Header

“มีนาคม” เดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งลำไส้ใหญ่

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้น ๆ ของหลายประเทศทั่วโลก ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้แนวโน้มอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำมาสู่สาเหตุการตายและปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี สำหรับประเทศไทยมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็น 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบมากในคนไทย มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นทุกปี ปัจจุบันมีรายงานผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 13,000 คนต่อปี เป็นเพศชายและหญิงราว 7,000 และ 6,000 คน ตามลำดับ และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 5,000 คนต่อปี

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มักพบในคนอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่สามารถพบได้ในทุกอายุ พบได้น้อยในผู้ที่อายุต่ำกว่า 40 ปี พบผู้ชายเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย มะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดขึ้นได้กับลำไส้ใหญ่ทุก ๆ ส่วน ทั้งลำไส้ใหญ่ส่วนที่อยู่ในช่องท้อง หรือลำไส้ใหญ่ส่วนที่อยู่ในอุ้งเชิงกราน ที่เรียกว่า ไส้ตรง ซึ่งมะเร็งลำไส้ใหญ่ทั้ง 2 ส่วน จะมีลักษณะโรคและวิธีการรักษาที่แตกต่างกันบ้าง แต่สาเหตุ การตรวจวินิจฉัย และระยะของโรคคล้ายคลึงกัน ตำแหน่งที่พบมะเร็งประมาณร้อยละ 50 อยู่ที่บริเวณไส้ตรง อีก 1 ใน 3 อยู่ที่ลำไส้ใหญ่ขดขวาและขดซ้าย ส่วนมะเร็งทวารหนัก พบร้อยละ 1-2 ของทั้งหมด 
ปัจจุบันวิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภค เช่น รับประทานอาหารไขมันสูง อาหารฟาสต์ฟูดต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น อาหารปิ้งย่างไหม้เกรียม อาหารจากน้ำมันทอดซ้ำ และเนื้อสัตว์แปรรูป ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรค และยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ขาดการออกกำลังกาย ภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน รวมถึงมีประวัติครอบครัวหรือตนเองเป็นติ่งเนื้อในลำไส้ เป็นต้น


 



ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าอะไรเป็นสาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่พบว่ามีหลาย ๆ ปัจจัยที่อาจมีความสัมพันธ์หรือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเปีนมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่

  • ปัจจัยทางพันธุกรรม ทั้งชนิดพันธุกรรมที่ถ่ายทอดและพันธุกรรมที่ไม่ถ่ายทอด มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อนจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงขึ้น ผู้ที่เป็นโรคติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังบางชนิด จะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงกว่าปกติ 15-20 เท่า ปัจจุบันพบว่ามียีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่หลายชนิด

  • ปัจจัยด้านอาหาร การรับประทานอาหารไขมันสูงหรืออาหารที่ขาดใยอาหาร ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ บางการศึกษาพบว่าการขาดสารอาหารบางชนิดอาจเป็นปัจจัยทำให้เกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้สูงกว่าผู้ป่วยได้รับสารอาหารครบถ้วน ที่สำคัญคือ การรับประทานผักและผลไม้ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปัจจุบันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่พบมากขึ้นในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่มีมลภาวะเป็นพิษ และอาหารการกินของผู้บริโภคที่นิยมทานอาหารฟาสต์ฟู้ดมากขึ้น

  • การควบคุมน้ำหนักและการออกกำลังกายที่พอเหมาะ อาจลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ระดับหนึ่ง

  • การดื่มสุราเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

การสูบบุหรี่ ก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เช่นกัน

มะเร็งลำไส้ใหญ่เริ่มจากการเกิดติ่งเนื้อในลำไส้และพัฒนาจนเป็นมะเร็ง โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 10-15 ปี มะเร็งลำไส้ใหญ่มักจะไม่มีอาการในระยะเริ่มแรก จะมีอาการเมื่อโรคลุกลามมากขึ้นจนถึงระยะสุดท้าย ส่งผลให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรมะเร็งลำไส้ใหญ่ ไม่มีอาการและอาการแสดงเฉพาะ แต่จะเป็นอาการเช่นเดียวกับอาการของโรคลำไส้ทั่ว ๆ ไป เช่น
การถ่ายอุจจาระผิดปกติ ท้องผูกสลับท้องเสียอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง ถ่ายไม่สุด อุจจาระลำเล็กลง

  • อุจจาระเป็นมูกเลือด เป็นเลือดสด หรือสีดำคล้ายสีถ่าน
  • ปวดเบ่งเวลาถ่ายอุจจาระ
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง แน่นท้อง ท้องอืด จุกเสียด
  • อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หรือซีดโดยไม่รู้สาเหตุ
  • อาจคลำเจอก้อนในท้อง

ดังนั้น ถ้ามีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ อย่าปล่อยไว้นาน

  • จากการซักถามประวัติอาการและการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ประกอบอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย รวมทั้งการตรวจทางทวารหนัก
  • การตรวจอุจจาระทางห้องปฏิบัติการ
  • การถ่ายภาพเอกซเรย์ด้วยการสวนแป้งทางทวารหนัก
  • การส่องกล้องทางทวารหนักและการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางด้านพยาธิวิทยา เพื่อหาโรคมะเร็ง

แพทย์อาจมีการตรวจเพิ่มเติม ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่น

  • การตรวจช่องท้องด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-Scan)
  • การตรวจภาพเอกซเรย์ปอด
  • การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ เพื่อดูการทำงานของตับ ไต หรือ โรคเบาหวาน เป็นต้น
  • การตรวจ CT-Scan ของกระดูก ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดหลังมาก เพื่อตรวจว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปกระดูกหรือไม่
  • การตรวจอัลตร้าซาวด์ตับ กรณีสงสัยว่ามีมะเร็งกระจายไปที่ตับ

โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ประมาณร้อยละ 25 อาจได้รับการวินิจฉัยเบื้องตันผิดพลาดเป็นโรคของถุงน้ำดีและแผลในกระเพาะ หรือโรคของลำไส้ใหญ่ชนิดอื่น ๆ อาการปวดท้องด้านล่างข้างขวาอาจคล้ายอาการของโรคไส้ติ่งอักเสบ ผู้ป่วยที่มีปัญหาโลหิตจางร่วมกับน้ำหนักลด ต้องนึกถึงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย สำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปีที่มีอาการเลือดออกทางทวารหนัก ควรได้รับการตรวจอย่างละเอียดทุกราย

การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่สามารถตรวจคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรกได้ ส่งผลให้การรักษาได้ผลดีและมีโอกาสหายจากโรคสูง ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระปีละครั้ง หากผิดปกติควรได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ กรณีพบติ่งเนื้อหรือความผิดปกติในลำไส้ใหญ่แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อบริเวณดังกล่าวเพื่อวินิจฉัยต่อไป

  • ระยะที่ 1 - โรคมะเร็งยังอยู่ในเยื่อบุลำไส้
  • ระยะที่ 2 - มะเร็งทะลุเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อของลำไส้ และ / หรือทะลุถึงเยื่อหุ้มลำไส้ ลุกลามเข้าไปเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียง
  • ระยะที่ 3 - มะเร็งลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง
  • ระยะที่ 4 - มะเร็งลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไป หรือลุกลามตามกระแสโลหิตไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น ตับ ปอด หรือกระดูก เป็นต้น

ความรุนแรงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัยที่สำคัญได้แก่

  • ระยะของโรค ระยะยิ่งสูงความรุนแรงของโรคก็มากขึ้น
  • สภาพร่างกาย และโรคร่วมอื่น ๆ ที่มีผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย เช่น เบาหวาน โรคไต เป็นต้น
  • อายุ ผู้ป่วยอายุน้อย มักมาพบแพทย์เมื่อโรคลุกลามไปมากแล้ว เพราะไม่ค่อยได้นึกถึงโรคมะเร็ง 
  • ผู้ป่วยสูงอายุ มักมีสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการรักษา
  • ขนาดของก้อนมะเร็ง ยิ่งมีขนาดก้อนโตมากความรุนแรงของโรคจะมากกว่าผู้ป่วยซึ่งขนาดก้อนมะเร็งเล็กกว่า
  • การที่มีมะเร็งลุกลามเข้าไปอวัยวะข้างเคียง ความรุนแรงของโรคก็จะมากกว่าการไม่มีการลุกลามของโรค

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ จะได้ผลดีมากน้อยเพียงใดขึ้นกับระยะของโรคขณะเริ่มต้นรักษา
การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่มี 3 วิธีหลักที่สำคัญ ได้แก่ การผ่าตัด รังสีรักษา และเคมีบำบัด

  • การผ่าตัด

การรักษาหลักของมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ การผ่าตัดเอาลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองออกไป กรณีที่มะเร็งลุกลามไปมากแล้ว หรือเป็นมะเร็งของลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่อยู่ติดกับทวารหนัก การผ่าตัดอาจมีความจำเป็นต้องทำทวารเทียม โดยนำเอาปลายลำไส้ส่วนที่เหลืออยู่เปิดออกทางหน้าท้องเป็นทางให้อุจจาระออก
ปัจจุบันมีการใช้เครื่องมือชนิดลวดเย็บมาช่วยต่อลำไส้ ทำให้สามารถผ่าตัดมะเร็งที่อยู่ต่ำ ๆ เหนือรูทวารหนักเพียง 4-5 เซนติเมตร โดยไม่ต้องทำทวารเทียม

 

  • รังสีรักษา

เป็นการรักษาร่วมกับการผ่าตัด อาจฉายรังสีก่อนหรือหลังการผ่าตัด โดยแพทย์จะประเมินจากลักษณะการลุกลามของก้อนมะเร็งและโอกาสการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง
โดยทั่วไปการฉายรังสีรักษามักใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 สัปดาห์ โดยฉายวันละ 1 ครั้ง ฉายติดต่อกัน 5 วันใน 1 สัปดาห์

 

  • เคมีบำบัด 

คือ การให้ยาสารเคมี ยาเคมีบำบัดอาจให้ก่อนการผ่าตัด และ / หรือหลังผ่าตัด ร่วมกับรังสีรักษาหรือไม่ก็ได้ การใช้ยาเคมีบำบัดไม่จำเป็นต้องให้ในผู้ป่วยทุกราย โดยแพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
ปัจจุบันพบว่าการใช้ยาเคมีบำบัดจะได้ผลดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของผู้ป่วย โดยสามารถตรวจได้ล่วงหน้าว่าผู้ป่วยรายนั้นจะได้ผลตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดหรือไม่

ปัจจุบันมีแนวทางการรักษามะเร็งใหม่ล่าสุด เรียกว่า Targeted Therapy เป็นการรักษาตามเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง โดยตัวยาออกฤทธิ์ต้านตัวรับสัญญาณเซลล์มะเร็ง EGFR โดยเฉพาะ จะมีผลให้ลดการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง

การติดตามผลการรักษาก็ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยภายหลังจากรักษาครบตามกระบวนการแล้ว แพทย์จะนัดตรวจผู้ป่วยสม่ำเสมอ โดยในปีแรกอาจนัดตรวจทุก 1-2 เดือน ภายหลังรักษาครบ 2-3 ปีไปแล้ว อาจนัดตรวจทุก 2-3 เดือน ภายหลัง 3-5 ปี อาจนัดตรวจทุก 3-6 เดือน และถ้าเกิน 5 ปีไปแล้ว อาจนัดตรวจทุก 6-12 เดือน ในการนัดทุกครั้งแพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกาย ส่วนการตรวจเพิ่มเติมอื่น ๆ เช่น การตรวจเลือด หรือเอกซเรย์ จะทำตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เป็นราย ๆ ไป ผู้ป่วยควรมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอและควรนำญาติหรือผู้ดูแลมาด้วย เพื่อจะได้ร่วมปรึกษาวางแผนการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

ที่มา : คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ,สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ,สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ 

ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็งพิษณุเวช ฮอไรซัน

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520101, 520102

อายุรกรรมโรคระบบทางเดินอาหารและตับ (Gastrointestinal and Liver Medicine)

ศูนย์โรคทางเดินอาหารและตับ

สถานที่

อาคาร 4 ชั้น 2

เวลาทำการ

08:00 - 17:00 น.

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520301, 520302, 520303

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์มะเร็งพิษณุเวช ฮอไรซัน

พญ.วีรนุช รัตนเดช

อายุรแพทย์โรคมะเร็ง

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

5 อันดับโรคมะเร็งของผู้ชาย

จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ระบุว่า แต่ละปีมีคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่มากถึงวันละ 381 คน หรือ 139,206 คนต่อปี และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งวันละ 230 คน หรือ 84,073 คนต่อปี โดย 5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในชายไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
5 อันดับโรคมะเร็งของผู้ชาย

จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ระบุว่า แต่ละปีมีคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่มากถึงวันละ 381 คน หรือ 139,206 คนต่อปี และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งวันละ 230 คน หรือ 84,073 คนต่อปี โดย 5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในชายไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคมะเร็ง 5 อันดับ ที่พบบ่อยในผู้หญิง

โรคมะเร็ง 5 ที่พบบ่อยในผู้หญิง จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่า โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย  ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคมะเร็ง 5 อันดับ ที่พบบ่อยในผู้หญิง

โรคมะเร็ง 5 ที่พบบ่อยในผู้หญิง จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่า โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย  ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
5 มะเร็งยอดฮิต พบบ่อยในคนไทย

5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในชายไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง 5 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิง จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่า โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
5 มะเร็งยอดฮิต พบบ่อยในคนไทย

5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในชายไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง 5 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิง จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่า โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

พญ.วีรนุช	รัตนเดช พญ.วีรนุช รัตนเดช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม