Header

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Permanent Pacemaker) ตัวช่วยรักษาหัวใจ

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Permanent Pacemaker)

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Permanent Pacemaker)

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Permanent Pacemaker) เป็นหัตถการทางการแพทย์เพื่อฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไปในผนังหน้าอกใต้ผิวหนังเพื่อกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ ช่วยแก้ไขจังหวะการเต้นของหัวใจที่เต้นช้าหรือการเต้นไม่สม่ำเสมอ โดยจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังหัวใจห้องที่ทำงานผิดปกติ เพื่อช่วยให้หัวใจเต้นเร็วพอที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ

ชนิดของการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ

แพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งมี 2 วิธี คือ

  • การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจแบบใส่สายสื่อสัญญาณที่เยื่อบุหัวใจ (Endocardial Lead Placement)
  • การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจแบบติดสายสื่อสัญญาณที่เยื่อบุหัวใจ (Epicardial Lead Placement)

ส่วนประกอบของเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ

  • ตัวเครื่องส่งสัญญาณไปกระตุ้นหัวใจ
  • สายสื่อสัญญาณไฟฟ้า
  • แบตเตอรี่

การทำงานของเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจจะทำงานโดย ตัวเครื่องส่งสัญญาณจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจให้เต้นในจังหวะที่เร็วขึ้น สายสื่อสัญญาณไฟฟ้าจะเป็นตัวรับและส่งสัญญาณระหว่างตัวเครื่องกับหัวใจ

  • เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดถาวร (Automated Implantable Cardioverter-Defibrillator, AICD)
  • เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดถาวร (Automated Implantable Cardioverter-Defibrillator, AICD) เป็นอุปกรณ์ที่ฝังในร่างกายเพื่อตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจตลอดเวลา และปล่อยไฟฟ้ารักษาในทันทีที่พบหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดจังหวะชนิดอันตรายแก่ชีวิต (VT / VF) เพื่อช่วยให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นจังหวะปกติ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยกระตุ้นหัวใจในกรณีที่พบหัวใจเต้นช้ากว่าปกติได้อีกด้วย เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดถาวรไม่ได้ช่วยเรื่องการบีบตัวของหัวใจหรือช่วยให้ภาวะหัวใจล้มเหลวดีขึ้น

ข้อบ่งชี้ของการใส่เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดถาวร

  • ผู้ที่มีประวัติรอดชีวิตจากหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดจังหวะ(VT / VF)
  • ผู้ที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนมาก แม้ไม่เคยมีประวัติหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดจังหวะก็ตาม เพื่อเป็นการป้องกัน

ส่วนประกอบของเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดถาวร

  • ตัวเครื่อง มีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของขนาดฝ่ามือ ที่แพทย์จะผ่าตัดฝังไว้บริเวณหน้าอกซ้ายใต้ชั้นไขมัน (บางกรณีอาจจะพิจารณาฝังบริเวณหน้าอกขวา)
  • ตัวสาย จะต่อจากเครื่องผ่านเข้าสู่เส้นเลือดดำใหญ่บริเวณรักแร้หรือไหปลาร้าเข้าไปฝังปลายสายในผนังหัวใจ
  • แบตเตอรี่

ขั้นตอนการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง)

การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจแบบใส่สายสื่อสัญญาณที่เยื่อบุหัวใจ

แพทย์จะใส่สายสื่อสัญญาณไฟฟ้าซึ่งเป็นสายไฟที่มีฉนวนหุ้มเข้าไปยังหัวใจผ่านทางหลอดเลือดดำ เมื่อสายสื่อสัญญาณข้าไปถึงหัวใจแล้ว จะวางปลายอีกด้านหนึ่งของสายสื่อบนกล้ามเนื้อหัวใจ โดยดูจากภาพเอกซเรย์หัวใจเพื่อช่วยให้วางตำแหน่งที่ถูกต้อง จากนั้นจะฝังเครื่องส่งสัญญาณไว้ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอกของผู้ป่วยใต้กระดูกไหปลาร้าด้านซ้ายหรือขวาตามความเหมาะสม แล้วต่อเครื่องส่งสัญญาณและสายสื่อเข้าด้วยกัน ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่ามีแรงกดเล็กน้อยระหว่างที่ใส่สายสื่อสัญญาณและตัวเครื่องส่งสัญญาณเข้าไปในร่างกาย เมื่อใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะตรวจสอบจากภาพเอกซเรย์หัวใจ เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องและสายสื่ออยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจแบบติดสายสื่อสัญญาณที่เยื่อบุหัวใจ วิธีนี้จะมีการดมยาสลบเพื่อผ่าตัดเปิดช่องอกเพื่อติดสายสื่อสัญญาณที่เยื่อหุ้มหัวใจโดยตรง และใส่เครื่องส่งสัญญาณไว้ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้องหรืออาจฝังไว้ที่หน้าอกก็ได้ ซึ่งปัจจุบันไม่นิยมใช้วิธีนี้แล้ว

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยก่อนใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ / เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ

  1. งดน้ำและอาหารตามแพทย์สั่ง
  2. งดยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ตามแพทย์สั่ง
  3. งดยาเบาหวาน และยาฉีดอินซูลินในเช้าวันนัด
  4. นำยาที่รับประทานเป็นประจำทั้งหมดมาด้วย
  5. แจ้งยาที่แพ้ หรือสารทึบรังสีที่เคยแพ้
  6. นำญาติสายตรงมาด้วย 1 คน เพื่อร่วมฟังผลการตรวจ (ถ้าไม่มีญาติสายตรงมาด้วย ให้ประสานเจ้าหน้าที่เพื่อทำการเลื่อนนัด)
  7. ภายหลังการตรวจ ผู้ป่วยต้องนอนสังเกตอาการนาน 6 - 24 ชม. ในโรงพยาบาล

การปฏิบัติตัวหลังใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ / เครื่องกระตุกหัวใจ

  • ภายหลังจากที่ผู้ป่วยรู้สึกตัว อาจมีอาการเวียนศีรษะ และคลื่นไส้อาเจียน แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ และภายหลังจากนอนพักอาการจะทุเลาลง
  • รับประทานยาฆ่าเชื้อให้ครบตามแพทย์สั่ง
  • การปฏิบัติตนเรื่องการใช้แขน
    • ใน 7 วันแรก ไม่ให้ยกแขนด้านเดียวกับที่ใส่เครื่อง โดยจะมีสายคล้องแขนไว้ตลอดเวลา แขนแนบลำตัวไม่กางไหล่ จนกว่าจะมาพบแพทย์เมื่อครบกำหนด 1 สัปดาห์เพื่อเปิดแผล
    • 7 วัน ถึง 1 เดือน สามารถกางแขนระดับไหล่ได้
    • ภายใน 1 เดือน แขนข้างที่ใส่เครื่องให้หลีกเลี่ยงการยกของหนักและไม่แกว่งแขนวงกว้างหรือสูง เพื่อป้องกันไม่ให้สายเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจหลุดจากตำแหน่ง งดใส่เสื้อสวมหัว (ควรใส่เสื้อแบบติดกระดุมหน้า)
    • มากกว่า 1 เดือน ยกแขนเหนือไหล่ได้
  • ผู้ป่วยจะมีแผลบริเวณหน้าอกใต้ใหปลาร้า ปิดด้วยแผ่นกันน้ำและผ้าก๊อซทับอยู่โดยจะแกะออกในวันรุ่งขึ้น
  • ช่วงแรกที่แผลยังปิดไม่สนิท จะปิดแผ่นกันน้ำ ห้ามแกะเองเด็ดขาด และหลังจากนั้น 7 วัน แพทย์จะนัดมาเปิดแผล ระหว่างนี้แผลห้ามโดนน้ำ ** ถ้าแผลมีอาการอักเสบ บวม แดง ให้รีบมาพบแพทย์**
  • หลีกเลี่ยงการถู กด หรือเกาบริเวณแผล
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออก บวม หรือปวดบริเวณที่ใส่เครื่อง มีไข้ เจ็บหน้าอก ใจสั่น หน้ามืดเป็นลม เหนื่อยหอบ หายใจติดขัด ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ หรือตรวจสอบการทำงานของเครื่อง 
  • ควรพบแพทย์ตามนัด เพื่อรับการตรวจเช็คเครื่องอย่างสม่ำเสมอ
  • แพทย์จะนัดเพื่อเปิดแผล (ประมาณ 7 วัน หลังใส่เครื่อง) และนัดตรวจสอบการทำงานของเครื่อง (ประมาณ 1 เดือน) 

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ / เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ

