Header

MFM ดูแลครรภ์คุณแม่ตั้งแต่วันแรกจนเจ้าตัวเล็กคลอด

พญ.วิลาสินี ชาญสินธุ์ พญ.วิลาสินี ชาญสินธุ์

MFM ดูแลครรภ์คุณแม่ตั้งแต่วันแรกจนเจ้าตัวเล็กคลอด

“อายุเยอะ ภาวะครรภ์เสี่ยง วางใจให้ MFM ดูแล” ความกังวลถึงความแข็งแรงและความปลอดภัยของลูกน้อยในครรภ์ เป็นสิ่งที่คุณแม่มือใหม่ทุกคนต่างต้องเผชิญ โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง ยิ่งต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะช่วงเวลาของการตั้งครรภ์คือช่วงเวลาที่คุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ต้องได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง การได้รับการดูแลโดยแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (MFM) จึงมีความสำคัญอย่างมากในการดูแลแบบเชิงลึก เพื่อให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรงและทารกในครรภ์ลืมตาดูโลกอย่างราบรื่น พร้อมจะเติบโตอย่างมีคุณภาพในอนาคต

 

หมอ MFM คือใคร ?

MFM หรือ Maternal-Fetal Medicine คือ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ เป็นสูติแพทย์ที่ทำการศึกษาต่อยอดภายหลังจากที่จบการฝึกอบรมสูติศาสตร์นรีเวชวิทยาแล้ว โดยจะทำหน้าที่ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง เน้นการดูแลทั้งมารดาและทารกในครรภ์แบบเชิงลึก ตรวจหาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น อัลตราซาวนด์ดูความสมบูรณ์ของทารก ประเมินการรักษา ป้องกันความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนให้คำปรึกษาและคำแนะนำอย่างใกล้ชิดตลอดการตั้งครรภ์ เพื่อให้คุณแม่และเจ้าตัวน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรงและปลอดภัย

 

ครรภ์เสี่ยง หมายถึงอะไร ?

ครรภ์เสี่ยง หมายถึง การตั้งครรภ์ที่มีภาวะหรือปัจจัยซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อแม่ และทารกในครรภ์ โดยอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือเสียชีวิตได้ ทั้งในช่วงเวลาระหว่างตั้งครรภ์ ขณะคลอด  หรือหลังคลอด

 


ภาวะครรภ์เสี่ยงขณะตั้งครรภ์ วางใจให้ “หมอ MFM” ดูแล

หน้าที่หลักของ MFM มีอะไรบ้าง

ให้คำปรึกษา ดูแลครรภ์และทำคลอด

  • ดูแลการตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูงหรือมีภาวะแทรกซ้อน ทั้งในสตรีตั้งครรภ์และ/หรือทารกในครรภ์ ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ ตลอดจนถึงการคลอดบุตร และหลังการคลอดบุตรสตรีตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัว: เบาหวาน, ความดันเลือดสูง, ภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปกติ (SLE, APS) เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อน: ครรภ์เป็นพิษ,ครรภ์เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด, แท้งคุกคาม, แท้งบ่อย, รกเกาะต่ำ เป็นต้น
  • ทารกที่มีความพิการ, ทารกตัวเล็กกว่าปกติ (IUGR)
  • ครรภ์แฝดโดยเฉพาะแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น ทารกมีการถ่ายเทเลือดระหว่างกัน, ทารกเติบโตขนาดไม่เท่ากัน เป็นต้น

ตรวจทารกในครรภ์เพื่อหาความผิดปกติอย่างละเอียดซึ่งสำหรับคุณแม่ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูงด้วยแล้ว จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด

  • ตรวจอัลตร้าซาวน์เพื่อหาความพิการของทารกในครรภ์ (Anomaly scan)
  • ตรวจอัลตร้าซาวน์เพื่อประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ (Growth and well-being scan)
  • ตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกในครรภ์ โดยการเจาะน้ำคร่ำ, เจาะเลือดจากสายสะดือทารก หรือ การตรวจชิ้นเนื้อรก
  • ตรวจคัดกรองและตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะดาวน์ซินโดรม, โรคทางพันธุกรรมในครอบครัว และโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย

ดูแลการตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด หรือ มีภาวะปากมดลูกสั้น

  • ผ่าตัดเย็บปากมดลูก, ใส่ห่วงรัดปากมดลูก, การรักษาด้วยยา
  • รักษาภาวะแทรกซ้อนหรือความผิดปกติของทารกระหว่างที่อยู่ในครรภ์มารดา (Fetal therapy) เช่น ทารกบวมน้ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ  ทารกแฝดที่แย่งเลือดกัน เนื้องอกรก ความพิการบางอย่าง เก็บตัวอย่าส่งตรวจจากในครรภ์ เช่น การเจาะชิ้นเนื้อรก การเจาะน้ำคร่ำ และการเจาะเลือดสายสะดือทารก ยุติการตั้งครรภ์ตามข้อบ่งชี้การแพทย์ (Termination of pregnancy)

ช่วยเหลือทารกในครรภ์ที่ผิดปกติ ได้ก่อนคลอด

หมอ MFM สามารถรักษาทารกในครรภ์ที่มีความผิดปกติ ในความผิดปกติของโรคที่สามารถให้การช่วยเหลือหรือแก้ไขได้ตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ก่อนการคลอด เช่น การให้เลือดผ่านทางสายสะดือทารกในทารกที่มีภาวะเลือดจางอย่างรุนแรง, การให้ยารักษาทารกที่มีหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ, การจี้ทำลายก้อนเนื้องอกรกที่แย่งเลือดจากทารกในครรภ์ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าสิ่งจำเป็นที่สุดของคุณแม่ที่มีแนวโน้มตั้งครรภ์เสี่ยง คือการได้รับการตรวจคัดกรองเพื่อยืนยันว่าการตั้งครรภ์มีความปลอดภัยอย่างแท้จริง จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เพราะหลายโรคสามารถดูแลรักษาตั้งแต่ในครรภ์ ขอเพียงคุณแม่อย่าเพิ่งท้อและขอคำปรึกษาจากแพทย์อย่างละเอียด ชีวิตน้อยๆก็อาจจะสามารถดำเนินต่อไปได้
 

 

คุณแม่ที่มีครรภ์เสี่ยงสูงคือกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (MFM) ได้แก่

กลุ่มคุณแม่ครรภ์เสี่ยงสูง

  • คุณแม่อายุมากกว่า 35 ปี
  • คุณแม่อายุน้อยกว่า 18 ปี
  • คุณแม่ครรภ์แฝด โดยเฉพาะแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกันจะเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น ทารกมีการถ่ายเทเลือดระหว่างกัน ทารกเติบโตขนาดไม่เท่ากัน เป็นต้น
  • คุณแม่ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคไต ลมชัก โรคหอบหืด โรคมะเร็ง
  • คุณแม่หมู่เลือดผิดปกติคือ Rh negative ที่มี Isoimunization
  • คุณแม่ติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
  • คุณแม่ที่มีประวัติรับยาหรือสารเคมีที่อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์
  • คุณแม่ที่มีภาวะปากมดลูกสั้น
  • คุณแม่ที่มีภาวะแท้งคุกคาม แท้งบ่อย รกเกาะต่ำ
  • คุณแม่ที่เคยคลอดบุตรก่อนกำหนด
  • คุณแม่ที่เคยคลอดทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
  • คุณแม่ที่เคยคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย คลอดทารกตัวเล็กกว่าปกติ (IUGR)
  • คุณแม่ที่คลอดบุตรมีความพิการแต่กำเนิด
  • คุณแม่ที่มีโรคทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย
  • คุณแม่ครรภ์เป็นพิษ

ตรวจคัดกรองกับ MFM

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรตรวจคัดกรองด้วยการอัลตราซาวนด์กับแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (MFM) อย่างน้อย 3 ครั้ง ได้แก่

  • ครั้งที่ 1 สัปดาห์ที่ 11 – 14 ตรวจเพื่อดูพัฒนาการของทารก หากพบความผิดปกติสามารถหาทางแก้ปัญหาได้โดยเร็ว ช่วยลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น
  • ครั้งที่ 2 สัปดาห์ที่ 18 – 23 ตรวจเพื่อค้นหาความผิดปกติของโครงสร้างทารก หากไม่พบความผิดปกติในช่วงนี้ค่อนข้างมั่นใจได้ว่าทารกแข็งแรง โดยจะมีการตรวจรก เนื้องอก ความผิดปกติภายในมดลูก วัดความยาวของปากมดลูกเพื่อตรวจเช็กความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดของแม่ตั้งครรภ์ด้วย
  • ครั้งที่ 3 สัปดาห์ที่ 32 – 36 ตรวจเพื่อดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ตำแหน่งรก ปริมาณน้ำคร่ำ ความผิดปกติบางอย่างอาจพบเจอในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์แม้โอกาสที่เกิดขึ้นจะไม่มากนัก

การดูแลแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์กับแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (MFM) เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงจะช่วยให้สามารถดูแลตนเองและลูกน้อยได้ถูกต้อง อีกทั้งยังสามารถแก้ปัญหาความผิดปกติได้ทันท่วงที นอกจากนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ควรใส่ใจดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเบา ๆ เลี่ยงการเอกซเรย์ สารเคมี ควัน และยาที่อาจมีผลกับการตั้งครรภ์ ที่สำคัญปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

สูติกรรม - ฝากครรภ์

สถานที่

เวลาทำการ

08:00 - 17:00 น.

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520201, 520202

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์สุขภาพสตรี

พญ.ลดาพร วงษ์กัณหา

สูติ-นรี เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

ศูนย์สุขภาพสตรี

พญ.ชลธิชา กรมประสิทธิ์

สูตินรีแพทย์เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

ศูนย์สุขภาพสตรี

พญ.วิลาสินี ชาญสินธุ์

สูติ-นรี เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์