Header

จำเป็นแค่ไหน? หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ต้องผ่าตัดไหม?

นพ.ชุมพล ปิยวัณโณ | โรงพยาบาลพิษณุเวช นพ.ชุมพล ปิยวัณโณ

จำเป็นแค่ไหน? หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ต้องผ่าตัดไหม?

Q: ถ้าเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ต้องผ่าตัดไหม?

A: คำตอบคือ ขึ้นกับความรุนแรงของอาการครับ

อาการของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จะมีได้ 2 รูปแบบครับ

  1. อาการปวดร้าวลงไปตามขา จากการที่เส้นประสาทถูกกดทับ และอักเสบ
  2. อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาบางส่วน + อาการชาในบางตำแหน่ง จากการที่เส้นประสาททำงานผิดปกติไปจากเดิม ทีนี้ อาการจะมาก หรือน้อย ก็แล้วแต่ความรุนแรง และความบอบช้ำของเส้นประสาทว่าเกิดมากน้อยแค่ไหนครับ

 

ปกติผมจะแยกระดับความรุนแรงคร่าว ๆ ไว้ 3 ระดับครับ

  • ระดับรุนแรงมาก เช่น อาการปวดสาหัส แทบอยู่ไม่ได้ หรืออาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเป็นมากอย่างชัดเจน เช่น กระดกข้อเท้าไม่ได้ ปัสสาวะไม่ออก หรือ ไหลออกแบบไม่รู้ตัว แบบนี้ ควรได้รับการผ่าตัดแบบเร่งด่วน เพื่อเพิ่มโอกาสให้เส้นประสาทมีโอกาสฟื้นตัวได้มากขึ้น หรือหายจากภาวะที่เป็นอยู่โดยเร็วที่สุดครับ
  • ระดับปานกลาง คือมีอาการปวดมาก ๆ อยู่ระดับนึง ที่พออยู่ได้ หรืออาการอ่อนแรง ชา เป็นแบบไม่มาก สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันพอได้ แต่อาจจะยังไม่เท่าปกติ แบบนี้มีทางเลือกในการรักษาได้หลายทางครับ ไม่ว่าจะเป็น การกินยา ทำกายภาพบำบัด ฝังเข็ม การฉีดยาลดการอักเสบที่เส้นประสาท หรือแม้กระทั่งการผ่าตัด ซึ่งจะพิจารณาเป็น กรณี ๆ ไปครับว่าเหมาะสมกับทางเลือกไหนมากที่สุด
  • ระดับน้อย คือปวดพอรู้สึกว่าปวด ไม่มีอาการอ่อนแรงหรือชาที่ชัดเจน ประกอบกิจวัตรประจำวัน/เล่นกีฬาได้ตามปกติ แบบนี้รักษาโดยการแนะนำให้สังเกตอาการ แนะนำวิธีปฏิบัติตน และใช้ยาบ้าง เป็นครั้งคราวเมื่อจำเป็นครับ

ส่วนภาพ MRI หรือภาพถ่ายคลื่นแม่เหล็กนั้น จะทำให้เราเห็นก้อนหมอนรองกระดูกว่ามีการกดทับเส้นประสาทที่ตำแหน่งไหน และมีขนาดใหญ่เล็กแค่ไหน เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัย และวางแผนการรักษาเช่น ฉีดยาสเตียรอยด์ หรือผ่าตัดครับ


"แต่ขนาดก้อนใหญ่ หรือเล็ก จริง ๆ แล้วไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจว่าจะต้องผ่าตัดหรือไม่นะครับ"


เพราะโดยธรรมชาติของก้อนพวกนี้ จะค่อย ๆ ถูกร่างกายกำจัด และทำให้ฝ่อลงเรื่อย ๆ ตามเวลาอยู่แล้ว หากอาการเป็นระดับน้อย - ปานกลาง ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดก็ได้ครับ
อย่างดังภาพ ถึงแม้ก้อนจะมีขนาดใหญ่เกือบครึ่งนึงของช่องเส้นประสาท แต่ผู้ป่วยรายนี้ มีอาการระดับปานกลาง โชคดีที่สามารถบรรเทาอาการปวดได้ด้วยยากิน ร่วมกับการฉีดยาสเตียรอยด์รอบเส้นประสาท (selective nerve root block) ทำให้ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดครับ

โดยสรุป การรักษาหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท จะต้องผ่าตัดหรือไม่ ก็แล้วแต่ระดับความรุนแรง และการตอบสนองต่อการรักษาแต่ละวิธีครับ มีเพียงกรณีที่เป็นระดับรุนแรง  ที่แนะนำให้ผ่าตัดโดยด่วน กรณีที่เป็นระดับปานกลาง เลือกได้ทั้งวิธีผ่าตัด และไม่ผ่าตัด ส่วนกรณีที่เป็นน้อย  แนะนำว่าไม่น่าจะต้องผ่าตัดครับ



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์กระดูกและข้อ (Orthopedic Center) | โรงพยาบาลพิษณุเวช

ศูนย์กระดูกและข้อ

สถานที่

อาคาร 4 ชั้น 1

เวลาทำการ

08:00 - 17:00 น.

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520401,  520402

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.ศุภโชค รัศมีมงคล

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.พสิษฐ์ เส็งพานิช

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.ณัฐ โพธิ์ปาน

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การส่องกล้องผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร รักษาโรคอ้วนวิธีใหม่

โรคอ้วน นอกจากจะทำให้คุณสูญเสียความมั่นใจแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะผ่านกล้องแผลเล็ก (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy) คือการลดน้ำหนักด้วยวิธีการส่องกล้อง ซึ่งให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกับการผ่าตัดเย็บกระเพาะอาหารแบบเดิมโดยที่ไม่ต้องมีการผ่าตัดเปิดแผลที่หน้าท้อง มีความแม่นยำและมีแผลเล็กกว่า คนไข้จึงฟื้นตัวได้เร็วกว่า โดยไม่ต้องกังวลกับผลข้างเคียงจากอาการแทรกซ้อนจากการผ่าตัด

NARANON-BOONYUEN นพ.นรนนท์ บุญยืน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การส่องกล้องผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร รักษาโรคอ้วนวิธีใหม่

โรคอ้วน นอกจากจะทำให้คุณสูญเสียความมั่นใจแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะผ่านกล้องแผลเล็ก (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy) คือการลดน้ำหนักด้วยวิธีการส่องกล้อง ซึ่งให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกับการผ่าตัดเย็บกระเพาะอาหารแบบเดิมโดยที่ไม่ต้องมีการผ่าตัดเปิดแผลที่หน้าท้อง มีความแม่นยำและมีแผลเล็กกว่า คนไข้จึงฟื้นตัวได้เร็วกว่า โดยไม่ต้องกังวลกับผลข้างเคียงจากอาการแทรกซ้อนจากการผ่าตัด

NARANON-BOONYUEN นพ.นรนนท์ บุญยืน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ดูตัวเองอย่างไร? หลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม

มะเร็จเต้านม เกิดจากเซลล์ภายในเต้านมมีการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ โดยที่เชลล์มะร็งจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว และโตขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นก้อนใหญ่ให้คลำได้ และหากไม่ได้รับการรักษา เซลล์มะเร็งจะลุกลามไปบริเวณอวัยวะใกล้เคียง คือ ต่อมน้ำหลืองที่รักแร้ และ เข้าสู่หลอดเลือด ทางเดินน้ำเหลือง และกระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ เช่น กระดูก ปอด ตับ หรืออวัยวะสำคัญอื่น ๆ และเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด

ดูตัวเองอย่างไร? หลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม

มะเร็จเต้านม เกิดจากเซลล์ภายในเต้านมมีการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ โดยที่เชลล์มะร็งจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว และโตขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นก้อนใหญ่ให้คลำได้ และหากไม่ได้รับการรักษา เซลล์มะเร็งจะลุกลามไปบริเวณอวัยวะใกล้เคียง คือ ต่อมน้ำหลืองที่รักแร้ และ เข้าสู่หลอดเลือด ทางเดินน้ำเหลือง และกระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ เช่น กระดูก ปอด ตับ หรืออวัยวะสำคัญอื่น ๆ และเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด

การผ่าตัดดามกระดูกหัก แบบผ่าตัดแผลเล็ก ดีอย่างไร

กระดูก คือองค์ประกอบที่เป็นส่วนสำคัญกับร่างกายของเราเป็นอย่างมาก เพราะทำหน้าที่รับน้ำหนัก ส่งถ่ายน้ำหนัก อีกทั้งยังช่วยทรงตัวในขณะนอน ยืน เดิน รวมไปถึงการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน นอกจากนี้กระดูกยังทำหน้าที่เป็นที่ยึดเกาะของเอ็นและกล้ามเนื้อ ป้องกันอวัยวะสำคัญ หากกรระดูกได้รับการกระแทก หรือกระทบด้วยความรุนแรง ก็จะมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกหักได้

นพ.ชุมพล ปิยวัณโณ | โรงพยาบาลพิษณุเวช นพ.ชุมพล ปิยวัณโณ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การผ่าตัดดามกระดูกหัก แบบผ่าตัดแผลเล็ก ดีอย่างไร

กระดูก คือองค์ประกอบที่เป็นส่วนสำคัญกับร่างกายของเราเป็นอย่างมาก เพราะทำหน้าที่รับน้ำหนัก ส่งถ่ายน้ำหนัก อีกทั้งยังช่วยทรงตัวในขณะนอน ยืน เดิน รวมไปถึงการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน นอกจากนี้กระดูกยังทำหน้าที่เป็นที่ยึดเกาะของเอ็นและกล้ามเนื้อ ป้องกันอวัยวะสำคัญ หากกรระดูกได้รับการกระแทก หรือกระทบด้วยความรุนแรง ก็จะมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกหักได้

นพ.ชุมพล ปิยวัณโณ | โรงพยาบาลพิษณุเวช นพ.ชุมพล ปิยวัณโณ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม