Header

โรคภูมิแพ้

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

เป็นโรคภูมิแพ้ทำแขนเป็นผื่นคันที่แขน

โรคภูมิแพ้ เกิดจากภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity) ทำให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารที่พบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ซึ่งคนทั่วไปจะไม่มีปฏิกิริยาต่อสิ่งเหล่านี้ เช่น อาหาร ไรฝุ่น ขนสัตว์เลี้ยงในบ้าน ละอองเกสร อาการของโรคอาจเกิดขึ้นกับระบบใดระบบหนึ่งของร่างกาย หรือเกิดขึ้นพร้อมกันหลายระบบ มักจะเป็นเรื้อรัง ความรุนแรงมีตั้งแต่รบกวนชีวิตประจำวันเล็กน้อย ไปจนถึงขั้นที่อันตรายถึงแก่ชีวิต


 

โรคภูมิแพ้ของระบบต่างๆ

โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ทำให้จมูกอักเสบ หรือเรียก โรคแพ้อากาศ มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล คันจมูก จาม หรือทำให้เกิดโรคหอบหืด มีอาการไอ แน่นหน้าอก เหนื่อย หอบ หายใจมีเสียงหวีด อาการเหล่านี้อาจเกิดตามฤดูกาลในช่วงที่มีเกสรดอกไม้มาก ๆ หรืออาจมีอาการตลอดทั้งปีก็ได้

โรคภูมิแพ้อาหารและยา ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดอาการแพ้เฉียบพลัน เกิดผื่นคันแบบลมพิษ หน้าบวม ปากบวม เยื่อบุจมูกบวม แน่นคอ แน่นหน้าอก เป็นลมหมดสติ ถ้าเป็นมากอาจมีความดันโลหิตต่ำ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

โรคภูมิแพ้ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการผื่นลมพิษ ผิวหนังมีลักษณะคัน บวม นูนหนา หรือเกิดผิวแห้งลอก ส่วนใหญ่มักเป็นตามข้อพับแขนขาและลำคอ มีลักษณะผื่นแดง แห้งและคันเรื้อรัง พบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

โรคภูมิแพ้ตา ทำให้เกิดเยื่อบุตาอักเสบ มีอาการคันตา เคืองตา ตาแดง ขยี้ตาเยอะผิดปกติ น้ำตาไหล ตาบวม

โรคภูมิแพ้ถูกกระตุ้นจากปัจจัยอะไรบ้าง?

  • การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่
  • การได้รับสารก่อภูมิแพ้ปริมาณมากตั้งแต่อายุยังน้อย
  • การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างบางชนิด
  • พันธุกรรม

 

สารก่อภูมิแพ้ และสารระคายเคืองทางเดินหายใจ ต้นเหตุของโรคภูมิแพ้

สารก่อภูมิแพ้ (Allergens)

เป็นสารที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน และส่งผลให้เกิดอาการภูมิแพ้ขึ้นในผู้ที่มีความไวต่อสารนั้น ๆ แต่ไม่ทำให้เกิดอาการหรือเป็นอันตรายต่อคนทั่วไป สารก่อภูมิแพ้มีอยู่ทั้งในอากาศ ในฝุ่นละอองตามบ้าน รวมถึงในอาหารและยา ซึ่งอาการแพ้เกิดได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับชนิดของสารก่อภูมิแพ้และลักษณะจำเพาะของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น หอบ น้ำมูกไหล จาม คันตา คันจมูก คัดจมูก หายใจลำบาก ผื่นคันตามผิวหนัง อาเจียน ถ่ายเป็นมูกเลือด เป็นลม หมดสติ และช็อก ปัจจัยสำคัญในการรักษาโรคภูมิแพ้ คือ การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้เพื่อลดอาการของโรค

สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ (Aeroallergens)

  • สารก่อภูมิแพ้ในที่อยู่อาศัย (Indoor Alergens) ได้แก่ ขนสัตว์เลี้ยง ไรฝุ่น แมลงสาบ
  • สารก่อภูมิแพ้นอกที่อยู่อาศัย (Outdoor Allergens) ได้แก่ ละอองเกสรพืช หญ้า สปอร์ของเชื้อรา

 

 

สารระคายเคืองทางเดินหายใจ (Airway Iritant)

คือ สารที่หากได้รับหรือสูดดมเข้าทางเดินหายใจอย่างต่อเนื่อง หรือได้รับในปริมาณมาก ๆ อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง หรือทำอันตรายต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ และเป็นปัจจัยส่งเสริมให้อาการจมูกอักเสบกำเริบ อาการหอบกำเริบ หรือควบคุมอาการไม่ได้ รวมถึงมีความสัมพันธ์กับการอักเสบของหลอดลม การติดเชื้อในทางเดินหายใจมากขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง และทำให้หายใจลำบากมากขึ้น

ตัวอย่างของสารระคายเคืองทางเดินหายใจ

  • สเปรย์น้ำหอม สเปรย์ฉีดผม สเปรย์ปรับอากาศ ยาฆ่าแมลง ยาดับกลิ่น
  • ควันจากการประกอบอาหาร
  • ควันธูป ควันบุหรี่
  • ก๊าซจากการเผาไหม้ของน้ำมันชื้อเพลิงรถยนต์ และเครื่องจักร
  • ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ลอยในอากาศ ที่เกิดจากการกระจายของดินทราย ควัน การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากท่อไอเสียรถยนต์ เป็นตัน

การหลีกเลี่ยงสารระคายเคืองทางเดินหายใจ

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีสารระคายเคือง เช่น ควันธูป ควันบุหรี่ ควันจากการเผาไหม้ สเปรย์ น้ำยา หรือสารที่มีกลิ่นแรง เป็นตัน
  • ควรใช้เตาที่มีควันภายนอกบ้าน หรือบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • ควรใช้ผ้าปิดปากและจมูก ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้หรือเมื่อออกนอกบ้าน

 

อากาศเปลี่ยนแปลงทำให้เกิด โรคภูมิแพ้อากาศ ได้อย่างไร?

ผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้จะมีปัญหาเรื่องการปรับตัวของเยื่อบุจมูก คือ จมูกจะไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ปรับตัวไม่ค่อยได้ ไม่ว่าจะเป็นอากาศร้อนหรือเย็น ความชื้นของอากาศ ตลอดจนกลิ่นฉุน สิ่งระคายเคืองต่าง ๆ ซึ่งมักเรียกกันว่า โรคแพ้อากาศ โรคนี้พบได้ทุกเพศทุกวัย พบประมาณร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งผู้ป่วยประมาณร้อยละ 70 จะมีอาการก่อนอายุ 30 ปี

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคภูมิแพ้อากาศ

ภูมิแพ้อากาศ จะมีอาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล คันจมูก ชอบขยี้จมูกจนเกิดรอยบริเวณสันจมูก มีเสมหะในคอ เลือดกำเดาไหลบ่อย และอาจพบอาการคันตา แสบตา น้ำมูกไหล คันหู หูอื้อ ผู้ป่วยมักมีอาการดังกล่าวเวลาสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และความชื้นในอากาศ

โรคภูมิแพ้อากาศ กับ โรคไข้หวัด เหมือนหรือต่างกัน?

  • ไข้หวัด จะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ช่วงแรกจะน้ำมูกจะใส ต่อมาน้ำมูกข้น ระยะเวลาเป็นจะนาน 3-10 วัน มีไข้หรือไม่มีก็ได้ มีอาการจามบ้าง โดยไม่มีอาการคันจมูก

 

  • โรคภูมิแพ้อากาศ จะมีอาการคันจมูก ร่วมกับน้ำมูกใส ๆ มีอาการคันตา น้ำตาไหล ไม่มีไข้ ส่วนมากมักจะมีอาการมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป

โรคภูมิแพ้อากาศเป็นแล้ว ควรมาพบแพทย์หรือไม่?

เราควรพบแพทย์เมื่อมีอาการสงสัยว่าเป็นโรคภูมิแพ้อากาศ หรือไม่แน่ใจว่าเป็นโรคภูมิแพ้อากาศหรือไม่ เมื่อไปพบแพทย์ นอกจากการซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ว การตรวจที่ช่วยยืนยันว่าเป็นโรคภูมิแพ้อากาศหรือไม่ และแพ้อะไรบ้าง คือ การทดสอบทางผิวหนังและการตรวจเลือด ซึ่งการตรวจเลือดจะมีค่าใช้จ่ายสูงและจะยังไม่ทราบผลทันที ปัจจุบันจึงนิยมใช้การตรวจทางผิวหนังเป็นหลัก สามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหลีกเลี่ยงจากสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจมีภาวะแทรกซ้อน คือ โรคไซนัสอักเสบ โรคริดสีดวงจมูก และโรคหอบหืด เป็นต้น

การรักษาโรคภูมิแพ้อากาศ

หลักการรักษาโรคภูมิแพ้อากาศ มี 3 ลักษณะ คือ

  1. การกำจัดและหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ และการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการรักษาโรคภูมิแพ้อากาศ
  2. การรักษาด้วยยากินและยาพ่นจมูก
  3. วัคซีนรักษาโรคภูมิแพ้

การรักษาไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าต้องรักษาเป็นระยะเวลานานเท่าใด ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยสามารถหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ได้มากน้อยแค่ไหน เช่น ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยาพ่นจมูก ซึ่งสามารถช่วยลดอาการได้ โดยส่วนมากใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน การใช้วัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ใช้เวลา 3-5 ปี แล้วแต่บุคคล โรคแพ้อากาศสามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็มีโอกาสกลับมาเป็นอีก ขึ้นอยู่กับการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย

วิธีการป้องกันโรคภูมิแพ้อากาศ

การป้องกันโรคภูมิแพ้อากาศ ต้องอาศัยความร่วมมือของทั้งผู้ป่วยและแพทย์ ในการติดตามดูแลอาการป่วยอย่างต่อเนื่อง การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ การดูแลตนเองของผู้ป่วย และดูแลสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม จะช่วยให้อาการของโรคทุเลาลงมากจนไม่มีอาการเลย ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อากาศสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติและอยู่ร่วมในสิ่งแวดล้อมเดียวกับผู้อื่นได้ ถ้าสามารถปฏิบัติตัวตามที่กล่าวข้างต้นได้

 

ที่มา : โรงพยาบาลศิริราช ปียมหาราชการุณย์ และ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4110

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

06 ตุลาคม 2566

การรักษาโรคต่อมลูกหมากโตด้วยไอน้ำ

แผนกศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลพิษณุเวชได้นำเทคโนโลยีการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตด้วยไอน้ำ โดยแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการด้านทางเดินปัสสาวะที่มีประสบการณ์ในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตเป็นผู้ทำหัตถการ และทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความรู้และความชำนาญ พร้อมให้การดูแลผู้ป่วยตลอดระยะเวลาการรักษา รวมถึงติดตามผลหลังจากการรักษาเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุด

blank นพ. ธนสิทธิ์ ประกอบผล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

06 ตุลาคม 2566

การรักษาโรคต่อมลูกหมากโตด้วยไอน้ำ

แผนกศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลพิษณุเวชได้นำเทคโนโลยีการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตด้วยไอน้ำ โดยแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการด้านทางเดินปัสสาวะที่มีประสบการณ์ในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตเป็นผู้ทำหัตถการ และทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความรู้และความชำนาญ พร้อมให้การดูแลผู้ป่วยตลอดระยะเวลาการรักษา รวมถึงติดตามผลหลังจากการรักษาเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุด

blank นพ. ธนสิทธิ์ ประกอบผล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

27 พฤษภาคม 2567

สูบบุหรี่ พฤติกรรมร้าย ทำลายหัวใจ

เสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยส่วนใหญ่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุที่สำคัญ ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเสียชีวิตจากหัวใจวาย ในอายุประมาณ 30-40 ปี ซึ่งสูงกว่าผู้ไม่สูบถึง 5 เท่า สารพิษในควันบุหรี่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดทั่วร่างกาย

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

27 พฤษภาคม 2567

สูบบุหรี่ พฤติกรรมร้าย ทำลายหัวใจ

เสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยส่วนใหญ่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุที่สำคัญ ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเสียชีวิตจากหัวใจวาย ในอายุประมาณ 30-40 ปี ซึ่งสูงกว่าผู้ไม่สูบถึง 5 เท่า สารพิษในควันบุหรี่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดทั่วร่างกาย

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหอบหืด

โรคหอบหืด เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้เยื่อบุและผนังหลอดลมตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นจากภายใน และจากสิ่งแวดล้อมมากกว่าปกติ ส่งผลให้หายใจไม่สะดวกและมีเสียงหวีด เหนื่อยหอบ ไอเรื้อรัง แน่นหน้าอก โดยเฉพาะตอนกลางคืนและช่วงเช้ามืด สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย และอาจเสียชีวิตได้หากอาการรุนแรง หอบหืดไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหอบหืด

โรคหอบหืด เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้เยื่อบุและผนังหลอดลมตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นจากภายใน และจากสิ่งแวดล้อมมากกว่าปกติ ส่งผลให้หายใจไม่สะดวกและมีเสียงหวีด เหนื่อยหอบ ไอเรื้อรัง แน่นหน้าอก โดยเฉพาะตอนกลางคืนและช่วงเช้ามืด สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย และอาจเสียชีวิตได้หากอาการรุนแรง หอบหืดไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม