Header

เจ็บปวดแบบไหน? ต้องรักษา

เจ็บปวดแบบไหน ต้องรักษา

ความปวดแบบเฉียบพลัน(Acute Pain) คืออาการเกิดขึ้นยังไม่ถึง 3 เดือน อาทิ

  • ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเฉียบพลันทั่วไป เช่น ปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย หรือเป็นส่วน ๆ
  • ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังจากผ่าตัดที่มีความซับซ้อน เช่น ปวดกระดูก ปวดแผลผ่าตัดเวลาหายใจ

ความปวดแบบเรื้อรัง (Chronic Pain) คือ ความปวดที่เป็นต่อเนื่องมาแล้วมากกว่า 3 เดือน อาทิ

  • ผู้ป่วยที่มีอาการปวดในระดับยากต่อการควบคุม เช่น ผู้ป่วยที่ปวดจากเหตุพยาธิสภาพประสาท (Neuropathic Pain) ปวดเส้นประสาทเหตุจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ จากการติดเชื้อ เช่น โรคงูสวัด
  • ผู้ป่วยที่ปวดรุนแรงจากตับอ่อนอักเสบที่ต้องการยาแก้ปวดชนิดแรง หรือต้องการทำหัตถการเพื่อสกัดกั้นเส้นประสาท (Nerve Block) ฯลฯ
  • กลุ่มผู้ป่วยจากอาการปวดหลังเรื้อรัง (Chronic back pain)
  • ผู้ป่วยปวดจากโรคหลอดเลือด (Vascular) ขาดเลือด เช่น เป็นแผลจากเบาหวานซึ่งเข้ารับการรักษากับแพทย์เฉพาะทางแล้วยังมีอาการปวดอยู่
  • ผู้ป่วยที่มีอาการปวดต่อเนื่องหลังจากผ่าตัดเป็นระยะเวลานาน (Post - Surgical Pain Syndrome) เช่น ปวดภายหลังตัดแขนขา(Post Amputation Pain Syndrome) , ปวดเรื้อรังหลังจากผ่าตัดเปลี่ยนข้อ
  • ผู้ป่วยโรคกลุ่มไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) ที่มีอาการปวดตามกล้ามเนื้อทั่วทั้งตัว

ความปวดจากมะเร็ง (Cancer Pain) อาการปวดผู้ป่วยมะเร็ง (Cancer Pain) เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น

  • อาการปวดจากก้อนมะเร็ง เพราะก้อนมะเร็งไปกดทับเส้นประสาทและลุกลามไปที่กระดูก
  • อาการปวดท้อง และหรือปวดหลังที่เกิดจากมะเร็งช่องท้องส่วนบน เช่น มะเร็งตับอ่อน
  • อาการปวดจากการรักษามะเร็ง เช่น การได้รับยาเคมีบำบัด การรักษาด้วยวิธีฉายแสง หรือผ่าตัด ฯลฯ
  • ในส่วนการดูแลผู้ป่วยที่มีการลุกลามของโรคมะเร็ง ยังให้คำปรึกษาตามแนวทางการดูแลประคับประคอง ซึ่งทำให้ครอบคลุม Total Pain อีกด้วย

การให้บริการบรรเทาความปวดแบบเฉียบพลัน (น้อยกว่า 3 เดือน)

  • อาการปวดหลังผ่าตัดที่มีความซับซ้อน เช่น อาการปวดภายหลังจากการผ่าตัดรยางค์ อาการปวดจากการผ่าตัดใหญ่
  • อาการปวดเฉียบพลันทั่วไป เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อตามร่างกาย

การให้บริการบรรเทาความปวดแบบเรื้อรัง (มากกว่า 3 เดือน)

  • อาการปวดจากเส้นประสาท เช่น อาการปวดจากการติดเชื้องูสวัด อาการปวดจากโรคเบาหวาน
  • อาการปวดจากโรคมะเร็ง
  • อาการปวดคอเรื้อรัง
  • อาการปวดหลังเรื้อรัง
  • อาการปวดไหล่เรื้อรัง
  • อาการปวดเข่าเรื้องรัง
  • ภาวะปวดเรื้อรังจากสาเหตุอื่น ๆ

หัตการบำบัดความปวด

  • Trigger point injection เป็นการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อหดเกร็งตัวจากภาวะ myofascial pain syndrome ด้วยเข็มและยา
  • Epidural steroid injection เป็นการบรรเทาอาการปวดคอหรือหลังที่มีอาการร้าวไปแขนหรือขาตามแนวของเส้นประสาทด้วยการใช้ฉีดยาเข้าที่ช่องเหนือไขสันหลัง
  • Facet joint injection / Medial branch block เป็นการบรรเทาอาการปวดจากข้อต่อ facet ที่คอหรือหลังซึ่งเป็นจาการปวดที่ไม่ร้าวไปแขนหรือขาตามแนวของเส้นประสาทด้วยการฉีดยาที่ข้อต่อ facet หรือเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงข้อต่อ facet
  • Peripheral nerve block เป็นการบรรเทาอาการปวดจากเส้นประสาทโดยการฉีดยาที่ยังบริเวณเส้นประสาทส่วนปลาย
  • Sympathetic block เป็นการบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ sympathetic โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะอาการปวดเฉพาะที่อย่างซับซ้อน (complex regional pain syndrome) ที่มีอาการปวดแขนหรือเรื้อรังที่อาจเกิดภายหลังจากการได้รับการบาดเจ็บ ด้วยการฉีดยาไปยังระบบประสาทอัตโนมัติ sympathetic ที่ให้แขนงมาเลี้ยงบริเวณที่ปวด
  • Celiac plexus neurolysis เป็นการบรรเทาอาการปวดรุนแรงจากมะเร็งช่องท้องส่วนบน เช่น มะเร็งตับอ่อน โดยการฉีดยาไปยังกลุ่มเส้นประสาทบริเวณ celiac plexus
  • Superior hypogastric block/neurolysis ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรง จากโรคทางรังไข่และมดลูก , ผู้ป่วยปวดท้องน้อยเรื้อรัง
  • Ganglion impar block/neurolysis ในผู้ป่วยที่มัอาการปวดจากโรคทางระบบสืบพันธ์ เช่นมะเร็งปากมดลูก

 

คลินิกระงับปวด (Pain Clinic) โทร 1208 กด 3 หรือ055-90-9000

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์