Header

โรคเก๊าต์

18 มิถุนายน 2567

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

อาการอักเสบตามข้อนิ้วของผู้ป่วยโรคเก๊าต์

โรคเก๊าต์ (Gout) เป็นโรคข้อซึ่งเกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานจนตกตะกอน ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบ ซึ่งโรคนี้รักษาหายขาดได้  หากได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมและต่อเนื่องโรคเกาต์ เป็นโรคข้อซึ่งเกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานจนตกตะกอน ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบ ซึ่งโรคนี้รักษาหายขาดได้  หากได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมและต่อเนื่อง

โรคเก๊าต์ อาการเป็นอย่างไร?

อาการของโรค แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน มักเกิดที่ข้อหัวแม่เท้า หรือข้อเท้า ข้อปวดบวมแดงรุนแรงใน 24 ชั่วโมงแรก หากไม่รักษาสามารถหายได้เองใน 5-7 วัน และส่วนใหญ่จะเป็นซ้ำ ๆ ระยะไม่มีอาการ หลังจากข้ออักเสบหาย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใด ๆ สุดท้ายคือ ระยะเรื้อรัง หลังจากมีอาการซ้ำ 3-5 ปี ข้ออักเสบจะมีจำนวนมากขึ้น ลามมาที่ข้ออื่น ๆ และเกิดก้อนจากผลึกของกรดยูริกขนาดโตขึ้นเรื่อย ๆ อาจแตกเห็นเป็นผงขาวนวลคล้ายชอล์ก

กรดยูริก ส่วนใหญ่ร่างกายสร้างเอง มีเพียงส่วนน้อยไม่ถึงร้อยละ 20 ที่ได้รับจากอาหาร คนปกติค่าในเลือดจะอยู่ในระดับไม่เกิน 7 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในเพศชายและหญิงวัยหลังหมดประจำเดือน ส่วนหญิงในวัยที่ยังมีประจำเดือนจะมีระดับไม่เกิน 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ค่าที่สูงเกินกว่าระดับดังกล่าวถือว่ามีภาวะกรดยูริกสูง

ภาวะกรดยูริกสูงนี้สัมพันธ์กับภาวะอ้วน, พันธุกรรมในครอบครัว, ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ และยาแอสไพริน, โรคร่วม เช่น ความดันโลหิตสูง, อาหารที่มีกรดยูริกสูง และเหล้าเบียร์ ดังนั้น ควรลดน้ำหนักตัว, งดเหล้า-เบียร์ และ ลดปริมาณอาหารที่มีกรดยูริกสูงลง

โรคเก๊าต์ ห้ามกิน(หลีกเลี่ยง)อะไร?

1. หลีกเลี่ยง(งด) อาหารที่มีพิวรีนสูง และลดอาหารที่มีพิวรีนปานกลาง

  • อาหารที่มีพิวรีนสูงได้แก่
    • เครื่องในสัตว์
    • กะปิ, ยีสต์
    • ปลาดุก, กุ้ง, หอย, ปลาอินทรีย์, ปลาไส้ตัน
    • ปลาซาร์ดีน, ไข่ปลา
    • ชะอม, กระถิน, เห็ด
    • ถั่วแดง, ถั่วเขียว, ถั่วเหลือง, ถั่วดำ
    • สัตว์ปีก เช่น เป็ด, ไก่, ห่าน
    • น้ำสกัดเนื้อ, ซุปก้อน
  • อาหารที่มีพิวรีนปานกลางได้แก่
    • เนื้อหมู, เนื้อวัว
    • ปลาทุกชนิด (ยกเว้น ปลาดุก, ปลาอินทรีย์, ปลาไส้ตัน, ปลาซาร์ดีน) และอาหารทะเล เช่น ปลาหมึก, ปู
    • ถั่วลิสง, ถั่วลันเตา
    • ผักบางชนิด เช่น หน่อไม้, หน่อไม้ฝรั่ง, ดอกกะหล่ำ, ผักโขม,สะตอ,ใบขี้เหล็ก
    • ข้าวโอ๊ต
  • อาหารที่มีพิวรีนน้อย (รับประทานได้ตามปกติ) ได้แก่
    • ข้าวชนิดต่าง ๆ ยกเว้น ข้าวโอ๊ต
    • ถั่วงอก,คะน้า
    • ผลไม้ชนิดต่าง ๆ
    • ไข่
    • นมสด, เนย และเนยเทียม
    • ขนมปัง
    • ไขมันจากพืช และสัตว์

 

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายที่มีโรคเก๊าท์กำเริบขึ้นภายหลัง

จากการรับประทานอาหารบางชนิด ก็ควรงดอาหารชนิดนั้นๆ

 

2. หลีกเลี่ยง(งด) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะกรดยูริกในเลือดสูงและโรคเก๊าต์ และแอลกอฮอล์ยังทำให้เลือดเป็นกรด กระตุ้นให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง ดังนั้น สำหรับคนที่เป็นเก๊าท์ ควรหลีกเลี่ยงดื่มแอลกอฮอล์

3. หลีกเลี่ยง(งด) การรับประทานน้ำตาลผลไม้หรือน้ำตาลฟรุคโตส

การทานน้ำตาลฟรุคโตส เกินกว่า 50 กรัมต่อวัน ทำให้เกิดภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ซึ่งแหล่งของน้ำตาลฟรุคโตสมาจาก น้ำผลไม้กล่อง และน้ำอัดลม ดังนั้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุคโตสจำนวนมาก อาจทำให้กรดยูริกในเลือดสูงได้มากกว่าการรับประทานไก่ และสัตว์ปีก

4. ควรลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน

โดยควรลดน้ำหนักแบบช้าๆ เพราะการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเกินไปอาจทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นและทำให้เกิดข้ออักเสบกำเริบตามมาได้

5. ควรดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน

 

ผู้ป่วยโรคเก๊าต์ ควรดูแลตัวเองอย่างไร?

  1. ผู้ป่วยโรคเก๊าต์ เมื่อรู้ว่ามีอาการ ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธี
  2. ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ปีก อาหารทะเลบางชนิด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และสิ่งกระตุ้น เช่น การหยุดยาเอง/รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ การนวดหรือบีบข้อ เป็นต้น
  4. ควรควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
  5. ดื่มน้ำเป็นประจำ และดื่มให้มากเพื่อช่วยขับกรดยูริกออกจากร่างกายทางปัสสาวะ
  6. หากมีอาการปวดข้อเฉียบพลันแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้งาน

 

โรคเก๊าต์ อาจพบภาวะแทรกซ้อน?

โรคเก๊าท์ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีหรือไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่อง จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ผู้ป่วยบางรายอาจพบก้อนโทฟัสหรือปุ่มนูนใต้ผิวหนังตามร่างกาย เช่น ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วหัวแม่เท้า เอ็นร้อยหวาย และจะไม่แสดงอาการเจ็บปวด

หากมีอาการโรคเก๊าท์กำเริบ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อปวดตามข้อ จนข้อต่อบิดเบี้ยวผิดรูป และยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเกิดนิ่วในไต ที่เกิดจากการสะสมของผลึกกรดยูริก นำไปสู่ภาวะการทำงานของไตผิดปกติหรือที่เรียกว่า “ภาวะไตวาย”

 

โรคเก๊าต์ รู้ก่อนป้องกันได้!

เนื่องจากโรคเก๊าท์เกิดจากที่ร่างกายมีกรดยูริกสูงเกินไป การป้องกันจึงเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่น การกิน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเก๊าท์ ซึ่งโรคเก๊าต์ หากปล่อยไว้นาน อาจอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตได้ ดังนั้นเราควรหาวิธีดูแลตัวเอง ให้ห่างไกลจากโรคเก๊าต์ได้ ดังนี้

  1. เลือกกินประเภทคาร์โบไฮเดรตให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อป้องกันการสลายโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงาน
  2. ควรรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  3. ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อขับกรดยูริกออกจากร่างกายทางปัสสาวะ
  4. ไม่ควรกินน้ำหวานหรืออาหารที่มีส่วนผสมของฟรุกโตมากเกินไป เนื่องจากจะทำให้ระดับกรดยูริกในร่างกายสูงขึ้น
  5. หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น้ำมันประกอบอาหารเป็นจำนวนมาก เช่น ของทอด และอาหารกลุ่มไขมันสูง เนื่องจากอาหารที่มีไขมันสูงทำให้การขับกรดยูริกในร่างกายลดลง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง :

  • แนวทางเวชปฏิบัติการดูรักษาโรคเก๊าต์ Guideline for Management of Gout สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย พ.ศ.2555 หน้า 11-12.
  • คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูง ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • The American Dietetic Association, Manual of Clinical Dietetics 6th Ed. 2000.

 

หากมีคำถาม ข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคเก๊าต์ โปรดปรึกษาแพทย์

คลิกขอคำปรึกษา

 



โรคเก๊าต์ เกิดจาการรับประทานไก่จริงหรือ?

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าโรคเก๊าต์เกิดจากการรับประทานไก่ สัตว์ปีก หรือแม้แต่ยอดผัก ซึ่งความจริงแล้วอาหารที่เรารับประทานเข้าไปเป็นเพียงหนึ่งปัจจัยที่อาจไปช่วยกระตุ้นให้เกิดโรคได้ แต่ก็อาจจะไม่ใช่ทั้งหมด แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ใช่ว่าคนที่เป็นเก๊าท์ จะรับประทานไก่ สัตว์ปีก ยอดผัก ได้อย่างสบายใจ เพราะหากคุณเป็นคนที่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเก๊าต์ โดยมีระดับของกรดยูริกสูงอยู่แล้ว การรับประทานอาหารเหล่านั้น ก็อาจไปกระตุ้นให้เกิดอาการได้เช่นกัน ดังนั้นผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงผิดปกติ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อช่วยให้ประสิทธิภาพของการรักษาดียิ่งขึ้น

 

ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4110

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์