  • มีเลือดออกหรือมีก้อนเลือดที่เกิดจากการมีเลือดออกและคั่งอยู่ใต้ผิวหนัง
  • มีอาการแพ้ยาที่ได้รับระหว่างการใส่เครื่อง
  • มีลิ่มเลือดอุดตันทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือภาวะอื่นซึ่งพบได้น้อยมาก
  • ติดเชื้อบริเวณที่ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
  • สายสื่อสัญญาณไฟฟ้าหลุดเลื่อนจากตำแหน่งเดิม
  • เนื้อปอดหรือหัวใจเกิดรูรั่ว ฉีกขาด เลือดออก
  • หลอดเลือดได้รับความเสียหาย
  • เสียชีวิต (โอกาสเกิดน้อยมาก)

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงและข้อควรปฏิบัติ

  • หลีกเลี่ยงการนวดหน้าอก
  • หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีคลื่นไฟฟ้า หรือ สนามแม่เหล็กแรงสูง
  • หากต้องผ่าตัดหรือรักษาด้วยการฉายแสงหรือตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ต้องแจ้งให้แพทย์รับทราบว่าใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ เพื่อพิจารณาก่อนรับการตรวจ
  • ควรพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษาเป็นระยะ โดยแพทย์จะตรวจสอบการทำงานของเครื่องว่าเป็นปกติหรือไม่ โดยทั่วไปแบตเตอรี่ของเครื่องสามารถให้พลังงานได้ถึง 10 ปี
  • ควรพกบัตรประจำตัวผู้ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้น / กระตุกหัวใจตลอดเวลา

 

หากมีคำถาม ข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาโรคหัวใจ ปรึกษาแพทย์

คลิกขอคำปรึกษา

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์หัวใจ

ศูนย์หัวใจ

สถานที่

อาคาร 4 ชั้น 5

เวลาทำการ

09:00 - 17:00 น.

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520101, 520102

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram หรือ CAG)

การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram หรือ CAG) บางทีเรียก “การฉีดสี” เป็นการสอดสายสวนผ่านหลอดเลือดแดงแล้วฉีดสารทึบรังสีเพื่อตรวจวินิจฉัยการอุดตันและการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ หากพบความผิดปกติสามารถทำการรักษาต่อด้วยการทำบอลลูนและใส่ขดลวด

blank ดร.นพ. กิติกร วิชัยเรืองธรรม

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram หรือ CAG)

การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram หรือ CAG) บางทีเรียก “การฉีดสี” เป็นการสอดสายสวนผ่านหลอดเลือดแดงแล้วฉีดสารทึบรังสีเพื่อตรวจวินิจฉัยการอุดตันและการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ หากพบความผิดปกติสามารถทำการรักษาต่อด้วยการทำบอลลูนและใส่ขดลวด

blank ดร.นพ. กิติกร วิชัยเรืองธรรม

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
‘ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน’ ภัยเงียบที่มาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ จนไม่มีการบีบตัวหรือหยุดเต้นทันที โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า

blank ดร.นพ.กิติกร วิชัยเรืองธรรม อายุรแพทย์โรคหัวใจ รพ. พิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
‘ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน’ ภัยเงียบที่มาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ จนไม่มีการบีบตัวหรือหยุดเต้นทันที โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า

blank ดร.นพ.กิติกร วิชัยเรืองธรรม อายุรแพทย์โรคหัวใจ รพ. พิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

29 สิงหาคม 2567

โรคหัวใจ

โรคหัวใจถือเป็นโรคร้ายที่น่ากลัวมากอีกโรคหนึ่ง เป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนทั่วโลก รวมถึงคนไทยด้วย นอกจากนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มวัย โรคหัวใจเป็นภัยร้ายที่สามารถทำลายชีวิตและความสุขของผู้คนได้อย่างง่ายดาย การตระหนักถึงความรุนแรงของโรค สาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกันโรคหัวใจเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถดูแลสุขภาพหัวใจของตนเองและคนที่เรารักได้ดีขึ้น

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

29 สิงหาคม 2567

โรคหัวใจ

โรคหัวใจถือเป็นโรคร้ายที่น่ากลัวมากอีกโรคหนึ่ง เป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนทั่วโลก รวมถึงคนไทยด้วย นอกจากนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มวัย โรคหัวใจเป็นภัยร้ายที่สามารถทำลายชีวิตและความสุขของผู้คนได้อย่างง่ายดาย การตระหนักถึงความรุนแรงของโรค สาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกันโรคหัวใจเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถดูแลสุขภาพหัวใจของตนเองและคนที่เรารักได้ดีขึ้น

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม