Header

โรคซึมเศร้า

13 สิงหาคม 2567

พญ.ทินารมภ์ ชัยพุทธานุกูล พญ.ทินารมภ์ ชัยพุทธานุกูล

โรคซึมเศร้า รู้จักอาการ รับมือ รักษาได้

โรคซึมเศร้า รุมเร้าสังคมไทย

ช่วงหลายปีผ่านมา นับตั้งแต่วิกฤตการแพร่ระบาดโควิด-19
โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีผลกระทบต่อจิตใจและร่างกายของผู้ป่วยอย่างรุนแรง โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ในบทความนี้เราจะสำรวจสาเหตุ อาการ การวินิจฉัย และวิธีการรักษาโรคซึมเศร้าอย่างละเอียดเพื่อเพิ่มความเข้าใจและการรับมือกับโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจัยเสี่ยงโรคซึมเศร้า

ปัจจัยทางพันธุกรรม

โรคซึมเศร้าอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยทางพันธุกรรม หากมีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคซึมเศร้า ความเสี่ยงที่บุคคลในครอบครัวนั้นจะเป็นโรคนี้ก็จะเพิ่มขึ้น

ปัจจัยทางชีวภาพ

ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) และโดปามีน (Dopamine) สามารถทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ในช่วงการตั้งครรภ์หรือภาวะหมดประจำเดือน ก็สามารถเป็นสาเหตุได้เช่นกัน

ปัจจัยทางจิตวิทยา

ประสบการณ์ชีวิตที่ยากลำบาก เช่น การสูญเสียคนรัก การถูกทำร้าย หรือประสบการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดอย่างรุนแรง สามารถกระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้าได้

9 ข้อสังเกต เข้าข่ายโรคซึมเศร้า คุณมีอาการแบบนี้ใช่หรือไม่?

  1. มีอารมณ์ซึมเศร้าแทบทั้งวัน (ในเด็กและวัยรุ่นอาจเป็นอารมณ์หงุดหงิดก็ได้)
  2. ความสนใจหรือความเพลิดเพลินในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมากแทบทั้งวัน
  3. น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก (น้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือมีการเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมาก
  4. นอนไม่หลับ หรือหลับมากไป
  5. กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง
  6. อ่อนเพลียไร้เรี่ยวแรง
  7. รู้สึกตนเองไร้ค่า
  8. สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจไปหมด
  9. คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย

ลองสังเกตตนเองหรือคนรอบข้างเข้าข่ายโณคซึมเศร้าหรือไม่ ด้วย 9 ข้อสังเกตง่ายๆ ซึ่งเป็นข้อสำรวจที่แพทย์ใช้ในการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า หากมีอาการ 5 ข้อขึ้นไป และมีข้อ 1 และ/หรือข้อ 2 อยู่ด้วย หากอาการ 5 ใน 9 ข้อดังกล่าวเป็นยาวนานเกิน 2 สัปดาห์ ถือว่าเข้าข่ายเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า ควรปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อไป

 

อาการของโรคซึมเศร้า

อาการทางจิตใจ

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีอารมณ์เศร้า เบื่อหน่าย รู้สึกหดหู่ ไม่สนุกกับกิจกรรมที่เคยชอบ ขาดความสนใจในสิ่งรอบตัว รู้สึกผิดหวังกับตนเอง และมีความคิดเกี่ยวกับการทำร้ายตนเองหรือการฆ่าตัวตาย

อาการทางร่างกาย

โรคซึมเศร้าสามารถทำให้เกิดอาการทางร่างกายเช่น ความเหนื่อยล้า นอนไม่หลับหรือนอนหลับมากเกินไป เบื่ออาหารหรือกินมากเกินไป น้ำหนักลดหรือเพิ่มอย่างรวดเร็ว การเคลื่อนไหวเร็วกระวนกระวายหรือเคลื่อนไหวเชื่องช้ากว่าปกติ

อาการทางสังคม

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจรู้สึกโดดเดี่ยว ไม่อยากพบปะผู้คน หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่นๆ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาในที่ทำงานหรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

 

การตรวจวินิจฉัย รักษา ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

การตรวจประเมินโดยแพทย์

แพทย์จะทำการสัมภาษณ์ประวัติและอาการที่เกิดขึ้น มีการตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัย ประเมินความรุนแรงของโรคซึมเศร้าและกำหนดแผนการรักษาที่เหมาะสม

การใช้แบบสอบถามเพื่อคัดกรองและประเมินความรุนแรง 

หากมีอาการสงสัยอาจลองทำแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม PHQ-9 (Patient Health Questionnaire-9) เพื่อคัดกรองเบื้องต้นและประเมินความรุนแรงก่อนเข้าพบแพทย์ 

การตรวจเลือด

ในบางกรณี แพทย์อาจทำการตรวจเลือดเพื่อตรวจหาสาเหตุต่างๆที่สงสัยของโรคซึมเศร้า เช่น ความไม่สมดุลของฮอร์โมนไทรอยด์/ฮอร์โมนเพศ หรือสารเคมีในร่างกาย
 

การรักษาโรคซึมเศร้า

ปัจจุบันมีหลายวิธีในการรักษาโรคซึมเศร้าให้อาการดีขึ้นและหายได้

การใช้ยา

ยากลุ่มต้านเศร้า ใช้เพื่อปรับสารสื่อประสาทในสมองให้กลับสู่สมดุล โดยยากลุ่มต้านเศร้ามีหลายชนิด ชนิดของยาและระยะเวลาทานยาขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและความรุนแรงของโรคในแต่ละคน ควรทานยาตามระยะเวลาที่แพทย์ประเมินเพื่อลดโอกาสในการเกิดโรคซ้ำ


การรักษาด้วยจิตบำบัด

การทำจิตบำบัดมีหลายวิธี มักทำควบคู่กับการรักษาด้วยยา หรือหากอาการไม่มากหรือไม่รุนแรง อาจรักษาด้วยจิตบำบัดอย่างเดียวได้
การทำจิตบำบัดมีหลายวิธี เช่น การบำบัดด้วยการปรับพฤติกรรมและความคิด (Cognitive Behavioral Therapy: CBT) และการทำจิตบำบัดเรื่องสัมพันธภาพระหว่างผู้คน (Interpersonal Psychotherapy), การทำจิตบำบัดครอบครัว(Family Therapy) ช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีการจัดการกับความเครียดและปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าได้

การรักษาอื่นๆ

  • การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial magnetic stimulation; TMS) ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองด้วยการใช้ยา หรือมีข้อห้ามในการใช้ยา ทนผลข้างเคียงของยาไม่ได้
  • การรักษาด้วยไฟฟ้า (electroconvulsive therapy; ECT) ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงมาก ความเสี่ยงในการทำร้ายตนเองสูง

 
การดูแลตนเองและการป้องกันโรคซึมเศร้า

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยลดความเครียดและเพิ่มสารเคมีในสมองที่ช่วยให้รู้สึกดีขึ้น เช่น เอ็นดอร์ฟิน (endorphin)

การพักผ่อนและการนอนหลับ

การพักผ่อนที่เพียงพอและการนอนหลับที่มีคุณภาพช่วยให้ร่างกายและจิตใจฟื้นฟูได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงของการเกิดอาการซึมเศร้า 

การดูแลตนเอง

การรักษาสมดุลในการทำงานและชีวิตส่วนตัวให้มีเวลาทำกิจกรรมผ่อนคลาย กิจกรรมในการดูแลตนเอง เช่น การทำสมาธิ รู้ทันความรู้สึกอารมณ์ที่เข้ามา ฝึกทักษะในการจัดการอารมณ์

การมีคนรอบข้าง สิ่งแวดล้อมที่พร้อมให้ความรักความเข้าใจ

การมีคนรอบข้างที่เข้าใจ รับฟังและช่วยเหลือกันการแก้ไขปัญหา เป็นตัวช่วยสนับสนุนและป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า

 

กำลังใจคือสิ่งที่ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

หากเราพบหรือเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เราควรรู้จักวิธีการเยียวยาจิตใจ ให้ผู้ป่วยรู้สึกมีค่า มีกำลังใจในชีวิตมากขึ้น เริ่มได้จากการเป็นผู้ฟังที่ดี จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย และสามารถสื่อสารกับผู้ป่วยด้วยประโยคเหล่านี้

  • ฉันอาจจะไม่เข้าใจเธอ แต่ฉันเป็นห่วงและพร้อมรับฟังนะ
  • เธอไหวไหม มีอะไรให้ฉันช่วยบอกได้นะ
  • เธอไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวนะ เธอยังมีฉันอยู่ข้างๆเสมอนะ
  • เธออยากให้เราช่วยอะไร บอกได้นะ
  • ข้อความดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ป่วยซึมเศร้าไม่รู้สึกกดดัน และทำให้ผู้ป่วยทบทวนความคิดตนเองได้มากขึ้น ส่วนคำพูดที่ชวนให้ผู้ป่วยต้องคิดเปรียบเทียบ และยิ่งเป็นการซ้ำเติม ภาวะที่ผู้ป่วยประสบปัญหาอยู่ ควรจะต้องระวังประโยคเหล่านี้
  • คิดไปเองหรือเปล่า?
  • ใครๆก็ต้องผ่านเรื่องแบบมานี้แหละ
  • หยุดคิดเรื่องที่ทำให้เครียดสิ
  • มีคนที่แย่กว่าเราอีกตั้งเยอะ สู้ๆนะ
  • หัดช่วยตัวเองสิ เรื่องแค่นี้เอง

คลิกขอคำปรึกษา

 

ทำอย่างไร จึงห่างไกลจากโรคซึมเศร้า? 

หมั่นดูแลตนเองให้สุขภาพดี ด้วยการออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ

การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยลดความเครียดและเพิ่มสารเคมีในสมองที่ช่วยให้รู้สึกดีขึ้น เช่น เอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ หลีกเลี่ยง การใช้สารเสพติด ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และควรได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ให้เวลากับตนเอง ฝึกจิตใจให้คิดบวก

มุมมองความคิดจะทำให้เราปฏิบัติหรือแสดงออกมาต่อสิ่งรอบข้าง ดังนั้นควรฝึกมุมมองและความคิดให้พยายามคิดบวก มองโลกในแง่ดี ไม่กล่าวโทษตัวเอง ควรหางานอดิเรก ที่ส่งเสริมความคิด คลายเครียด หรือทำในสิ่งที่รู้สึกตัวเองมั่นใจ มีคุณค่า หลีกเลี่ยงให้ห่างจากคนที่ส่งเสริมให้คิดลบ

การรักษาสมดุลในการทำงานและชีวิตส่วนตัว

การรักษาสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Life Style) ที่ช่วยลดความเครียดและเพิ่มความสุขในการดำเนินชีวิต แบ่งเวลาให้ตัวเองไปทำกิจกรรมที่สนุกสนาน ผ่อนคลาย พยายามไม่พาตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดหรือดูข่าวร้ายที่ทำให้จิตใจหดหู่ หากมีการใช้ยารักษาโรคอยู่ไม่ควรหยุดยาเอง ยิ่งเป็นยารักษาโรคด้านจิตเวชควรทำตามคำแนะนำที่แพทย์สั่ง

คนรอบข้างสำคัญเสมอ

การมีคนรอบข้างที่เข้าใจและสนับสนุนช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่โดดเดี่ยวและสามารถรับมือกับโรคซึมเศร้าได้ดียิ่งขึ้น

บทสรุป

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทั้งจิตใจร่างกายและการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย หากมีความเข้าใจรู้จักสาเหตุ อาการ แนวทางการรักษาจะสามารถดูแลและช่วยเหลือผู้ป่วยให้หายได้ อาการต่างๆที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงอารมณ์เศร้าธรรมดาหรือการคิดไปเอง แต่เป็นโรคชนิดหนึ่งที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยให้คุณเข้าใจโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น หากมีคำถามหรือความต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยา
 



แพทย์ประจำศูนย์

คลินิกศัลยกรรมทั่วไป

พญ.ศิวาพร ผลดีนานา

ศัลยแพทย์เต้านมและต่อมไร้ท่อ

คลินิกทันตกรรม

แผนกกุมารเวช

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

07 พฤศจิกายน 2567

โรคซึมเศร้าหลังคลอด

โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression) เป็นภาวะทางจิตใจที่เกิดขึ้นกับคุณแม่หลังการคลอดบุตร โดยเฉพาะในช่วง 4-6 สัปดาห์แรกหลังคลอด แต่ในบางกรณีอาจเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีหลังจากการคลอด ภาวะนี้มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนและสภาพจิตใจ โดยมีอาการคล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้าทั่วไป เช่น รู้สึกเศร้า วิตกกังวล ไม่มีความสุข หรือรู้สึกว่าตนเองเป็นแม่ที่ไม่ดี

พญ.ทินารมภ์ ชัยพุทธานุกูล พญ.ทินารมภ์ ชัยพุทธานุกูล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

07 พฤศจิกายน 2567

โรคซึมเศร้าหลังคลอด

โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression) เป็นภาวะทางจิตใจที่เกิดขึ้นกับคุณแม่หลังการคลอดบุตร โดยเฉพาะในช่วง 4-6 สัปดาห์แรกหลังคลอด แต่ในบางกรณีอาจเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีหลังจากการคลอด ภาวะนี้มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนและสภาพจิตใจ โดยมีอาการคล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้าทั่วไป เช่น รู้สึกเศร้า วิตกกังวล ไม่มีความสุข หรือรู้สึกว่าตนเองเป็นแม่ที่ไม่ดี

พญ.ทินารมภ์ ชัยพุทธานุกูล พญ.ทินารมภ์ ชัยพุทธานุกูล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม