Header

หัวใจ ทำไมต้องฟื้นฟู

หัวใจ ทำไมต้องฟื้นฟู

การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ (Cardiac Rehabilitation)

การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจคืออะไร ?

การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ คือ วิธีการใด ๆ ก็ตามที่ผู้ป่วยโรคหัวใจปฏิบัติตามแล้วทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น มีประสิทธิภาพในการทำงานหรือใช้ชีวิตที่ดีขึ้น ประกอบไปด้วย การรับประทานอาหารที่ถูกหลัก การจัดการด้านอารมณ์ ลดความเครียด และ การออกกำลังกายที่เหมาะสม (ตามหลัก 3 อ)

ผู้ใดควรทำการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ

  • ผู้ที่ควรได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ เพื่อให้หัวใจแข็งแรงขึ้น มีประสิทธิภาพในการทำงานหรือใช้ชีวิตที่ดีขึ้น เช่น
  • ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือผู้ป่วยที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (PCI)
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (CABG)
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Valvular Replacement)

ผู้ป่วยโรคหัวใจควรออกกำลังกายอย่างไร ?

การออกกำลังกายมีความสำคัญต่อผู้ป่วยโรคหัวใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม จะทำให้หัวใจแข็งแรงยิ่งขึ้น แต่ถ้าหากการออกกำลังกายนั้นไม่เหมาะสม หรือมากเกินไป อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อหัวใจ

ฉะนั้น การออกกำลังกายที่ดีและเหมาะสมที่สุด ควรจะได้รับคำแนะนำและการตรวจประเมินจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ เพื่อจัดโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมให้แต่ละบุคคล (Individual Program)

คำแนะนำและข้อควรระวังในออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

  1. ไม่ควรยกของหนักเกิน 5 กิโลกรัม ภายใน 1 เดือนแรก
  2. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงผลัก ดัน ดึง หรือมีการกระชาก
  3. ไม่ควรกลั้นหายใจ เบ่งถ่าย หรือเบ่งปัสสาวะ
  4. การขับรถ ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน
  5. ควรเลิกสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  6. ควรทานยาตามแพทย์สั่งเป็นประจำ และไม่ควรหยุดหรือปรับขนาดยาเอง
  7. บริหารร่างกาย ฝึกหายใจ และออกกำลังกาย ให้สม่ำเสมอ ตามคำแนะนำจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด
  8. ควรเรียนรู้การจับชีพจรด้วยตนเอง สังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นและลงบันทึกเพื่อติดตามอาการ
  9. การมีเพศสัมพันธ์ ทำได้เมื่อท่านสามารถเดินขึ้นบันได้ได้ 2 ชั้น ต่อเนื่อง เมื่อท่านจะกลับไปมีเพศสัมพันธ์ ควรเลือกท่าที่ท่าน (ผู้ป่วย) เป็นฝ่ายถูกกระทำมากที่สุด หลีกเลี่ยงท่าที่ทำให้ท่านรู้สึกอึดอัด หรือหายใจไม่ออก
  • มั่นใจว่าอากาศรอบ ๆ เย็นสบาย
  • หลีกเลี่ยงเพศสัมพันธ์ในลักษณะที่เหน็ดเหนื่อย เริ่มเบา ๆ และค่อยเป็นค่อยไป
  • เลือกสถานที่ที่คุ้นเคย และไม่ควรเปลี่ยนคู่นอน

10. กรณีมีโรคเบาหวานร่วมด้วย ควรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดทั้งก่อน และหลังการออกกำลังกาย

  • ไม่ควรออกกำลังกาย ถ้าหากระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนรับประทานอาหารมากกว่า 300 mg/dl
  • ควรรับประทานของว่างก่อนออกกำลังกาย ถ้าหากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 100 mg/dL

ท่านสามารถจับชีพจรได้ด้วยตนเอง

วิธีการจับชีพจร

  • ㆍ ทำได้โดยวางนิ้วชี้ นิ้วกลาง ที่เส้นเลือดบริเวณข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ และกดลงเบา ๆ จนกว่าจะรู้สึกถึงการเต้นของชีพจร หรือขยับตำแหน่งนิ้วทั้ง 2 เล็กน้อย จนกว่าจะจับชีพจรได้
  • ㆍเมื่อจับชีพจรได้แล้ว ให้นับอัตราการเต้นของชีพจรใน 1 นาที
  • ㆍควรสังเกตจังหวะการเต้น สม่ำเสมอหรือไม่ แรงไป หรือแผ่วไปหรือไม่ จังหวะการเต้นที่เหมาะสมอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาที

ออกกำลังกาย ควรไปต่อหรือพอแค่นี้ ?

หยุด ! ออกกำลังกายหากมีอาการ ดังนี้

  1. อ่อนเพลียผิดปกติ
  2. หายใจสั้น ตื้น
  3. เหนื่อยมากขึ้นจนเริ่มพูดไม่ออก
  4. จากการจับชีพจร มีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าที่กำหนดไว้ หรือมากกว่า 120 ครั้งต่อนาที
  5. ปวด เจ็บตามกล้ามเนื้อ ข้อต่อต่าง ๆ หรือเป็นตะคริว
  6. มีอาการเวียนศีรษะ หรือ หน้ามืด
  7. เริ่ม ๆ มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก
  8. หากนั่งพักแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์

เมื่อไหร่ควรีบพบแพทย์ ?

อาการผิดปกติ ที่ต้องมาพบแพทย์ทันที

  1. ใจสั่น
  2. เจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเจ็บตรงกลางหน้าอก เยื้องลงมาทางลิ้นปี่เล็กน้อย บางทีร้าวไปกราม ไหล่ซ้าย ข้อศอก ท้องแขนซ้าย หรือคอด้านซ้าย
  3. หายใจลำบาก
  4. คลื่นไส้ และอาจมีอาเจียน
  5. เหงื่อออกมาก เวียนศีรษะร่วมด้วย
  6. เหนื่อยง่ายขึ้น แม้จะทำกิจกรรมเบา ๆ

 

คลิกขอคำปรึกษา



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์หัวใจ

ศูนย์หัวใจ

สถานที่

อาคาร 4 ชั้น 5

เวลาทำการ

09:00 - 17:00 น.

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520101, 520102

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Permanent Pacemaker) ตัวช่วยรักษาหัวใจ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Permanent Pacemaker) เป็นหัตถการทางการแพทย์เพื่อฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไปในผนังหน้าอกใต้ผิวหนังเพื่อกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ ช่วยแก้ไขจังหวะการเต้นของหัวใจที่เต้นช้าหรือการเต้นไม่สม่ำเสมอ โดยจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังหัวใจห้องที่ทำงานผิดปกติ เพื่อช่วยให้หัวใจเต้นเร็วพอที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Permanent Pacemaker) ตัวช่วยรักษาหัวใจ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Permanent Pacemaker) เป็นหัตถการทางการแพทย์เพื่อฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไปในผนังหน้าอกใต้ผิวหนังเพื่อกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจ ช่วยแก้ไขจังหวะการเต้นของหัวใจที่เต้นช้าหรือการเต้นไม่สม่ำเสมอ โดยจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังหัวใจห้องที่ทำงานผิดปกติ เพื่อช่วยให้หัวใจเต้นเร็วพอที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram หรือ CAG)

การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram หรือ CAG) บางทีเรียก “การฉีดสี” เป็นการสอดสายสวนผ่านหลอดเลือดแดงแล้วฉีดสารทึบรังสีเพื่อตรวจวินิจฉัยการอุดตันและการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ หากพบความผิดปกติสามารถทำการรักษาต่อด้วยการทำบอลลูนและใส่ขดลวด

blank ดร.นพ. กิติกร วิชัยเรืองธรรม

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram หรือ CAG)

การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram หรือ CAG) บางทีเรียก “การฉีดสี” เป็นการสอดสายสวนผ่านหลอดเลือดแดงแล้วฉีดสารทึบรังสีเพื่อตรวจวินิจฉัยการอุดตันและการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ หากพบความผิดปกติสามารถทำการรักษาต่อด้วยการทำบอลลูนและใส่ขดลวด

blank ดร.นพ. กิติกร วิชัยเรืองธรรม

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม