Header

ดูตัวเองอย่างไร? หลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม

ดูตัวเองอย่างไร? หลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม

มะเร็จเต้านม เกิดจากเซลล์ภายในเต้านมมีการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ โดยที่เชลล์มะร็งจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว และโตขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นก้อนใหญ่ให้คลำได้ และหากไม่ได้รับการรักษา เซลล์มะเร็งจะลุกลามไปบริเวณอวัยวะใกล้เคียง คือ ต่อมน้ำหลืองที่รักแร้ และ เข้าสู่หลอดเลือด ทางเดินน้ำเหลือง และกระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ เช่น กระดูก ปอด ตับ หรืออวัยวะสำคัญอื่น ๆ และเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด

การรักษามะเร็งเต้านม

การรักษามะเร็งเต้านมที่ได้ผลดี และเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันมีอยู่ 5 วิธี คือ

  1. การผ่าตัด
  2. การฉายแสง (รังสีรักษา)
  3. ยาต้านฮอร์โมน
  4. ยาเคมีบำบัด
  5. การรักษาโดยยาที่ออกฤทธิ์จำเพาะ

การผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาหลัก สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การผ่าตัดเต้านม และการผ่าตัดต่อมน้ำหลืองที่รักแร้

หลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม ควรดูแลตนเองแบบไหน ?

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเต้านม และ / หรือ เลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล

การดูแลแผล

  1. โดยปกติแผลผ่าตัดเต้านมจะเย็บด้วยไหมละลาย และไม่จำเป็นต้องตัดไหม และมักปิดแผลแบบกันน้ำไว้ ไม่จ๋าเป็นต้องมาทำแผล
  2. หากปิดแผลแบบกันน้ำไว้ สามารถอาบน้ำได้ แต่อย่าถู เนื่องจากอาจทำให้ที่ปิดกันน้ำหลุดและน้ำเข้าแผลได้
  3. หากน้ำเข้าแผล หรือแผลแฉะ ควรเปลี่ยนแผล และให้แพทย์ดูแผล
  4. ในกรณีที่ปิดแผลแบบธรรมดา ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ และมาทำแผลตามกำหนดนัด

ท่อระบายของเสียและน้ำเหลือง

  1. โดยปกติแล้วศัลยแพทย์จะใส่ท่อระบายของเสียและนำเหลืองไว้ เพื่อป้องกันการคั่งค้างของเลือด และน้ำเหลือง จำนวน 2 เส้น ท่อระบายนี้จะต่อลงขวด
  2. ท่อระบายเส้นแรก จะวางไว้ที่ผนังทรวงอก และมักจะถอดออกก่อนกลับบ้าน
  3. ท่อระบายเส้นที่สอง จะวางไว้ที่รักแร้ เพื่อระบายน้ำเหลืองที่คั่งค้างและที่ออกเพิ่มจากท่อน้ำเหลืองเล็ก ๆ ที่รักแร้ น้ำเหลืองนี้จะค่อย ๆ ลดลง จนหลือน้อยกว่า 25 มิลลิลิตร จึงสามารถเอาออกได้โดยไม่ทำให้มีน้ำเหลืองคั่งค้าง
  4. ในบางกรณี ท่อระบาย อาจจะต้องนำกลับบ้านไปด้วยหลังผ่าตัด โดยแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลและจดปริมาณของของเสียที่ออกเพิ่มในแต่ละวัน แพทย์และพยาบาลจะสอนวิธีดูว่าท่อและขวดระบายยังทำงานอยู่หรือไม่
  5. อย่าลืมนำใบบันทึกปริมาณของเสียที่ออกในแต่ละวันมาด้วย ในวันที่มาพบแพย์ตามกำหนดนัด

หากมีอาการผิดปกติ ควรทำอย่างไร ?

ควรติดต่อโรงพยาบาล หรือมาพบแพทย์ก่อนกำหนดนัด หากมีอาการดังนี้

  1. ปวดแผลมากขึ้น แม้จะกินยาลดปวดที่ทางโรงพยาบาลให้ไปแล้ว
  2. แผลบวม แดง อักเสบ มีหนองหรือเลือดซึมจากแผล
  3. มีไข้
  4. ท่อระบาย และขวดระบายหนอง ไม่ทำงาน หรือ อุดตัน
  5. มีการบวมพองขึ้นที่แผลหรือ ที่รักแร้ หลังจากถอดท่อระบายไปแล้ว

เมื่อกลับบ้านแล้วสามารถทำอะไรได้บ้าง ?

กิจวัตรประจำวันและการออกกำลังกาย

  1. สามาถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติเท่าที่ทำได้
  2. การเดิน เป็นการออกกำลังกายที่ดีและเหมาะสม
  3. ก่อนกลับบ้าน นักกายภาพจะสอนวิธีกายบริหาร ไหล่และแขนในข้างที่ผ่าตัด เพื่อลดภาวะแขนและไหล่ติด
  4. โดยปกติแล้ว ควรงดเว้นการยกของหนัก ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก หลังการผ่าตัด
  5. งดขับรถจนกว่าจะไม่ปวดแผลแล้ว

ถ้าปวดแผลจะทำอย่างไร ?

การระงับปวดและข้อควรระวังเกี่ยวกับยาลดปวด

  1. หลังจากกลับบ้านจะได้รับยาลดปวด กลับไปด้วย
  2. อาจมีอาการปวดแผลและรู้สึกว่ายังเหลือเต้านมข้างที่ตัดออกไปได้
  3. อาจมีอาการชาหรือที่รู้สึกหนัก ๆ ที่ท้องแขน ข้างที่ผ่าตัด ซึ่งอาการมักเกิดจากเส้นประสาทได้รับการบาดเจ็บหรือถูกตัดขาดในระหว่างการผ่่าตัด ซึ่งอาการนี้จะค่อย ๆ หายไปได้เอง ใน 3-6 เดือน
  4. หากมีอาการปวดแผลและได้รับยาลดปวด ซึ่งยาอาจมีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม และท้องผูก ควรหลีกเลี่ยงการขับรถ หรือทำงานใกล้เครื่องจักร งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

คลิกขอคำปรึกษา

 

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์