Header

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร ทางเลือกสำหรับผู้ป่วย โรคอ้วน และ เบาหวาน

04 ธันวาคม 2566

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร ทางเลือกสำหรับผู้ป่วย โรคอ้วน และ เบาหวาน

      หลายท่านเข้าใจว่า ‘การผ่าตัดกระเพาะ’ เป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ที่ป่วยที่เป็นโรคอ้วนเพื่อการลดน้ำหนักเท่านั้น แท้จริงแล้วการผ่าตัดกระเพาะยังสามารถรักษาโรคเบาหวานได้ ซึ่งเป็นโรคร่วมอันดับต้น ๆ ที่มีสาเหตุมาจากโรคอ้วน ขณะเดียวกันการผ่าตัดกระเพาะ นอกจากจะช่วยให้ลดปริมาณอาหารที่ทานลงแล้ว ยังมีส่วนในการปรับฮอร์โมนในทางเดินอาหาร ทำให้ควบคุมการทานอาหารได้ดีขึ้น ระดับความหิวลดลง ความอิ่มนานขึ้น ปรับการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ควบคู่กับน้ำหนักที่ลดลง ภาวะดื้อต่ออินซูลินก็จะดีขึ้นตามด้วยอย่างมีนัยสำคัญ นับเป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มีภาวะอ้วน ที่เห็นผลชัดเจนมากที่สุดวิธีหนึ่ง 

นพ.นรนนท์ บุญยืน ศัลยแพทย์ผ่าตัดผ่านกล้องและโรคอ้วน


นพ.นรนนท์ บุญยืน ศัลยแพทย์ผ่าตัดผ่านกล้องและโรคอ้วน ประจำโรงพยาบาลพิษณุเวช จ.พิษณุโลก ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ และ บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล หรือ PRINC อธิบายถึงโรคเบาหวาน ที่เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพในประเทศไทย โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยโรคอ้วนในปัจจุบัน มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับระดับนานาชาติ ว่า การผ่าตัดกระเพาะอาหาร หรือผ่าตัดโรคอ้วนลดน้ำหนัก สามารถช่วยรักษาภาวะดื้ออินซูลิน ส่งผลให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าการรับประทานยาหรือฉีดยาเพียงอย่างเดียว นำไปสู่ผลลัพธ์ในระยะยาว คือ โรคเบาหวานทุเลาลงหรือหายขาดได้  โดยในระยะยาว การผ่าตัดนั้น สามารถช่วยผู้ป่วยโรคอ้วนที่เป็นเบาหวาน ลดการใช้ยาหรือโอกาสหายขาดจากโรคเบาหวานได้ มากกว่า 50% เทียบกับ กลุ่มใช้ยาที่ไม่ผ่าตัด ซึ่งโอกาสหายขาดจากโรคเบาหวานนั้นเพียง 2% เท่านั้น 

นพ.นรนนท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก มีมานานกว่า 50 ปีในต่างประเทศ แต่เดิมในอดีตเป็นการผ่าตัดเปิดท้อง โดยมักมีแผลผ่าตัดขนาดใหญ่และเป็นการผ่าตัดที่มีความซับซ้อนสูงและมีผลแทรกซ้อนมาก จึงไม่ได้รับความนิยม ซึ่งเทคโนโลยีปัจจุบัน การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะผ่านกล้องเป็นที่ยอมรับทั่วไป มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน และการพัฒนาของเทคนิคการผ่าตัดจนเป็นที่ยอมรับมากขึ้น มีความปลอดภัยสูง ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้ไว  ภาวะแทรกซ้อนน้อย ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ใช้เวลาเพียง 1 วัน สามารถกลับมาลุกเดินได้ ใช้ชีวิตปกติได้ และสามารถหายจากโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากความอ้วนด้วยเช่นกัน

 

การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบส่องกล้องมีกี่วิธี ?

  1. ผ่าตัดแบบสลีฟ (Sleeve gastrectomy) เป็นการผ่าตัดที่ทำมากที่สุด ความซับซ้อนน้อยว่าวิธีอื่น  โดยการใช้อุปกรณ์ตัดเย็บแบบพิเศษ ทำการตัดแต่งกระเพาะให้เรียวตรงให้เหลือประมาณ 15-20% ส่งผลให้ลดฮอร์โมนความอยากอาหาร (Ghrelin) ทำให้ทานได้น้อยลง ผู้ป่วยจะหิวลดลงอย่างชัดเจน ร่วมกับทานได้น้อยลง  จึงทำให้สามารถลดน้ำหนักส่วนเกินได้ถึง 60-70% ภายใน 1 ปีหลังผ่าตัด โอกาสเกิดภาวะขาดสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามินต่างๆ มีน้อยกว่าผ่าตัดแบบอื่นๆ 
  2. ผ่าตัดแบบบายพาส (Roux-en-Y gastric bypass) เป็นการผ่าตัดที่มีความซับซ้อนขึ้น โดยการผ่าตัดกระเพาะให้เป็นกระเปาะ ประมาณ 25-30 ซีซี  ร่วมกับการผ่าตัดบายพาสลำไส้เล็ก หลังผ่าตัดจะสามารถช่วยเพิ่มระดับการทำงานของ ฮอร์โมนความอิ่ม ลดความหิว ทานได้น้อยลง และลดการดูดซึมอาหารลง สามารถลดน้ำหนักส่วนเกินได้ถึง 70-80% ซึ่งเหมาะกับคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานรุนแรง วิธีนี้สามารถช่วยเรื่องเบาหวานได้ดีกว่าวิธีแรก และผลลัพธ์ดีในผู้ป่วยอ้วนที่มีภาวะโรคกรดไหลย้อน แต่โอกาสเกิดภาวะ ขาดวิตามิน แร่ธาตุ มีมากกว่า โดยเฉพาะวิตามิน B12 ซึ่งจำเป็นต้องรับวิตามินเสริมต่อเนื่องทุก 6-12 เดือน
  3. ผ่าตัดแบบสลีฟพลัส (Sleeve gastrectomy Plus) เป็นวิธีการผ่าตัดที่พัฒนามาจาก การผ่าตัดแบบสลีฟ (Sleeve gastrectomy) และการผ่าตัดแบบบายพาสลำไส้เล็กให้ระยะดูดซึมสารอาหารสั้นลง ซึ่งผลลัพธ์สามารถลดน้ำหนักส่วนเกินได้ถึง 70-80% และผลลัพธ์การช่วยในโรคเบาหวาน ดีเทียบเท่าแบบบายพาส โดยวิธีสลีฟพลัสนี้ จะแบ่งเป็นวิธีย่อย ๆ ที่แต่งต่างกันได้อีกหลายวิธีตามความเหมาะสมของคนไข้ 

 

เหมาะกับใคร ?

สำหรับการผ่าตัดกระเพาะอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะกับทุกคน ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาอย่างละเอียด เพื่อเทียบประโยชน์ที่จะได้รับ กับความเสี่ยงของการผ่าตัด รวมถึงตรวจร่างกาย เพื่อดูความพร้อมของสภาพร่างกายในแต่ละบุคคล สามารถประเมินเบื้องต้นจากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) คือ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) >32.5 kg/m2 ร่วมกับมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น และค่าดัชนีมวลกาย (BMI) >37.5 kg/m2 เหล่านี้ เข้าเกณฑ์ที่แนะนำว่าสามารถผ่าตัดได้ กรณีอื่น ๆ สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เช่นกัน

 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดหลังการผ่าตัดกระเพาะ

ภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้นได้ตามอายุและโรคประจำตัวของผู้ป่วย ในผู้ป่วยโรคอ้วน ผู้ป่วยที่น้ำหนักมาก, โรคประจำตัวมาก หรือเคยผ่าตัดช่องท้องมาก่อน ก็จะมีความเสี่ยงจากการผ่าตัดมากขึ้น
ภาวะการขาดวิตามิน เกลือแร่ เนื่องจากการผ่าตัดกระเพาะทำให้ผู้ป่วยทานอาหารน้อยลง  ส่งผลให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณน้อยลงด้วย ฉะนั้นผู้ป่วยต้องได้รับวิตามิน แร่ธาตุบางชนิดทดแทนต่อเนื่อง แต่ในภาพรวม จากน้ำหนักที่ลดลง การดีขึ้นของโรคแทรกซ้อนจากความอ้วน การทานวิตามินทดแทนนั้น อาจคุ้มค่ากว่าการที่ต้องทานยารักษาโรคต่าง ๆ หรือฉีดยา เช่น ยาความดัน ยาเบาหวาน ยาไขมัน ไปตลอดชีวิต

นพ.นรนนท์ กล่าวว่า แม้ว่าการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักจะมีข้อดีมากมาย ทั้งในแง่การรักษาโรคแทรกซ้อนจากความอ้วน เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมัน รวมถึงการลดน้ำหนัก ปรับรูปร่าง  แต่การผ่าตัดอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะกับทุกคน ผู้ป่วยต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบจากทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อพิจารณาผลลัพธ์กับความเสี่ยง เพื่อเลือกวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสม โดยผู้ป่วยควรทราบถึงกระบวนการการผ่าตัดดังกล่าว และทราบถึงความเสี่ยงหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัด นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรทราบถึงสภาวะน้ำหนักส่วนเกิน และโรคร่วมหรือโรคแทรกซ้อนของตนเอง เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับตนเอง และได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด 


สำหรับผู้ที่มีความกังวลหรืออาการป่วยมีข้อบ่งชี้แนะนำให้เข้าปรึกษาแพทย์ได้ที่

โรงพยาบาลพิษณุเวช ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์

โทร 055-909000 ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

06 กันยายน 2567

พิษณุเวช ร่วมช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ประชาชนชาวบางระกำ บริจาคน้ำดื่ม 120 แพ็ค

นายแพทย์วิชญเวทย์ รักษ์กุลชน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิษณุเวช ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ นำทีมผู้บริหารและบุคลากร ร่วมส่งมอบน้ำดื่ม อาหารแห้ง ยาและเวชภัณฑ์ ให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่ บ้านบางแก้ว หมู่ที่ 3 ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก บริจาคน้ำดื่ม 600 มล. จำนวน 120 แพ็ค ข้าวสาร 5 กก. จำนวน 60 ถุง อาหารแห้ง จำนวน 60 ชุด พร้อมด้วยยาและเวชภัณฑ์ ให้กับประชาชนรวม 60 ครัวเรือน โดยมีคุณธิติมา คลองเมือง ปลัดอำเภอบางระกำ และคุณสัญชัย อ่อนอ่ำ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านบางแก้ว เป็นผู้รับมอบ ในวันที่ 5 กันยายน 2567

06 กันยายน 2567

พิษณุเวช ร่วมช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ประชาชนชาวบางระกำ บริจาคน้ำดื่ม 120 แพ็ค

นายแพทย์วิชญเวทย์ รักษ์กุลชน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิษณุเวช ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ นำทีมผู้บริหารและบุคลากร ร่วมส่งมอบน้ำดื่ม อาหารแห้ง ยาและเวชภัณฑ์ ให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่ บ้านบางแก้ว หมู่ที่ 3 ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก บริจาคน้ำดื่ม 600 มล. จำนวน 120 แพ็ค ข้าวสาร 5 กก. จำนวน 60 ถุง อาหารแห้ง จำนวน 60 ชุด พร้อมด้วยยาและเวชภัณฑ์ ให้กับประชาชนรวม 60 ครัวเรือน โดยมีคุณธิติมา คลองเมือง ปลัดอำเภอบางระกำ และคุณสัญชัย อ่อนอ่ำ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านบางแก้ว เป็นผู้รับมอบ ในวันที่ 5 กันยายน 2567

06 กันยายน 2567

พิษณุเวช จัดอบรมให้ความรู้เพื่อยกระดับด้านการรักษาความปลอดภัย ร่วมกับตำรวจท่องเที่ยวพิษณุโลก

เตรียมพร้อมรับมือทุกสถานการณ์ เพื่อความปลอดภัยของทุกท่าน โรงพยาบาลพิษณุเวช ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ ร่วมกับตำรวจท่องเที่ยวพิษณุโลก จัดอบรมให้ความรู้เพื่อยกระดับด้านการรักษาความปลอดภัย และฝึกทักษะการบริหารพื้นที่เพื่อตอบสนองภาวะวิกฤตจากเหตุกราดยิง การขู่หรือรอบวางระเบิดหรือการก่อการร้ายที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย ให้กับระดับหัวหน้าแผนกและผู้บริหารโรงพยาบาลได้เข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างมืออาชีพ วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2567 เวลา 9.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมนพ.สุเทพฯ ชั้น 9 อาคาร รพ.พิษณุเวช

06 กันยายน 2567

พิษณุเวช จัดอบรมให้ความรู้เพื่อยกระดับด้านการรักษาความปลอดภัย ร่วมกับตำรวจท่องเที่ยวพิษณุโลก

เตรียมพร้อมรับมือทุกสถานการณ์ เพื่อความปลอดภัยของทุกท่าน โรงพยาบาลพิษณุเวช ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ ร่วมกับตำรวจท่องเที่ยวพิษณุโลก จัดอบรมให้ความรู้เพื่อยกระดับด้านการรักษาความปลอดภัย และฝึกทักษะการบริหารพื้นที่เพื่อตอบสนองภาวะวิกฤตจากเหตุกราดยิง การขู่หรือรอบวางระเบิดหรือการก่อการร้ายที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย ให้กับระดับหัวหน้าแผนกและผู้บริหารโรงพยาบาลได้เข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างมืออาชีพ วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2567 เวลา 9.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมนพ.สุเทพฯ ชั้น 9 อาคาร รพ.พิษณุเวช

06 กันยายน 2567

พิษณุเวช ร่วมกิจกรรมเสวนา ชราชาเล้นจ์ เรื่อง กฎหมายวัยเกษียณและการเขียนแผนชีวิต

พิษณุเวช ร่วมกิจกรรมเสวนา ชราชาเล้นจ์ เรื่อง "กฎหมายวัยเกษียณและการเขียนแผนชีวิต" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนให้กับกลุ่มผู้สูงวัยและครอบครัว ได้ให้ความรู้และแนวทางในการเตรียมใช้ชีวิตช่วงวัย "การจากไปไม่ใช่เรื่องน่ากลัว.. แต่การจากไปแบบไม่เตรียมตัวน่ากลัวกว่า" จัดโดยสมาคมเครือข่ายไมซ์ภาคเหนือตอนล่าง ร่วมกับ พร้อมพ์พา

06 กันยายน 2567

พิษณุเวช ร่วมกิจกรรมเสวนา ชราชาเล้นจ์ เรื่อง กฎหมายวัยเกษียณและการเขียนแผนชีวิต

พิษณุเวช ร่วมกิจกรรมเสวนา ชราชาเล้นจ์ เรื่อง "กฎหมายวัยเกษียณและการเขียนแผนชีวิต" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนให้กับกลุ่มผู้สูงวัยและครอบครัว ได้ให้ความรู้และแนวทางในการเตรียมใช้ชีวิตช่วงวัย "การจากไปไม่ใช่เรื่องน่ากลัว.. แต่การจากไปแบบไม่เตรียมตัวน่ากลัวกว่า" จัดโดยสมาคมเครือข่ายไมซ์ภาคเหนือตอนล่าง ร่วมกับ พร้อมพ์พา

02 กันยายน 2567

พิษณุเวช จัดกิจกรรม Fat Fighter ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่ เป็นงานที่รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคอ้วน อย่างครบครันที่สุด

นพ.วีรพล ราชคำ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิษณุเวช ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ พร้อมทั้งผู้บริหารและบุคลากร ได้จัดงานเสวนา "Fat Fighter ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่" เป็นงานที่รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคอ้วน อย่างครบครันที่สุด ดูแลตั้งแต่หาสาเหตุ รักษาโรคร่วม การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ไปจนถึงการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร

02 กันยายน 2567

พิษณุเวช จัดกิจกรรม Fat Fighter ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่ เป็นงานที่รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคอ้วน อย่างครบครันที่สุด

นพ.วีรพล ราชคำ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิษณุเวช ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ พร้อมทั้งผู้บริหารและบุคลากร ได้จัดงานเสวนา "Fat Fighter ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่" เป็นงานที่รวมผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคอ้วน อย่างครบครันที่สุด ดูแลตั้งแต่หาสาเหตุ รักษาโรคร่วม การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ไปจนถึงการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร