ตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก รู้ก่อนกระดูกพรุน
Osteoporosis โรคกระดูกพรุนป้องกันและรักษาได้
เป็นภาวะที่กระดูกทั่วร่างกายมีมวลกระดูกหรือปริมาณความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลงจนทําให้กระดูกนั้นเปราะบางและแตกหักได้ง่ายกว่าปกติจาก ตัวสําคัญในการบ่งชี้ถึงความแข็งแรงของกระดูกและความเสี่ยงต่อการหักที่กระดูกนั้นความหนาแน่นกระดูกนอกจากจะช่วยในการวินิจฉัยและบอกถึงความรุนแรงการศึกษาพบว่าโรคกระดูกพรุนเป็นสาเหตุทําให้เกิดกระดูกหักบริเวณกระดูกหลังแขนและสะโพกความหนาแน่นกระดูก (Bone Mineral Density, BMD) จะเป็นของโรคกระดูกพรุนแล้วยังช่วยในการตัดสินด้านการประเมินผลการรักษาและติดตามผลการรักษาได้อีกด้วย
สาเหตุของโรคกระดูกพรุน
เมื่ออายุสูงขึ้นเกินกว่า35ปีวัยและปัจจัยอื่นๆจะมีผลให้การสร้างกระดูกไม่สามารถไล่ทันกระบวนการเสื่อมของกระดูกได้จึงมีการสูญเสียเนื้อกระตุกไปเรื่อยๆสิ่งที่น่ากลัวคือมีการดําเนินของโรคไปอย่างช้าๆโดยไม่มีอาการใดๆจนเกิดกระดูกหักทําให้มีผู้ป่วยจํานวนมากที่ไม่รู้ตัวมาก่อนว่าเป็นโรคนี้การป้องกันโดยการพบแพทย์เพื่อทําการตรวจสุขภาพกระดูกและทําการรักษาเมื่อพบว่าเป็นหรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนจะเป็นปัจจัยสําคัญที่ช่วยให้พ้นจากอันตรายของโรคนี้
การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกการ X-Ray ด้วยเครื่อง X-ray ธรรมดา
การ X-Ray กระดูกธรรมดาสามารถบอกความหนาแน่นกระดูกได้ในระดับหนึ่งโดยแพทย์จะพิจารณาดูจากความเข้มของภาพ X-ray กระดูกนั้นๆ
การ X-Ray LASDD Dual Energy X-ray Absorption (DEXA)
การ X-Ray กระดูกโดยใช้เครื่องมือวัดความหนาแน่นกระดูกที่มีรังสี X-Ray ต่างกันสองระดับโดยมีซอฟต์แวร์ในการคํานวณความหนาแน่น ของกระดูกเป็นวิธีมาตรฐานรวดเร็วได้ผลที่ถูกต้องปริมาณรังสีน้อยมาก
ประมาณ1/30เท่าของการเอ็กซเรย์ปอด
ข้อบ่งชี้และประโยชน์ของการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุนผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงหญิงวัยหมดประจําเดือนหรือหญิงที่ตัดรังไข่ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทันทีทําให้เซลล์สลายกระดูกทํางานในอัตราเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากคนเอเชียและคนผิวขาวจะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าคนผิวดําประวัติครอบครัวมีผู้เป็นโรคกระดูกพรุนผู้ที่มีรูปร่างเล็กผอมบางขาดการออกกําลังกายมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยสูบบุหรี่ดื่มสุราชากาแฟใช้ยาบางชนิดเช่นเสียรอยด์,ฮอร์โมนบางชนิดรับประทานอารที่มีแคลเซี่ยมน้อย,เบื่ออาหารเป็นโรคเรื้อรังเช่นเบาหวานตับไตไขข้ออักเสบเนื่องจากโรคกระดูกพรุนในระยะเริ่มต้นจะไม่ปรากฎอาการผู้ป่วยจึงไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้จนกว่าปริมาณเนื้อกระดูกจะลดลงถึงระดับที่กระดูกเปราะและหักด้วย เทคโนโลยีทางการแพทย์ปัจจุบันแพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะกระดูกบางหรือโรคกระดูกพรุนในระยะเริ่มแรกได้โดยการวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่อง DEXA Scan [ Dual Energy X-Ray Absorption ] ซึ่งเป็นการตรวจที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถตรวจพบการลดลงของเนื้อกระดูกได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และสามารถใช้ติดตามผลการรักษามีกระบวนการตรวจที่สะดวกสะบายรวดเร็วมีวิธีการประเมินค่าที่ตรวจได้โดยอ้างอิงตามเกณฑ์มาตราฐานขององค์การ อนามัยโลก เครื่องถูกออกแบบให้สามารถตรวจกระดูกได้หลายตําแหน่งแต่บริเวณที่เหมาะสมแก่การตรวจมากที่สุดคือบริเวณกระดูกที่รองรับน้ําหนักของ ร่างกายคือกระดูกสันหลังกระดูกสะโพกและกระดูกข้อมือและผู้ที่สมควรได้รับการตรวจเป็นอย่างยิ่งคือผู้สูงอายุหญิงวัยหมดประจําเดือนผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงรวมไปถึงผู้ที่มีอายุมากขึ้นและไม่เคยได้รับการตรวจมาก่อน