Header

Homocysteine ภัยร้ายที่อยู่ในเลือด

ตรวจภาวะความเสี่ยงการอุดตันหลอดเลือดที่หัวใจและสมอง

Homocysteine เป็นกรดอะมิโนที่จะสร้างกรดอะมิโนตัวอื่นโดยอาศัยวิตามิน บี6 บี12และกรดโฟลิก ถ้าขาดวิตามินดังกล่าว Homocysteine จะไม่ถูกเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนตัวอื่น ทำให้มีสาร Homocysteine สูงในเลือดและจะทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดการกระตุ้นการอุดตันของลิ่มเลือดตามมา Homocysteine เป็นกรดอะมิโนที่จะสร้างกรดอะมิโนตัวอื่นโดยอาศัยวิตามิน บี6 บี12และกรดโฟลิก ถ้าขาดวิตามินดังกล่าวเป็นสารที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผนังด้านในของหลอดเลือดโดยตรง ดังนั้น ถ้ามี Homocysteine ในเลือดเพิ่มสูงขึ้นเป็นเวลานานติดต่อกัน ผนังด้านในหลอดเลือดจะเริ่มขรุขระและเริ่มมีตะกรันไขมันมาสะสม ในที่สุดก็จะเกิดการอุดตันหรือตีบแคบลง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อหลอดเลือดทั่วร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลอดเลือดที่มีขนาดเล็ก เช่น หลอดเลือดหัวใจ นำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด และหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้มีอาการ อัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้เร็วกว่าวัยอันควร

ปัจจัยเสี่ยงโดยปกติ ปัจจัยเสี่ยงหลักต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ จะมีเรื่องของ อายุ, ความดันโลหิต,ระดับไขมันดี น้อย, การสูบบุหรี่ หรือ มีประวัติญาติสายตรงที่เป็นโรคนี้ปัจจุบันเราพบอีกปัจจัยความเสี่ยงที่ไม่เกี่ยวข้องกับรายการที่ว่าข้างต้นเลยคือระดับสารHomocystein ที่สูง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ Homocysteine ในเลือดสูงนี้นอกจากจะเกิดจากการขาดวิตามินบี 6บี 12 และ กรดโฟลิกแล้วยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น กรรมพันธุ์, ร่างกายได้รับ เมทิโอนีน(จากเนื้อสัตว์ ไข่ นม ชีส) มากเกินไป, การขาดการออกกำลังกาย, การเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคไตโรคตับ เบาหวาน มะเร็ง และการได้รับยาบางชนิด เช่น ยากันชัก ยาลดกรด และการได้รับสารกระตุ้น เช่น แอลกอฮอล์ กาแฟ บุหรี่

เมื่อทำการตรวจเลือดแล้วพบว่ามีระดับสาร Homocysteine สูงในเลือด สามารถลดระดับและป้องกันด้วยการเสริม วิตามิน บี6 บี12 กรดโฟลิก หรือ หากไม่ชอบอาหารเสริม ก็ควรรับประทานจากแหล่งธรรมชาติ สำหรับวิตามินบี 6ได้แก่ เนื้อหมู เนื้อวัว ปลา ข้าวซ้อมมือ ถั่วเหลือง ถั่วลิสงจมูกข้าว กล้วยหอม ธัญพืช ผักและผลไม้ต่างๆ วิตามินบี 12 พบมากในเนื้อหมู ปลา ชีส นม และผลิตภัณฑ์จากนม ส่วนกรดโฟลิก พบมากในผักสีเขียวทุกชนิด ผลไม้พวกส้ม มะเขือเทศ และอาหารประเภททั่วไป



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์