วัณโรค
วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดวัณโรคปอด แต่วัณโรคยังเกิดกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อ ลำไส้ ไต เยื่อหุ้มสมอง
การติดต่อ
เชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจรับเชื้อที่ปะปนอยู่ในละองฝอย ที่เรียกว่า Droplet nuclei มีขนาดเล็ก 1-5 ไมครอน โดยเชื้อจะออกมากับการไอ จาม บัวนน้ำลาย ขากเสมหะ หรือการใช้เสียง ของผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อ ทำให้เชื้อกระจายในอากาศ เชื้อวัณโรคที่ตกลงสู่พื้นหรือติดอยู่กับผิวสัมผัสของวัตถุอื่น ๆ จะถูกทำลายไปได้ง่ายโดยแสงสว่างและอากาศที่ถ่ายเทสะดวก ในห้องที่ทึบอับแสงเชื้อวัณโรคอาจมีชีวิตอยู่ได้ถึง 1 สัปดาห์ ถ้าเสมหะที่มีเชื้อลงสู่พื้นที่ไม่มีแสงแดดส่องเชื้ออาจอยู่ได้ในเสมหะแห้งได้นานถึง 6 เดือน บางครั้งเชื้ออาจผ่านจากแม่ไปยังลูกในครรภ์โดยผ่านทางรกได้ ดังนั้น สมาชิกในครอบครัว ผู้ร่วมอาศัย เพื่อนร่วมงานที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองผู้สัมผัสโรค และรับการรักษาแต่เนิ่น ๆ
ระยะฟักตัวของโรค เมื่อแรกรับเชื้อจนถึงเมื่อให้ผลทดสอบทูเบอร์คิวลินเป็นบวก ประมาณ 2-10 สัปดาห์ ระยะที่มีโอกาสเกิดอาการของโรคได้มากที่สุด คือ ในสองปีแรกหลังติดเชื้อ โดยทั่วไปแล้วถ้าไม่ได้รับการรักษาเชื้อที่เข้าไปจะซ่อนตัวอยู่เงียบๆ โดยไม่ทำให้เกิดอาการของโรค ถ้าร่างกายอยู่ในสภาพที่แข็งแรงดี แต่เมื่อสุขภาพทรุดโทรมลงหรือมีภาวะเสี่ยงต่าง ๆ เชื้อที่สงบนิ่งอยู่ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้ ในระยะห่างจากการได้รับเชื้อเข้าไปเป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้
หมายถึง ผู้ที่เคยได้รับเชื้อวัณโรค แต่ไม่มีอาการและอาการแสดงของวัณโรค และไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ การวินิจฉัยการติดเชื้อวัณโรคทำได้โดยการทดสอบทูเบอร์คูลินทางผิวหนัง (Tuberculin skin test) ผู้ที่ติดเชื้อวันโรคระยะแฝงมีโอกาสเป็นวัณโรคได้ประมาณร้อยละ 5-10 และครึ่งหนึ่งของผู้เป็นโรคมักพบในช่วง 2 ปีแรกของการได้รับเชื้อ
ลักษณะของการติดเชื้อวัณโรคแฝง
- ผลการทดสอบทูเบอร์คูลินทางผิวหนัง เป็นบวก
- ผล X-Ray ทรวงอก ปกติ
- ผลการตรวจเสมหะ ไม่พบเชื้อวัณ โรค
- ไม่มีอาการและอาการแสดงของวัณโรค
- ไม่สามารถแพร่เชื้อวัณโรคไปยังผู้อื่นได้
หมายถึง ผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคเละเชื้อสามารถเพิ่มจำนวนในร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อได้ ทำให้มีอาการและอาการแสดงของวัณโรค ผู้ป่วยเป็นวัณโรคสามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นได้ และควรต้องได้รับการรักษา ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจเสียชีวิตได้
ลักษณะของผู้ป่วยวัณโรค
- มีผลการทดสอบทูเบอร์ดูลินทางผิวหนัง เป็นบวก
- ผล X-Ray ทรางอกผิดปกติ เช่น พบลักษณะเป็นฝ้าหรือก้อนที่ส่วนบนของปอดข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง หรือปอดเป็นโพรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีหลายโพรง
- ผลการตรวจเสมหะหรือผลเพาะเชื้อ พบเชื้อวัณโรค
- มีอาการและอาการแสดงของวัณโรค
- สามารถแพร่เชื้อวัณโรคไปยังผู้อื่นได้
การทดสอบปฏิกิริยาทางผิวหนังต่อเชื้อวัณโรค หรือ การทดสอบทูเบอร์ดูลินทางผิวหนัง (Tuberculin skin test)
หมายถึง การทดสอบหาการติดเชื้อวัณโรค โดยใช้น้ำยาที่มีส่วนประกอบของโปรตีนจากเชื้อมาฉีดเข้าใต้ผิวหนัง เรียกว่าน้ำยา Tuberculin ถ้าใช้น้ำยาชนิด PPD (Purified Protein Derivative) จะเรียกการทคสอบนี้ว่า
PPD skin test หากผู้รับการทดสอบเคยได้รับเชื้อวันโรคมาก่อน ภูมิคุ้มกันในร่างกาย (T-cell) ที่เคยถูกกระตุ้นด้วยเชื้อวัณโรคจะปล่อยสารทางระบบภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ออกมา ทำให้ผิวหนังมีปฏิกิริยาการอักเสบ เกิดเป็นรอยบวมนูนขึ้น
ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค เช่น ญาติที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน เพื่อนร่วมห้อง หรือเพื่อนร่วมงานที่อยู่ในห้องเดียวกัน หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอดในช่วงที่มีอาการเป็นระยะเวลานานมากกว่า 8 ชั่วโมงขึ้นไปต่อหนึ่งวัน
- สภาพร่างกาย ความแข็งแรงของแต่ร่างกาย โดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุมีความเสี่ยงในการเป็นวัณโรคได้ง่าย
- ผู้เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคษสุราเรื้อรัง โรคเอด หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
- ระยะเวลาและความใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค
อาการวัณโรคในระยะแรกจะสังเกตได้ยาก เพราะอาการเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัวว่าเป็นวัณโรค อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้เรื้อรังต่ำ ๆ มักจะเป็นตอนเย็นหรือบ่าย บางรายอาจมีเหงื่อออกตอนกลางคืน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรังนานเกิน 3 สัปดาห์ อาจไอเป็นเลือด บางรายอาจเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ ถ้าเป็นมากจะมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่กำลังมีอาการไอ และยังไม่ได้รับการรักษาด้วยยารักษาวัณโรค
- ในผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ที่ผลตรวจทูเบอร์คูลินเป็นบวก แพทย์จะพิจารณาให้ยาป้องกันวัณโรค นาน 2-3 เดือน
- ให้วัคซีน BCG ป้องกัน ในประเทศที่มีโรควัณโรคชุกชุม องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เริ่มให้ BCG วัคซีนตั้งแต่แรกเกิด วัคซีน BCG ถึงแม้จะมีประสิทธิผลแตกต่างกันจากการศึกษาในที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ไปจนถึงร้อยละ 80 แต่ที่ได้ผลชัดเจน คือ ป้องกันวัณโรคชนิดรุนแรงแบบแพร่กระจาย และวัณโรคเยื่อหุ้มสมอง ในประเทศไทยให้วัคซีน BCG เมื่อแรกเกิด
แม้วัณโรคจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีโอกาสกลับไปเป็นซ้ำได้เช่นกันหากผู้ป่วยรับประทานยาไม่ครบตามกำหนด ดังนั้น เป้าหมายสำคัญในการรักษา คือ การรักษาให้หายขาดเพื่อหยุดการแพร่กระจายเชื้อและป้องกันการดื้อยาของเชื้อวัณโรค
- ปัจจุบันมียารักษาวัณโรคที่ได้ผลดีหลายชนิด การรักษาจะให้ยาร่วมกัน เพื่อลดอัตราการดื้อยา และเพิ่มประสิทธิภาพของยา
- ผู้ป่วยวัณโรค ใช้ระยะเวลาในการรักษาทั้งหมด 6 เดือน โดย 2 เดือนแรกต้องรับประทานยา 4 ชนิด เช่น isoniazid, iftampicin, pyrazinamide, ethambutol
- เมื่อรักษาครบ 2 เดือน แพทย์จะตรวจเสมหะหรือเอกซเรย์ปอดซ้ำ หากมีการตอบสนองที่ดี แพทย์จะลดยาเหลือ 2 ชนิด และให้การรักษาต่อไปอีก 4 เดือน
- การรักษาจะได้ผลดี ถ้ามารับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และจะต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และจะต้องดูแลให้พักผ่อนและให้อาหารที่มีโปรตีนสูงและมีไวตามิน เพื่อช่วยเพิ่มความต้านทานโรค
- ต้องรับประทานยาให้ครบตามที่แพทย์กำหนด หลังได้รับการรักษาไปแล้ว 2-4 สัปดาห์ อาการจะดีขึ้น ไข้ลดลง ไอน้อยลง รับประทานอาหารได้มากขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นมักเข้าใจผิดว่ารักษาหายแล้วจึงไม่รับประทานยาต่อ แต่ในความเป็นจริงการรับประทานยาไม่ครบตามกำหนด ไม่สามารถรักษาให้หายได้และทำให้เชื้อดื้อยา ส่งผลให้การรักษายากขึ้นหรือรักษาไม่ได้เลย
- แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานยาวันละครั้ง ส่วนใหญ่คือก่อนนอน ห้ามแบ่งรับประทานยาหลายเวลาตามมื้ออาหาร เพราะจะทำให้ระดับยาในการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร
- หลังรับประทานยาหากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือมีผื่นคัน ให้ติดตามผลข้างเคียงอย่างใกลัชิด หากมีอาการเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ให้หยุดยาทั้งหมดแล้วรีบมาพบแพทย์
- ในช่วงแรกของการรักษาผู้ป่วยควรแยกห้องนอนและหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้อื่น หลังรับประทานยาแล้ว 2 สัปดาห์ สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้ตามปกติ
- ขณะไอหรือจามต้องใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก บัวนเสมหะลงในภาชนะหรือถุงที่ปิดมิดชิด แล้วนำไปทิ้งในถังขยะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดูแลร่างกายให้แข็งแรงเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทาน และออกกำลังกายได้ตามความเหมาะสม
- ควรอยู่ในสถานที่ ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ห้องมีลักษณะโปร่ง โล่ง มีหน้าต่าง
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการใช้ยาอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับอักเสบจากยาและผลข้างเคียงอื่น ๆ
- ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางในที่สาธารณะที่มีผู้คนแออัด เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้ หรือการเดินทางด้วยยานพาหนะร่วมกับผู้อื่นเป็นเวลานานเกิน 8 ชั่วโมงขึ้นไป
- ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ในระหว่างรักษาวัณโรค เลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเอสโตรเจน เพราะจะทำให้การคุมกำเนิดไม่ได้ผล
ที่มา : โรงพยาบาลศิริราช ปียมหาราชการุณย์ ,คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ,กรมควบคุมโรค
ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง
แผนกอายุรกรรม
สถานที่
อาคาร 4 ชั้น 1
เวลาทำการ
07:00 - 22:00 น.
เบอร์ติดต่อ
055-90-9000 ต่อ 520101 และ 520102