Header

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) รักษาได้

blank โรงพยาบาลพิษณุเวช

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS (Polycystic ovary syndrome)


“อ้วน ประจำเดือนมาไม่ปกติ ฮอร์โมนเพศชายเกิน
อาการเสี่ยงว่าคุณกำลังเผชิญกับภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ”


PCOS (Polycystic ovary syndrome) หรือภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในหญิงวัยเจริญพันธุ์โดยพบได้ร้อยละ 5-10 คือกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติจากหลายระบบ โดยพบการตกไข่ที่ผิดปกติ ไม่สม่ำเสมอ ร่วมกับพบถุงน้ำเล็กๆจำนวนมากในรังไข่ โดยที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด


อาการของภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

  1. ประจำเดือนมาผิดปกติ ช่วงระยะเวลาระหว่างรอบนานกว่า 35 วัน หรือมีการขาดหายของประจำเดือนต่อเนื่องมากกว่า 3 รอบ (หมายถึงในระยะเวลา 1 ปี มีรอบเดือนน้อยกว่า 8 ครั้ง) หรืออาจมีระดูออกกะปริบกะปรอยหลังจากที่มีการขาดหายของระดูหลายรอบเดือน
  2. มีภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน คือกลุ่มค่าดัชนีมวลกาย หรือ  Body Mass Index มากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยกลุ่มภาวะ PCOS นี้สัมพันธ์กับลักษณะเป็นอ้วนแบบลงพุง คือมีขนาดเส้นรอบเอวมากกว่า 80 เซนติเมตร 
  3. มีอาการแสดงออกของการมีฮอร์โมนเพศชายมาก เช่น ภาวะมีขนดกแบบเพศชาย หน้ามัน สิวขึ้นง่าย ผมร่วง ศีรษะล้าน เป็นต้น
  4. ภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากภาวะไข่ไม่ตก  ตกไม่สม่ำเสมอ จึงทำให้ผู้ป่วย PCOS  มีบุตรยาก
  5. ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง หรือ อัลตร้าซาวด์ในอุ้งเชิงกรานจะเห็นลักษณะรังไข่จะมีถุงน้ำเล็กๆ หลายใบเรียงตัวล้อมรอบผิวนอกของรังไข่
 

สาเหตุของการเกิด ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยทางเชื้อชาติ ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมหรือหลายๆ ปัจจัยร่วมกัน ข้อมูลในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่า เกิดจากสาเหตุ ใดเป็นหลัก แต่กลไกผิดปกติหลัก คือ กลไกตกไข่ไม่สม่ำเสมอ  ความผิดปกติของระดับหรือการทำงานของฮอร์โมนเพศชายเกิน  และภาวะดื้อต่ออินซูลินที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในอนาคตได้
 

ความเสี่ยงหากตรวจพบ แล้วไม่ได้รับการรักษา

มีความเสี่ยงในการเกิดเยื่อบุมดลูกหนาตัว  มะเร็งเยื่อบุมดลูกได้  เนื่องจากไม่มีการหลุดลอกของเยื่อบุมดลูกออกมาเป็นประจำเดือนเหมือนสตรีที่มีประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ เสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน ระดับไขมันสูงกว่าปกติ  โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งถ้าไม่ได้รับการตรวจรักษาอย่างต่อเนื่องอาจนำมาสู่ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ และอัมพาต มากขึ้นในอนาคต
  1. กลุ่มผู้ป่วยที่ยังไม่ต้องการมีบุตร แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาฮอร์โมนเพื่อปรับให้รอบเดือนสม่ำเสมอ ลดการเกิดเยื่อบุมดลูกหนาตัว และความเสี่ยงต่อมะเร็งเยื่อบุมดลูก คุมกำเนิด โดยหากใช้ฮอร์โมนรวมสามารถปรับฮอร์โมนเพศชายเกิน ช่วยลดอาการ หน้ามัน เป็นสิว ขนดก ผมร่วง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่การพิจารณาแผนการรักษาของแพทย์ต่อผู้ป่วยเฉพาะรายนั้น
  2. กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการมีบุตร อาจต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยาก โดยอาจพิจารณาให้ยากลุ่มชักนำให้เกิดการตกไข่หรือใช้การรักษาด้วยการผ่าตัดในรายที่ไม่สามารถใช้ยาได้ การผ่าตัดจะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้องทางหน้าท้องโดยใช้เครื่องมือพิเศษจี้ไปที่ผิวของรังไข่เพื่อกระตุ้นการตกไข่ 
  3. ในผู้ป่วย PCOS ที่ตรวจโรคเบาหวาน ควรได้รับยารักษาต่อเนื่องเพื่อรักษาภาวะดื้อต่ออินซูลิน และหากพบในไขมันในเลือดสูงก็ควรได้รับการรักษาเช่นกัน

การรักษาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

  1. ดูแลควบคุมน้ำหนัก ควบคุมอาหาร  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. ใช้ยาฮอร์โมนรักษาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและไม่ควรปรับยาเอง หากมีอาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งยาฮอร์โมนแต่ละชนิดก็ให้ผลการรักษาแต่ละบุคคล ดังนั้นไม่ควรปรับยาเอง
  3. แนะนำติดตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อประสิทธิภาพของการรักษา
 

 


แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์