่งเป็น 2 วิธี

  1. เคมีบำบัดชนิดรับประทาน
  2. เคมีบำบัดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด

เคมีบำบัด ต้องใช้เวลารักษานานแค่ไหน ?

ระยะเวลาในการรักษาด้วยเคมีบำบัด

ระยะเวลาการรักษาด้วยเคมีบำบัดขึ้นอยู่กับชนิดของโรค ระยะของโรค และการตอบสนองต่อยา โดยเฉลี่ยใช้เวลา 1-5 วันต่อชุด ทุก 3-4 สัปดาห์ โดยเฉลี่ยจะรักษาด้วยเคมีบำบัด 6-8 ชุด (ท่านสามารถสอบถามแผนการรักษาจากแพทย์) และควรมาให้ยาเคมีบำบัดตามนัดทุกครั้ง เพื่อผลการรักษาที่ดี

ต้องเตรียมตัวอย่างไรเมื่อต้องเข้ารับยาเคมีบำบัด ?

การเตรียมตัวก่อนได้รับยาเคมีบำบัด

  • ด้านร่างกาย

    • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผัก ผลไม้
    • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และเพิ่มการนอนพักในตอนกลางวันอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงต่อวัน
    • ถ้ามีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ต้องแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบ
  • ด้านจิตใจ

    • ควรทำอารมณ์ จิตใจ ให้พร้อมเข้ารับการรักษา
    • ลดความกลัว ความวิตกกังวล
    • มั่นใจในวิทยาการสมัยใหม่ ซึ่งสามารถลดอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
    • ถ้าท่านรู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเอง ควรปรึกษาแพทย์และพยาบาล

ต้องดูแลตนเองอย่างไรเมื่อได้รับเคมีบำบัด ?

  • การดูแลตนเองขณะรับเคมีบำบัด

    • สังเกตผิวหนังบริเวณที่ฉีดยา ถ้ารู้สึกปวด บวม แดง หรือสงสัยมียารั่วซึมออกนอกหลอดเลือด ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
    • ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยขับสารคมีที่อาจตกค้างในร่างกายออกทางปัสสาวะ
    • ถ้ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้แจ้งพยาบาลทันที เพื่อรับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

 

ได้รับเคมีบำบัดแล้วเกิดผลข้างเคียงต้องทำอย่างไร ?

  • การปฏิบัติตนเมื่อเกิดอาการข้างเคียงขณะและหลังรับยาเคมีบำบัด

    1. เบื่ออาหาร
    2. รับประทานอาหารที่ละน้อย ๆ แต่แบ่งเป็นหลาย ๆ มื้อ
    3. ดูแลความสะอาดของช่องปากและฟัน
    4. ควรออกกำลังกายเบา ๆ ก่อนมื้ออาหาร 5-10 นาที
  • ท้องเสีย

    1. งดอาหารประเภทหมักดอง
    2. รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย ไม่มีกาก
    3. ดื่มน้ำเกลือแร่เสริม
    4. ถ้าอาการไม่ทุเลา ต้องรีบแจ้งให้พยาบาลทราบเพื่อดำเนินการแก้ไข
  • อ่อนเพลีย ภาวะซีด

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น แป้ง เนื้อสัตว์ นม ไข่ ผัก ผลไม้
  2. พักผ่อนให้เพียงพอ เพิ่มการนอนพักกลางวันละ 1-2 ชั่วโมง
  • เยื่อบุช่องปากอักเสบ

  1. รักษาความสะอาดในช่องปาก แปรงฟันด้วยแปรงสีฟันขนนุ่ม ๆ บ้วนปากด้วยน้ำหรือน้ำเกลือบ่อย ๆ และหลังรับประทานอาหาร
  2. รับประทานอาหารอ่อน และดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงอาหารร้อนจัด รสจัด
  3. งดบุหรี่ เหล้า
  • ภูมิต้านทานต่ำ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย

  1. ดูแลรักษาความสะอาดทั่วไป
  2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชน เช่น โรงภาพยนตร์ ศูนย์การค้า
  3. หลีกเลี่ยงกับการใกล้ชิดกับบุคคลที่เป็นโรคติดต่อ เช่น ไข้หวัด วันโรค
  4. รับประทานอาหารที่สุก สะอาด งดผักสด
  5. สังเกตการติดเชื้อ เช่น มีไข้สูง เจ็บคอ ปัสสาวะแสบขัด หากมีอาการให้แจ้งแพทย์หรือพยาบาลทราบ
  • ผมร่วง

เคมีบำบัดบางชนิดทำให้ผมร่วงหมดศีรษะ แนะนำให้ชื่อวิกผมมมาใส่ช่วงที่ได้รับยาเดมีบำบัด เมื่อจบการรักษาผมจะงอกขึ้นมาเป็นปกติ

โปรตระลึกไว้เสมอว่า อาการข้างเคียงเหล่านี้อาจเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ ถ้าเกิดขึ้นจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหยุด การรักษาอาการต่างๆ ก็จะหายไป

การปฏิบัติตนเมื่อกลับบ้าน

  • ท่านควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปอีกประมาณ 1 เดือนเพื่อลดภาวะแทรกช้อนที่อาจเกิดขึ้น
  • กรณีมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียนมาก ท้องเสียรุนแรง มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกจากอวัยวะต่าง ๆ ก่อนถึงวันนัดครั้งต่อไป ให้ติดต่อเพื่อนัดพบแพทย์ก่อนวันนัดเดิม
  • กรณีไม่มีอาการผิดปกติควรมาตรวจสม่ำเสมอตามวันนัด

 

ข้อมูลอ้างอิง : American Cancer Society. Chemotherapy. Available from : https://www.cancer.org/cancer/managing-cancer/treatment-types/chemotherapy.html [Accessed September 2019].

 

คลิกขอคำปรึกษา



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็งพิษณุเวช ฮอไรซัน

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520101, 520102

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็ง 5 อันดับ ที่พบบ่อยในผู้หญิง

โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย  ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็ง 5 อันดับ ที่พบบ่อยในผู้หญิง

โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย  ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

28 พฤษภาคม 2567

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer)

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer) เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในกระเพาะปัสสาวะที่มีการเจริญเติบโตแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์อย่างรวดเร็วและมากผิดปกติ จนกลายเป็นก้อนเนื้องอก และก้อนเนื้องอกนี้สามารถเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจเต็มกระเพาะปัสสาวะ ลุกลามไปยังอวัยวะและต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง และแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้ หากตรวจพบโรคได้เร็วก็จะมีโอกาสหายได้สูง อย่างไรก็ตาม แม้จะตรวจพบได้ในระยะแรกและรักษาหายแล้ว แต่มะเร็งกระเพาะปัสสาวะก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูงเช่นกัน ในประเทศไทย มะเร็งกระเพาะปัสสาวะเป็นมะเร็งที่พบมาก 1 ใน 10 อันดับแรก ของมะเร็งที่พบมากในเพศชาย โดยพบมากในช่วงอายุ 50-70 ปี

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

28 พฤษภาคม 2567

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer)

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Cancer) เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในกระเพาะปัสสาวะที่มีการเจริญเติบโตแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์อย่างรวดเร็วและมากผิดปกติ จนกลายเป็นก้อนเนื้องอก และก้อนเนื้องอกนี้สามารถเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจเต็มกระเพาะปัสสาวะ ลุกลามไปยังอวัยวะและต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง และแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้ หากตรวจพบโรคได้เร็วก็จะมีโอกาสหายได้สูง อย่างไรก็ตาม แม้จะตรวจพบได้ในระยะแรกและรักษาหายแล้ว แต่มะเร็งกระเพาะปัสสาวะก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูงเช่นกัน ในประเทศไทย มะเร็งกระเพาะปัสสาวะเป็นมะเร็งที่พบมาก 1 ใน 10 อันดับแรก ของมะเร็งที่พบมากในเพศชาย โดยพบมากในช่วงอายุ 50-70 ปี

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

03 สิงหาคม 2567

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยอันดับ 1 ในผู้หญิงทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจของผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดความกังวลกับภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปและส่งผลกระทบต่อจิตใจในการใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องพบปะผู้คนของผู้ป่วยเหล่านี้เป็นอย่างมาก การรักษามะเร็งเต้านมนอกจากจะมุ่งหวังรักษาให้หายจากโรคได้แล้ว ยังมุ่งหวังช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเพื่อให้ได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจ รวมถึงมีสุขภาพจิตใจและชีวิตที่ดีขึ้นอีกครั้ง

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

03 สิงหาคม 2567

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยอันดับ 1 ในผู้หญิงทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจของผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดความกังวลกับภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปและส่งผลกระทบต่อจิตใจในการใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องพบปะผู้คนของผู้ป่วยเหล่านี้เป็นอย่างมาก การรักษามะเร็งเต้านมนอกจากจะมุ่งหวังรักษาให้หายจากโรคได้แล้ว ยังมุ่งหวังช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเพื่อให้ได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจ รวมถึงมีสุขภาพจิตใจและชีวิตที่ดีขึ้นอีกครั้ง

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม