Header

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram)
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือที่เรียกว่า EKG เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจโดยจะมีรูปแบบของคลื่นไฟฟ้าอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจอาจเปลี่ยนแปลงไปตามความผิดปกติของหัวใจ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจถือว่าเป็นการตรวจ ที่ง่ายและสะดวก ผู้รับการตรวจจะไม่เจ็บ จากการตรวจ การตรวจทําได้โดยการวัดคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ ผ่านทางสื่อนําคลื่นไฟฟ้าขนาดเล็กที่วางไว้ตามจุด ต่างๆของร่างกาย ได้แก่บริเวณหน้าอก แขน และขา แล้วบันทึกกราฟแสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นลงบน กระดาษ ขั้นตอนการตรวจนี้ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที แต่บางทีเราอาจจะไม่พบสิ่งผิดปกติในคลื่นไฟฟ้า หัวใจของผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจบางชนิดได้ในการ ตรวจตามธรรมดา เนื่องจากถ้าหัวใจ ไม่ได้ทํางาน หนักขึ้นการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจ จะยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งอาจต้องใช้การทดสอบสมรรถภาพ หัวใจด้วยการออกกําลังกายต่อไป

 

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจเพื่ออะไร?
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจคัดกรองความผิดปกติเกี่ยวข้องกับหัวใจกับระบบไหลเวียนเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวผิดปกติ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตัน
ภาวะหรือโรคเกี่ยวกับสารเกลือแร่ในหลอดเลือด เช่น ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป ใครควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
กลุ่มผู้ที่มีเงื่อนไขด้านสุขภาพซึ่งควรรับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อหาข้อมูลในการดูแลสุขภาพเพิ่มเติม ได้แก่

  • ผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นกลุ่มช่วงอายุที่เริ่มเสี่ยงเกิดโรคหรือความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ
  • ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือระบบไหลเวียนเลือดมาก่อน
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมหรือปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เป็นโรคเบาหวาน หรือภาวะอ้วน
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

 



การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นกระบวนการตรวจที่ง่ายมาก โดยจะเป็นเพียงการติดอุปกรณ์สื่อรับกระแสไฟฟ้าภายในหัวใจที่ตำแหน่งสำคัญของร่างกายประมาณ 10 จุด จากนั้นผู้เข้ารับบริการนอนอยู่ทำตัวสบายๆ ให้เครื่องตรวจสแกนคลื่นไฟฟ้าที่หัวใจประมาณ 5-10 นาที ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน
 

ก่อนเข้ารับบริการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผู้เข้ารับบริการไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆ ล่วงหน้า ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร เพียงทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่ตื่นเต้นในระหว่างรับบริการตรวจก็พอ

ผู้เข้ารับบริการแทบจะไม่ต้องดูแลตนเองใดๆ เป็นพิเศษเลย สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติทันทีหลังตรวจ นอกเสียจากได้ฟังผลตรวจกับแพทย์แล้วพบความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจบางอย่าง ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อบรรเทาความเสี่ยงที่เกิดขึ้นให้น้อยลง

หากคุณไม่มีข้อบ่งชี้ที่เป็นสัญญาณของโรคเกี่ยวกับหัวใจ และไม่มีโรคประจำตัวที่กระทบต่อการทำงานของหัวใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจประมาณปีละ 1 ครั้งก็ถือว่า เพียงพอต่อการตรวจคัดกรองสมรรถภาพของหัวใจแล้ว

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสามารถตรวจได้กับคนทุกกลุ่ม ไม่เว้นแม้แต่หญิงตั้งครรภ์ซึ่งก็สามารถตรวจได้เช่นกัน

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การตรวจโรคหัวใจ

โรคหัวใจ หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยโรคหัวใจสามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น

การตรวจโรคหัวใจ

โรคหัวใจ หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยโรคหัวใจสามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น