Header

มะเร็งเต้านม

03 สิงหาคม 2567

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบบ่อยอันดับ 1 ในผู้หญิงทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจของผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดความกังวลกับภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปและส่งผลกระทบต่อจิตใจในการใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องพบปะผู้คนของผู้ป่วยเหล่านี้เป็นอย่างมาก การรักษามะเร็งเต้านมนอกจากจะมุ่งหวังรักษาให้หายจากโรคได้แล้ว ยังมุ่งหวังช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเพื่อให้ได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจ รวมถึงมีสุขภาพจิตใจและชีวิตที่ดีขึ้นอีกครั้ง

มะเร็งเต้านม เกิดจาก?

มะเร็งเต้านม เกิดจากเซลล์ภายในเต้านมมีการแบ่งตังตัวอย่างผิดปกติ โดยที่เซลล์มะเร็งจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว และโตขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นก้อนใหญ่ให้คลำได้ และหากไม่ได้รับการรักษา เซลล์มะเร็งจะลุกลามไปบริเวณอวัยวะใกล้เคียง คือ ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ และ เข้าสู่หลอดเลือด ทางเดินน้ำเหลือง และกระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ เช่น กระดูก ปอด ตับ หรืออวัยวะสำคัญอื่น ๆ และเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด

มะเร็งเต้านมมีกี่ระยะ

มะเร็งเต้านม แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

  1. ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กกว่า 2 ซม. และ ไม่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
  2. ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2 - 5 ซม. และ / หรือมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ข้างเดียวกัน
  3. ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหม่กว่า 5 ซม. แพร่กระจะจายไปยังต้องน้ำเหลืองที่รักแร้ข้างเดียวกัน จนทำให้ต่อมน้ำเหลืองเหล่านั้นรวมติดกันเป็นก้อนใหญ่ หรือติดแน่นกับอวัยวะข้างเคียง
  4. ระยะที่ 4 ก้อนมะเร็งมีขนาดโตเท่าไหรก็ได้ แต่มีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย ที่อยู่ไกลออกไป เช่น กระลูก ปอด ตับ หรือสมอง เป็นต้น

มะเร็งต้านมในระยะเริ่มแรก คือ ระยะที่ 1 ระยะ 2 หรือในระที่ 3 แต่หากมีการกระจายไปยังอวัยวะอื่นนอกจากต่อมน้ำเหลืองแล้ว จะเป็นมะเร็งเต้านมระยะที่ 4

มะเร็งเต้านมในระยะที่ยังไม่ลุกลาม (Carcinoma in Situ) จะเรียกมะเร็งเต้านมในระยะนี้ว่าเป็น มะเร็งเต้านม ระยะที่ 0 โดยที่มะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกนี้ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยสามารถมีอัตราการอยู่รอดเกิน 5 ปี สูงถึง 70 - 90%

อาการมะเร็งเต้านม

ในประเทศไทย พบว่าผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมส่วนมากจะมาพบแพทย์ด้วยปัญหาก้อนที่เต้านม ซึ่งอาจมีขนาดของก้อนมะเร็งแตกต่างกันไป

สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม

อาการผิดปกติอย่างอื่นของเต้านมที่ควรมาพบแพทย์

  1. การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณหน้าอก เช่น มีรอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติคล้ายเปลือกส้ม หรือบางส่วนเกิดเป็นสะเก็ด
  2. มีความเปลี่ยนแปลงของหัวนม เช่น มีการหดตัว ห้วนมบอด คันหรือแดงผิดปกติ เลือดออกทางหัวนม อาการเจ็บเต้านม หรือมีก้อนที่รักแร้

อย่างไรก็ตาม การพบก้อนที่เต้านมไม่ได้หมายความจะเป็นมะเร็งสมอไป ดังนั้นหากคลำพบก้อนที่เต้านม อย่าได้นิ่งนอนใจหรือปล่อยไว้ ไม่ต้องรอให้มีอาการเจ็บหรือปวด ควรรีบพบแพทย์รับการตราจวินิจฉัยโดยเร็ว เพื่อรักษาตามความเหมาะสม

7 สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม

การรักษามะเร็งเต้านม

การรักษามะเร็งเต้านมที่ได้ผลดี และเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันมีอยู่ 5 วิธี คือ

  1. การผ่าตัด
  2. การฉายแสง (รังสีรักษา)
  3. ยาต้านฮอร์โมน
  4. ยาเคมีบำบัด
  5. การรักษาโดยยาที่ออกฤทธิ์จำเพาะ

มะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก ส่วนใหญ่รักษาโดยการผ่าตัดเป็นอันดับแรก และส่วนมากต้องการรักษาวิธีอื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อเสริมให้ผลการรักษาดีขึ้น

แพทย์อาจเลือกใช้วิธีการรักษาโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือจะใช้การรักษาหลาย ๆ อย่างร่วมกัน เพื่อเป้าหมายให้หายขาดจากโรคได้ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ที่เป็น

การผ่าตัด

เป็นวิธีการรักษาหลัก สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การผ่าตัดเต้านมและการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้

1. การผ่าตัดเต้านม

  • การตัดเต้านมออกทั้งเต้า คือ การผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งหมด (รวมผิวหนังส่วนที่อยู่เหนือก้อนมะเร็งและหัวนมด้วย)
  • การตัดเต้านมออกเพื่องบางส่วน คือ การตัดก้อนมะเร็งและเนื้อของเต้านมปกติที่อยู่รอบ โดยตัดห่างจากขอบของก้อนมะเร็งประมาณ 1-2 ซม. โดยมากจะยังคงเหลือหัวนม ฐานหัวนม และส่วนใหญ่ของนี้อเต้านม มักเลือกใช้วิธีนี้ในรายที่ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็ก มีมะเร็งเพียงตำแหน่งเดียว

2. การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้

  • การผ่าตัดต่อมน้ำหลืองที่รักออกทั้งหมด ซึ่งได้ประโยชน์ในการควบคุมโรค แต่อาจทำให้เกิดภาวะแขนบวมได้มาก
  • การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองบางส่วน ในกรณีที่ยังไม่มะเร็งลามไปยังต่อมน้ำเหลือง

ซึ่งการพิจารณาว่าจะผ่าตัดด้วยวิธีใด ขึ้นอยู่กับระยะของโรคมะเร็ง ขนาดของก้อนมะเร็ง และสภาพร่างกายของผู้ป่วย

3. การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านม

คือ การผ่าตัดเพื่อนำเนื้อเยื่อที่บริเวนอื่นของร่างกาย หรือใช้วัสดุเพื่อเสริมหรือสร้างเต้านมใหม่ ช่วยให้ผู้ป่วยได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจ การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมสามารถทำได้พร้อมกับการผ่าตัดรักษามะเร็ง หรือทำภายหลังจากการรักษาษามะเร็งเต้านมเสร็จสิ้นทั้งหมดไปแล้วก็ได้ โดยการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมจะไม่เกิดผลเสียใด ๆ ต่อการรักษามะเร็งเต้านมแต่อย่างใด ทั้งนี้แพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสมขึ้นกับระยะยะของโรค ขนาด ตำแหน่งของมะเร็ง ความพร้อมของผู้ป่วย

4. การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

คือ การใช้ยาที่มีคุณสมบัติในการทำลายหรือยับยับยังการเจริญโตของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยาเคมีบำบัดนั้นสามารถออกฤทธิ์ได้ทั่วร่างกาย นอกจากจะทำลายเซลล์มะเร็งแล้ว ยังอาจมีผลต่อเซลล์ปกติด้วย เช่น ไขกระดูก (ซึ่งเป็นตัวสร้างเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด) เยื่อบุทางเดินอาหาร เส้นผมและขน เซลล์รังไข่ ทำให้เกิดผลข้างเคียงกับอวัยวะอื่นได้ แต่เนื่องจากเซลล์ปกติจะมีคุณสมบัติที่สามารถสร้างเซลล์ไหมขึ้นมาทดแทนได้ ดังนั้นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นก็มักจะเกิดเพียงชั่วคราว เมื่อการรักษาทุกอย่างจบสิ้นแล้วก็จะกลับมาใกล้เคียงปกติได้

ในปัจจุบันจะให้ยาเคมีบำบัดหลาย ๆ ชนิดร่วมกัน เพราะให้ผลการรักษาดีกว่าการให้ยาเพียงชนิดเดียว ร่วมกับการให้ยาที่ช่วยลดผลข้างเคีองจากยาเคมีบำบัดลงด้วย นอกจากนี้การให้ยามักจะเว้นระยะห่างางตั้งแต่ประมาณ 1 - 3 หรือ 4 สัปดาห์ ตามแต่สูตรของยาที่แพทย์เลือกใช้ เพื่อให้ร่างกายผู้ป่วยได้รับการพักและพร้อมที่จะรับยาในครั้งต่อไป

ยาเคมีบำบัดแต่ละชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการตอบสนลงต่อยาของผู้ป่วย ขนาด และซนิดของของยาที่ใช้ มีตั้งแต่ไม่มีอาการเลย มีอาการเพียงเล็กน้อย หรือมีอาการค่อนข้างรุนแรง แต่ผลข้างเคียงส่วนใหญ่มักจะเป็นเฉพาะในวันที่ได้รับยาหรือหลังจากนั้นอีกแค่ 2 - 3 วัน หลังจากนั้นอาการจะค่อย ๆ หายไป

5. การรักษาโดยการฉายแสง (รังสีรักษา)

คือ การใช้อนุภาครังสีที่มีพลังงานสูงเพื่อไปหยุดยั้งการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง รังสีนี้จะไปทำลายทั้งเซลล์มะเร็งและเซลล์ปกติที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากเซลล์มะเร็งเป็นเซลล์ที่มีการแบ่งตัวตัวเร็วมาก ดังนั้นจึงจะถูกทำลายมากกว่า และนอกจากนั้นเซลล์ปกติยังมีคุณสมบัติที่จะสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์ที่ถูกทำทำลายไปแล้วได้ จึงทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ยังคงรูปร่างและทำงางานได้ตามปกติ การรักษามะเร็งเต้านมมักจะใช้การฉายแสงร่วมกับการผ่าตัด

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยยาต้านฮอร์โมน

เนื่องจากการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมบางชนิดจะถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนเพศหญิง “แอสโตรเจน” ดังนั้นก่อนให้ยาต้านฮอร์โมน แพทย์จะตรวจก่อนว่า เซลล์มะเร็งเซลล์นั้นเป็นชนิดที่มีตัวรับฮอร์โมนหรือไม่ ถ้าเป็นผลบวกก็เป็นตัวช่วยชี้เป็นแนวทางว่าสมควรที่จะรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมน โดยจะให้รับประทานยาต้านฮอร์มนต่อเนื่องกันประมาณ 5-10 ปี แล้วแต่ระยะของโรคที่เป็น

ยาต้านฮอร์โมนแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่

  1. ยาที่ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน สามามารถใช้ได้ทั้งในผู้ที่ยังมีประจำเดือนอยู่หรือหมดประจำเดือนแล้ว ผลข้างเคียงของยา คือ อาจมีผลทำให้เกิดเลือดออกกระปริบกระปรอยทางช่องคลอดได้
  2. ยาที่ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการสร้างฮอร์โมน ยาในกลุ่มนี้สามารถใช้ได้เฉพาะในผู้ที่หมดประจำเดือนแล้ว ผลข้างเคียง ที่พบ่อย คือ อาจทำให้กระดูกบาง และมีอาการปวดตามข้อได้ แต่ยาต้านฮอร์โมนไม่มีผลทำให้ผมร่วง คลื่นไส้ อาเจียน หรือเม็ดเลือดขาวต่ำแต่อย่างใด

การรักษาด้วยยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเพื่อรักษามะเร็งเต้านม

ยาในกลุ่มนี้เป็นยากลุ่มใหม่ เช่น ยาต้านเฮอร์ทู ซึ่งมีกลโกการอกฤทธิ์แตกต่างจากยากลุ่มเดิม ๆ ซึ่งเซลล์มะเร็งเต้านมบางชนิดจะมีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูอยู่ที่ผิวเซลล์ จึงสามารถใช้ยาเพื่อเข้าไปจับกับตัวรับสัญญาณนี้ และให้ยาออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งได้ ดังนั้นเซลล์อื่น ๆ ที่ไม่มีตัวรับสัญญาณก็จะไม่ได้รับผลกระทบจากยากลุ่มนี้

แต่ถึงแม้ว่ายาในกลุ่มนี้จะเป็นยาที่มีประสิทธิภาพดี รักษาได้ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง มีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาเคมีบำบัด แต่ก็มีข้อจำกัด คือ สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยบางรายเท่านั้น และมีราคาแพง

 

ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม เหมาะกับใคร? ควรตรวจเมื่อไหร่?

  • มะเร็งเต้านม พบมากในอายุ 40 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
  • การตรวจแมมโมแกรมทุกปี ทำให้พบความผิดปกติ และวินิจฉัยโรคมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรก จะมีโอกาสรักษาหาย อัตราการรอดชีวิตสูง

ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม

คำแนะนำการตรวจแมมโมแกรม

กรณีไม่มีอาการ คลำไม่ได้ก้อน

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงปกติ แนะนำตรวจแมมโมแกรมร่วมกับอัลตร้าซาวด์เต้านม ที่อายุ 40 ปี จากนั้นแนะนำตรวจทุก 1 ปี
  • ในผู้ที่มีความเสี่ยงหรือญาติเป็นมะเร็งเต้านม แนะนำตรวจแมมโมแกรมร่วมกับอัลตร้าซาวด์เต้านม ตามอายุญาติที่เป็นมะเร็งเต้านม ลบด้วย 10 ปี แต่ไม่แนะนำตรวจในผู้ที่อายุน้อยกว่า 30 ปี
  • ผู้ที่มีประวัติฉายแสงบริเวณทรวงอก แนะนำตรวจแมมโมแกรมร่วมกับอัลตร้าซาวด์เต้านม หลังโดนฉายแสง 8 ปี
  • กรณีคลำได้ก้อน
  • อายุ 30 ปีขึ้นไป แนะนำตรวจแมมโมแกรมร่วมกับอัลตร้าซาวด์เต้านม
  • อายุ น้อยกว่า 30 ปี แนะนำตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมอย่างเดียว

 

หากมีคำถาม ข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม โปรดปรึกษาแพทย์

คลิกขอคำปรึกษา

 

ที่มา : โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็งพิษณุเวช ฮอไรซัน

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520101, 520102

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์มะเร็งพิษณุเวช ฮอไรซัน

พญ.วีรนุช รัตนเดช

อายุรแพทย์โรคมะเร็ง

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็ง 5 อันดับ ที่พบบ่อยในผู้หญิง

โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย  ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็ง 5 อันดับ ที่พบบ่อยในผู้หญิง

โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย  ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
5 มะเร็งยอดฮิต พบบ่อยในคนไทย

5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในชายไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง 5 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิง จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่า โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
5 มะเร็งยอดฮิต พบบ่อยในคนไทย

5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในชายไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง 5 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิง จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่า โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม