พิษณุเวชไม่หยุดการพัฒนาคุณภาพ เพื่อผู้รับบริการและบุคลากรอันเป็นที่รักของเรา
29 พฤษภาคม 2566
พิษณุเวชไม่หยุดการพัฒนาคุณภาพ เพื่อผู้รับบริการและบุคลากรอันเป็นที่รักของเรา
สมาคมศูนย์กลางงานปราศจากเชื้อแห่งประเทศไทย จัดการประกวดนำเสนอผลงานวิจัย CQI R2R และนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับงานทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อ ที่สามารถนำมาพัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน สมาคมฯ จะคัดเลือกผลงาน นวัตกรรมต่างๆ โดยแบ่งตามระดับโรงพยาบาล (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ)
โรงพยาบาลพิษณุเวช จัดเป็นหน่วยบริการระดับตติยภูมิ ได้ผ่านเกณฑ์พิจารณาในหัวข้อ CSSA AWARD จากสมาคมศูนย์กลางงานปราศจากเชื้อแห่งประเทศไทย ซึ่งได้เข้าเยี่ยมสำรวจในวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 เวลา 8.00-16.00น. โดยคณะผู้เยี่ยมสำรวจจำนวน 2 คน ที่แผนก CSSD ของโรงพยาบาลพิษณุเวช โดยเข้าดูการทำลายเชื้อและปราศจากเชื้อของเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ตามมาตรฐานได้เพียงพอพร้อมใช้ทันเวลา ปลอดภัยกับผู้ป่วยและทีมแพทย์
CSSA Awards เป็นรางวัลที่ให้กับโรงพยาบาลที่สามารถพัฒนาและยกระดับด้านคุณภาพการทำให้ปราศจากเชื้อ
หน่วยบริการระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) มี 2 ระดับดังนี้
หน่วยบริการระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) หมายถึง โรงพยาบาลทั่วไปบางแห่ง โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลเฉพาะทาง หรือหน่วยบริการอื่นๆ หน่วยบริการของภาครัฐหรือเอกชน ซึ่งภารกิจของหน่วยบริการระดับนี้จะขยายขอบเขตการรักษาพยาบาลที่จำเป็นต้องใช้แพทย์เฉพาะทางสาขาต่อยอด (Sub-specialty) เช่น สาขาต่อยอดของอายุรศาสตร์ คือ อายุรศาสตร์โรคไต โรคหัวใจ โรคทางเดินหายใจ โรคระบบต่อมไร้ท่อ โรคเสือด ตจวิทยา โรคทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อ เป็นต้น สาขาต่อยอดศัลยศาสตร์ คือ ประสาทศัลยศาสตร์ ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ทรวงอก กุมารศัลยศาสตร์ ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หลอดเลือต ตกแต่ง เป็นต้น สาขาต่อยอดของกุมารเวชศาสตร์ คือระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือด เป็นต้น สาขาอื่น เช่น พยาธิวิทยา พยาธิวิทยากายวิภาค รังสีรักษา รังสีวินิจฉัย เวชศาสตร์นิวเคลียร์ มะเร็งวิทยา เป็นต้น กำหนดเป็นระดับ 3.1
หน่วยบริการระดับตติยภูมิระดับสูง (Excellence Center) หมายถึง โรงพยาบาลศูนย์บางแห่ง โรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลเฉพาะทาง หรือหน่วยบริการอื่นๆ หน่วยบริการของภาครัฐหรือเอกชน นอกจากจะทำหน้าที่หน่วยบริการระดับตติยภูมิแล้ว ยังกำหนดให้เป็นศูนย์การรักษาเฉพาะโรคที่ต้องใช้ทรัพยากรระดับสูง เช่น ศูนย์โรคหัวใจ (เน้นแพทย์ในสาขาศัลยศาสตร์ทรวงอก อายุรศาสตร์โรคหัวใจ อายุรศาสตร์ทางเดินหายใจ กุมารเวชศาสตร์ทางเดินหายใจ กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ) ศูนย์มะเร็ง (เน้นแพทย์ในสาขารังสีรักษา/รังสีวินิจฉัย/เวชศาสตร์นิวเคลียร์/สาขาพยาธิวิทยา/กายวิภาค อายุรศาสตร์โรคเลือด) ศูนย์อุบัติเหตุ (เน้นแพทย์นสาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ นิติเวช กุมาร ศัลยศาสตร์) ศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นต้น กำหนดระดับ Excellence Center