Header

เครื่องช่วยแบบไหนที่เหมาะกับหูของคุณ

hearingaid

เมื่อถึงเวลาหนึ่งที่หูของคนเราจะเสื่อมสภาพไปตามอายุ เราเลยต้องพึ่งพาอุปกรณ์ช่วยฟังหรือเครื่องช่วยฟังเพื่อทำให้การใช้ชีวิตกลับมาเป็นตามปกติ ซึ่งการเลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะแก่สภาวะการได้ยินกับหูเรานั้นเราควรจะต้องเลือกแบบไหน หลายคนอาจจะไม่ทราบ บ้างก็ค้นหาค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็หรือบางคนอาจซื้อมาเครื่องช่วยฟังมาใส่เลยเพราะเห็นว่าราคาถูกดี และตัวเครื่องก็เล็กด้วย คนอื่นสังเกตุไม่เห็นแน่ ๆ แต่กลับส่งผลร้ายต่อหูของคนเหล่านั้น วันนี้ศูนย์การได้ยินเดียร์จะมาให้คำตอบกับเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมกับหูของแต่ละว่า สูญเสียการได้ยินขนาดไหนถึงจะเหมาะสมกับเครื่องช่วยฟัง

ประเภทของเครื่องช่วยฟัง ประเภทของเครื่องช่วยฟังนั้นส่วนใหญ่จะสามารถจำแนกได้ดังนี้

1.แบบทัดหลังหูหรือ BTE(Behide The Ear)
เป็นเครื่องช่วยฟังที่สวมใส่บริเวณหลังหูตัวรับเสียงจะอยู่บริเวณด้านหลังหู ทำหน้าที่ขยายเสียงและส่งผ่านเสียงไปยังแบบพิมพ์หู ส่วนที่เกี่ยวหูของเครื่องนั้นจะต่อกับท่อซี่งมากจากแบบพิมพ์หูที่ทำขึ้นเฉพาะบุคคล เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใส่สบายและช่วยลดการเกิดเสียงรบกวนได้อีกด้วย

2.แบบทัดหลังหูหรือ RIC(Receiver In The Cannal)
เป็นเครื่องช่วยฟังที่สวมใส่บริเวณหลังหู ตัวรับเสียงนั้นจะอยู่ในช่องหูมีท่อส่งสัญญาณมีลักษณะแนบกับรอยพับของหูทำให้สังเกตได้ยากเวลาสวมใส่

3.แบบใส่ในช่องหู หรือ CIC(Completely In Cannal)
เป็นเครื่องช่วยฟังที่สวมใส่ด้านในช่องหู มีขนาดที่เล็กพิเศษ แม้ว่าจะต่างกันในเรื่องขนาดแต่เครื่องช่วยฟังชนิดนี้ถือเป็นเทคโนโลยีล่าสุดที่มีคุณภาพไม่แพ้เครื่องช่วยฟังขนาดใหญ่ การที่มีขนาดเล็กมากจึงทำให้ยากต่อการสังเกตว่าใส่เครื่องช่วยฟัง เพราะด้วยตำแหน่งที่ลึกอยู่ด้านในช่องหู

4.แบบใส่ในช่องหู หรือ ITC(In The Earl)
เป็นเครื่องช่วยฟังที่สวมใส่ด้านในช่องหูมีขนาดเล็ก และใส่อยู่ในช่องหูโดยไม่มีส่วนประกอบอื่น ๆ รูปร่างจะแตกต่างกันไปตามลักษณะของช่องหูแต่ละคน สามารถควบคุมแบบอัตโนมัติ แต่ในบางชนิดก็อาจมีปุ่มควบคุมความดังอยู่ 



เริ่มต้นที่ระดับการสูญการได้ยินขั้นเล็กน้อย - เริ่มต้นที่การสูญเสียการได้ยินตั้งแต่ 26 – 40 เดซิเบล สามารถใส่เครื่องช่วยฟังในช่องหูได้ (CIC) หรือเครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหู แบบ BTE หรือ RIC จะขึ้นอยู่กับการใช้งาน ว่าชอบใส่เครื่องช่วยฟังแบบไหน สะดวกหยิบจับแบบใด
ระดับการสูญการได้ยินระดับปานกลาง - เริ่มต้นที่การสูญเสียการได้ยินตั้งแต่ 41 – 55 เดซิเบล สามารถใส่เครื่องช่วยฟังในช่องหูแบบ CIC พอได้อยู่ แต่จะแนะนำเป็นแบบ ITC จะดีกว่าสำหรับเครื่องช่วยฟังในช่องหู ส่วนเครื่องช่วงฟังทัดแบบหลังใบหู แบบ BTE หรือ RIC จะแล้วแต่การใช้งานเช่นเดียวกันว่าชอบแบบไหน
ระดับการสูญการได้ยินระดับรุนแรง - เริ่มต้นที่การสูญเสียการได้ยินตั้งแต่ 56 – 70 เดซิเบล สามารถใส่เครื่องช่วยฟังในช่องหู แบบ ITE ได้อย่างเดียวเพราะจะเป็นแบบที่มีขนาดเครื่องช่วยฟังในช่องหูที่ขนาดใหญ่ที่สุด ส่วนเครื่องช่วยแบบทัดหลังหูนั้นยังสามารถใช้แบบ RIC และ BTE ได้อยู่  
ระดับการสูญการได้ยินระดับรุนแรงมาก - เริ่มต้นที่การสูญเสียการได้ยินตั้งแต่ 71 – 90 เดซิเบล จะต้องใช้เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหูอย่างเดียวเพราะหากใช้เครื่องช่วยฟังแบบในช่องหู อาจจะทำให้กำลังขยายไม่เพียงพอแล้ว สามารถเลือกเครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหูได้ทั้งแบบ BTE และ RIC หากเครื่องช่วยฟังแบบ RIC จะต้องใช้ลำโพงที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ 
ระดับการสูญการได้ยินขั้นถาวร - เริ่มต้นที่การสูญเสียการได้ยินตั้งแต่ 90 เดซิเบลขึ้นไป จำเป็นจะต้องใช้เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหูอย่างเดียว และเครื่องช่วยฟังอาจจะต้องมีขนาดที่ใหญ่กว่าปกติ  เพื่อให้มีกำลังขยายเพียงพอต่อการสูญเสียการได้ยิน นั้นคือเครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู RIC

การเลือกเครื่องช่วยฟังที่ดี และเหมาะสมกับตัวเรา เราไม่ได้นึกถึงเฉพาะเรื่องการสูญเสียการได้ยินเท่านั้น เรายังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เราจำเป็นจะต้องคำนึงถึงอยู่ด้วย เช่นเรื่องความสวยงาม ขนาดเครื่องช่วยฟัง ความสามารถในการหยิบจับเครื่องช่วยฟัง ว่ามีปัญหามือแข็ง หรือมือสั่นหรือเปล่า และการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อจะได้นำมาปรับใช้เครื่องช่วยฟังให้เข้ากับการดำเนินชีวิตในแต่ละวันได้

ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์การได้ยินพิษณุเวช-เดียร์เฮียร์ริ่ง

สถานที่

อาคาร 4 ชั้น 1

เวลาทำการ

09:00 - 18:00 น.

เบอร์ติดต่อ

055-90-9000 ต่อ 520101, 520102

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์