Header

ศูนย์ชีวาภิบาล

pain-and-palliative-care-center

Palliative Care การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง คืออะไร?
องค์การอนามัยโลกได้ให้นิยาม Palliative Care หรือการดูแลผู้แบบประคับประคอง ไว้ว่า เป็นกระบวนการดูแลผู้ป่วยในทุกกลุ่มวัย รวมถึงครอบครัว ที่กำลังเผชิญหน้ากับความเจ็บป่วยหรือโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หรือโรคที่คุกคามต่อชีวิต 

  • เป็นการดูแลที่มุ่งเน้น การเพิ่มคุณภาพชีวิตให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน ด้วยการประเมินผู้ป่วยอย่างถี่ถ้วน รอบด้าน ป้องกัน และบรรเทาความทุกข์ทรมานในทุกมิติทั้ง ทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ 
  • จัดการอาการรบกวน ที่สร้างความทุกข์ทรมาน เช่นอาการปวด เหนื่อย หายใจไม่อิ่ม  อ่อนเพลีย วิตกกังวล ความโศกเศร้า 
  • ดูแลผู้ป่วยร่วมกับทีมแพทย์ที่ดูแลโรคหลักและทีมสหสาขา จนถึงวาระสุดท้าย โดยไม่เร่งการเสียชีวิตในขณะเดียวกัน ไม่ยื้อด้วยการรักษาที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ รวมถึงทำให้เกิดความทุกข์ทรมานเพิ่มมากขึ้น

1.    การวางแผนการดูแลล่วงหน้า Advance Care planning (ACP) เป็นการพูดคุยระหว่างทีมแพทย์กับผู้ป่วย รวมถึงครอบครัวและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ใน 3 ประเด็นสำคัญ 

  • เพื่อค้นหาความต้องการ สิ่งที่มีความหมายและคุณค่าต่อผู้ป่วย เช่นชอบทำอะไร อยู่ที่ไหน กับใคร ยังอยากจะทำอะไร 
  • Advance directive หรือหนังสือแสดงเจตนารมณ์ ที่แสดงความต้องการหรือไม่ต้องการ รับการรักษาใดบ้างเมื่อวาระสุดท้ายมาถึง
  • การเลือกบุคคลที่จะทำหน้าที่หรือเป็นตัวแทนแสดงเจตนารมณ์ของผู้ป่วย หากผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารได้ หรือ Proxy nomination

2.    การจัดการอาการรบกวนที่สร้างความไม่สุขสบาย ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ด้วยการใช้ยาและไม่ใช้ยา ให้หมดไปหรือเหลือน้อยที่สุด โดยเฉพาะเรื่องความปวด เหนื่อย กินไม่ได้ ท้องผูก 
3.    การจำหน่ายกลับบ้านอย่างไร้รอยต่อ การติดตามเยี่ยมบ้าน ให้การดูแลร่วมกับครอบครัวกรณีผู้ป่วยประสงค์จะใช้เวลาสุดท้ายที่บ้าน และการกลับมารักษาต่อที่โรงพยาบาลได้ เมื่อมีความจำเป็น
4.    การดูแลผู้ป่วยระยะใกล้เสียชีวิตที่โรงพยาบาล การดูแลประสานหน่วยงานต่างๆหลังการเสียชีวิต  
5.    การดูแลจิตใจ ความโศกเศร้าจากการสูญเสีย ด้วยกิจกรรมบำบัดต่าง ๆ

  • ไพ่บอกความรู้สึก
  • ดนตรีบำบัด
  • การอ่านหนังสือ 
  • กิจกรรมอื่นๆ ที่มีความหมาย และคุณค่าต่อผู้ป่วยและครอบครัว เช่น พิธีกรรมทางศาสนา unfinished business ตอบสนองสิ่งที่คั่งค้างในใจ

  • ผู้ป่วยในทุกกลุ่มโรค ทุกช่วงวัย ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคเรื้อรัง มะเร็งระยะลุกลาม
  • กลุ่มโรคหรือภาวะที่รุนแรง มีอาการและการดูแลซับซ้อน กระทบกับคุณภาพใช้ชีวิต 
  • ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไปที่สนใจการวางแผนการดูแลล่วงหน้า Advance Care planning (ACP)

  • แพทย์ : มีทีมแพทย์เวชศาสตร์ประคับประคอง เวชศาสตร์ระงับปวด วางแผนการดูแลร่วมกับแพทย์เฉพาะทางในทุกสาขา จัดการอาการรบกวน
  • พยาบาล : ร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย ครอบครัว ร่วมวางแผนและให้การพยาบาลเพื่อเพิ่มความสุขสบาย เป็นเพื่อนช่วยฟัง ช่วยประสานงานให้ทีมแพทย์และทีมสหสาขา รวมถึงการดูแลที่บ้าน
  • เภสัขชกร : ร่วมวางแผนการใช้ยา ตรวจสอบ ติดตาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยา
  • นักกำหนดอาหาร : วางแผนการจัดอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาวะของผู้ป่วย เติมความสุขและชีวิตชีวาผ่านการรับประทานอาหาร
  • นักกายภาพบำบัด : ดูแลตรวจประเมิน ให้การดูแล รักษา และฟื้นฟูความบกพร่อง หรือความเสื่อมสภาพของร่างกายซึ่งเกิดจากภาวะของโรค และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ชีวาภิบาล

พญ.น้ำทิพย์ อินทับ

กุมารแพทย์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด

ศูนย์ชีวาภิบาล

พัชรพล เตยพรมทอง

แพทย์เวชศาสตร์ความปวด (วิสัญญีวิทยา)

ศูนย์ชีวาภิบาล

พญ.ยุวรินทร์ โฆษิตวรกิจกุล

เวชศาสตร์ระงับปวด