Header

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง

นพ.หลักชัย วิชชาวุธ นพ.หลักชัย วิชชาวุธ

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง

หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องปกติมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2 เซ็นติเมตร ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกาย เพศและเชื้อชาติเป็นหลัก โดยหน้าที่ของหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องทำหน้าที่รับเลือดแดงจากหัวใจเพื่อแจกจ่ายไปตามอวัยวะต่างๆในช่องท้อง อุ้งเชิงกรานและขาทั้ง 2ข้าง ทำให้เป็นหลอดเลือดที่มีเลือดไหลผ่านเป็นปริมาณมาก อีกทั้งยังต้องรับเลือดแดงโดยตรงจากหัวใจทำให้ผนังหลอดเลือดดังกล่าวต้องรับการเปลี่ยนแปลงความดันตามจังหวะชีพจรตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ในคนปกติที่ไม่มีหน้าท้องหนามากนักก็อาจสามารถคลำเส้นเลือดดังกล่าวบริเวณระหว่างลิ้นปี่และสะดือเต้นตามจังหวะชีพจรเวลาที่นอนราบได้

สาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง

คือการอ่อนแอลงของผนังหลอดเลือดดังกล่าว โดยมักเป็นผลจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดดังกล่าวจากอายุที่เพิ่มขึ้น การสูบบุหรี่ การมีโรคทางกรรมพันธุ์บางอย่าง รวมไปถึงการติดเชื้อโดยตรงที่ผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอและโป่งออกจากแรงดันของชีพจร

หากไมได้รับการเฝ้าระวังรักษา หลอดเลือดดังกล่าวอาจขยายขนาดขึ้นตามเวลาและแตกกระทั่งถึงแก่ชีวิตได้ จึงมีคำแนะนำให้ผู้ป่วยเพศชายอายุมากว่า 65 ปี หรือมีประวัติสูบบุหรี่มายาวนานควรรับการตรวจคัดกรองด้วยการอัลตร้าซาวน์อย่างน้อย 1ครั้ง เพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคดังกล่าวโดยไม่รู้ตัว

โดยมากเมื่อเป็นโรคหลอดเลือดดังกล่าวมักจะขยายขนาดขึ้นเรื่อยๆโดยไม่มีอาการอะไร โดยมากมักพบโดยบังเอิญจากการตรวจโรคอื่น หรืออาจคลำพบก้อนเต้นได้บริเวณท้องระหว่างลิ้นปี่และสะดือเองในผู้ป่วยบางราย แต่ก็อาจมีอาการได้ เช่น ปวดท้องรุนแรงร้าวทะลุหลัง ขาขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การตรวจคัดกรองจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

การรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง

  1. การงดสูบบุหรี่
  2. การป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  3. การตรวจเฝ้าระวังการขยายขนาดหลอดเลือดด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดเลือดไม่ถึงระดับที่จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
  4. การผ่าตัด ซึ่งขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดเลือดที่ต้องเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดในเพศชายคือตั้งแต่ 5.5เซ็นติเมตรขึ้นไป และตั้งแต่ 5เซ็นติเมตรขึ้นไปในเพศหญิง

การรักษาโรคหลอดเลือดแดงในช่องท้องโป่งพองทำได้โดยการผ่าตัดทำได้โดย

  1. ผ่าตัดผ่านสายสวนเข้าหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ (EVAR - EndoVascular Aneurysm Repair) ซึ่งช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเปิดช่องท้องเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดในผู้สูงอายุและมักมีประวัติสูบบุหรี่มานาน
  2. การผ่าตัดรักษาผ่านทางหน้าท้อง (OSR - Open Surgical Repair) คือ การผ่าตัดผ่านหน้าท้องเพื่อเข้าไปเพื่อซ่อมแซมหลอดเลือดแดงที่โป่งพองด้วยหลอดเลือดเทียม

การเลือกวิธีรักษาแต่ละแบบนั้นจะขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของผู้ป่วย โรคร่วม ลักษณะและตำแหน่งของการโป่งพอง เพื่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดน้อยที่สุดและเกิดความคงทนของการรักษามากที่สุด

ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง

  1. ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
  2. ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นระยะเวลายาวนานทั้งที่ยังสูบอยู่หรือเลิกไปแล้ว
  3. ผู้ที่สงสัยว่าตนเองอาจจะมีหลอดเลือดโป่งพองในช่องท้อง เช่น คลำก้อนเต้นได้ตามจังหวะชีพจรบริเวณหน้าท้อง

 

 

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ศัลยกรรม

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกกุมารเวช

ศูนย์ฉุกเฉินและอุบัติเหตุ

พญ.ณัฐชยา รอดแป้น

แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป

แผนกอายุรกรรม

นพ.ธีระชัย ธรรมาธิวัฒน์

อายุรแพทย์โรคไต

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

27 พฤษภาคม 2567

สูบบุหรี่ พฤติกรรมร้าย ทำลายหัวใจ

เสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยส่วนใหญ่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุที่สำคัญ ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเสียชีวิตจากหัวใจวาย ในอายุประมาณ 30-40 ปี ซึ่งสูงกว่าผู้ไม่สูบถึง 5 เท่า สารพิษในควันบุหรี่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดทั่วร่างกาย

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

27 พฤษภาคม 2567

สูบบุหรี่ พฤติกรรมร้าย ทำลายหัวใจ

เสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยส่วนใหญ่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุที่สำคัญ ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเสียชีวิตจากหัวใจวาย ในอายุประมาณ 30-40 ปี ซึ่งสูงกว่าผู้ไม่สูบถึง 5 เท่า สารพิษในควันบุหรี่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดทั่วร่างกาย

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

25 มิถุนายน 2567

มะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นหนึ่งในมะเร็งที่เป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย รายงานล่าสุดจากองค์การอนามัยโลกในปี ค.ศ.2022 พบผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารรายใหม่ จำนวน 968,365 คน และพบผู้เสียชีวิตจากมะเร็งกระเพาะอาหารถึง 659,805 คน

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

25 มิถุนายน 2567

มะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นหนึ่งในมะเร็งที่เป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย รายงานล่าสุดจากองค์การอนามัยโลกในปี ค.ศ.2022 พบผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารรายใหม่ จำนวน 968,365 คน และพบผู้เสียชีวิตจากมะเร็งกระเพาะอาหารถึง 659,805 คน

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

24 พฤศจิกายน 2566

ภาวะสมองเสื่อม

สมองเสื่อม คือ ภาวะที่มีการสูญเสียความสามารถทางสมอง เช่น ความจำ การรับรู้ ความเข้าใจ การใช้ภาษา ทิศทาง การใช้เหตุผล และการแก้ปัญหา มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและบุคลิกภาพ โดยมีผลกระทบต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันและการเข้าสังคม

พญ.พรสวรรค์ เพียรสวรรค์ พญ.พรสวรรค์ เพียรสวรรค์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

24 พฤศจิกายน 2566

ภาวะสมองเสื่อม

สมองเสื่อม คือ ภาวะที่มีการสูญเสียความสามารถทางสมอง เช่น ความจำ การรับรู้ ความเข้าใจ การใช้ภาษา ทิศทาง การใช้เหตุผล และการแก้ปัญหา มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและบุคลิกภาพ โดยมีผลกระทบต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันและการเข้าสังคม

พญ.พรสวรรค์ เพียรสวรรค์ พญ.พรสวรรค์ เพียรสวรรค์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม